นครพนม – นวัตกรรมวัยใสนครพนมโมเดล ป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น ตะลึงเคยเจอคุณแม่วัย 10 ขวบ สารภาพแอบดูผู้ปกครองเปิดหนังโป๊
วันที่ 6 ธันวาคม 2562 ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ที่ห้องประชุมเปือยงาม ชั้น 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาฯ 22 ถนนปิยะมหาราชาลัย เขตเทศบาลเมืองนครพนม นายอิทธิพัทธ์ อรรคสาร รอง ผอ.สพม.22 เป็นประธานเปิดโครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในหัวข้อผลกระทบท้องไม่พร้อมแม่วัยใส และรู้ทันโรคเอดส์ การป้องกันกามโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยมีนักเรียนชั้น ม.1 โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จำนวน 38 คน ครูโรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองนครพนม 6 แห่ง และการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.) ร่วใมฟังคำบรรยาจากวิทยากร ประกอบด้วย นางกนกอร สุมนาตย์ บริกส์ น.ส.พัชราพร ควรรณสุ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ น.ส.ณิชาภัทร วงศ์ศิริ และ น.ส.กิ่งกาญจน์ ถิ่นแสนดี
สาเหตุที่มีโครงการดังกล่าว เนื่อจากในปี 2562 ในพื้นที่อำเภอเมืองนครพนมพบว่ามีหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี มีอัตราการคลอดบุตร คิดเป็น 31.96 ต่อพันประชากร และพบหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี มีอัตราการคลอดบุตรซ้ำหรือท้องที่สอง คิดเป็นร้อยละ 19.16 ของการคลอดทั้งหมด ซึ่งอยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นจะมีปัญหาที่ตามมาคือ ต้องหยุดหรือออกจากการศึกษา ส่งผลกระทบให้ประเทศขาดบุคลากรที่มีคุณภาพ เกิดปัญหาบุตรที่ไม่ต้องการนำไปสู่การลักลอบทำแท้งมากขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์และติดเชื้อ HIV
ดังนั้น นวัตกรรมวัยใสนครพนมโมเดล เป็นการดำเนินงานโครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ กับ HIV/AIDS โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในวัยรุ่น
ข่าวน่าสนใจ:
การขับเคลื่อนเรื่องนี้จึงมีตั้งแต่กิจกรรมที่จัดโดยตรงกับตัวเด็กและเยาวชนเอง เป็นการเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การสอนเพศวิถีศึกษาในโรงเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงมัธยม แต่การมีหลักสูตรเรื่องเพศวิถีรอบด้านยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ผลตามที่คาดหวัง ควรจัดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เด็กและวัยรุ่นทำกิจกรรม ส่งเสริมบทบาทครอบครัวและสื่อสารด้านสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่น ตาม พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 กำหนดไว้ชัดเจนว่า สถานศึกษาจะต้องจัดรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมให้กับนักเรียนกรณีที่เกิดการตั้งครรภ์ระหว่างเรียน โดยอาจจะให้เรียนในสถาบันการศึกษาเดิม หรือหาสถาบันการศึกษาใหม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความสมัครใจของเด็กและผู้ปกครอง แต่หัวใจสำคัญคือให้เด็กได้ศึกษาต่อไป
ดังนั้น โรงพยาบาลนครพนมจึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” ขึ้น โดยจัดทำบันทึกข้อตกลง MOU ในการดำเนินงาน และอบรมครูผู้สอนเพศวิถีรอบด้าน เพื่อพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบ โดยเบิกค่าใช้จ่ายจากกองทุนหลักประกันเทศบาลเมืองนครพนม หรือในกรณีที่ผู้ตั้งครรภ์มีความประสงค์ที่จะยุติการตั้งครรภ์ แพทย์สามารถให้บริการทางการแพทย์เรื่องนี้ได้โดยไม่ผิดกฎหมายอาญาหรือจรรยาบรรณทางการแพทย์ หากพบว่าการตั้งครรภ์ต่อไปนั้นส่งผลต่อสุขภาพของแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิต และปัจจุบันมียาที่แพทย์ใน รพ. สามารถสั่งจ่ายได้เพื่อยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุน้อย ๆ มีความปลอดภัยต่อผู้ที่ตั้งครรภ์ อยู่ในการสนับสนุนของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) อยู่แล้ว การป้องกันและช่วยเหลือเด็กเยาวชนที่เผชิญปัญหา “ท้องไม่พร้อม” อย่างเข้าใจ ย่อมมีทางเลือกเป็นทางออกหลายช่องทาง โดยไม่จำเป็นต้องให้ออกจากการศึกษา ซึ่งจะเป็นเหมือนการตัดอนาคตของเด็ก หรือผลักให้เด็กเผชิญปัญหาเพียงลำพังจนนำมาสู่วังวนเดิมๆ นอกจากนี้โรงพยาบาลนครพนม ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ทางเลือกคุมกำเนิด ด้วยวิธียาฝังคุมกำเนิดและห่วงอนามัย ในวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 20 ปี ทุกสิทธิ์สุขภาพฟรี
ก่อนหน้านี้ในปี 2560 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผลวิจัยความต้องการของแม่วัยรุ่นต่อการจัดสวัสดิการ ว่า งานวิจัยนี้เกิดจากการเห็นสภาพการเลี้ยงดูเด็กตามต่างจังหวัด ที่เด็กถูกเลี้ยงดูโดยปู่ย่าตายายแบบปล่อยๆ ทั้งเรื่องพฤติกรรมและโภชนาการที่ไม่เหมาะสม อาทิ เด็กเล็กดื่มน้ำอัดลม ใส่แพมเพิร์สตัวเดียวทั้งวัน จึงได้ทำการวิจัยเชิงมานุษยวิทยาที่เก็บข้อมูลรอบด้านกับแม่วัยรุ่น จำนวน 50 ครอบครัวใน กทม. นครปฐม สุพรรณบุรี อ่างทอง และนครพนม ระหว่างปี 2556-59 พบว่าสิ่งที่แม่วัยรุ่นต้องการมากที่สุดคือเงิน เพื่อนำมาเลี้ยงดูบุตรและดำรงชีพฯลฯ
โดยเมื่อปี 2556 จังหวัดนครพนมพบเด็กหญิงอายุ 10 ขวบ คลอดลูกที่โรงพยาบาลบ้านแพง และจากข้อมูลเพิ่มเติมของพยาบาล พบว่า เด็กปัจจุบันหลายคนประจำเดือนมาเร็วและโตก่อนวัยอันควร จึงมีโอกาสที่จะตั้งครรภ์ได้ ต่อมาจึงเกิดโครงการนครพนมวัยใสห่วงใยสุขภาพ และจากผลสำรวจตั้งแต่ปี 2555 พบว่า กลุ่มนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีเด็กกลุ่มเสี่ยงในเรื่องของยาเสพติดเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อันดับ 1.มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร รองลงมาคือเรื่องของยาเสพติด
สำหรับสถิติในปี 2556 มีนักเรียนทั้งระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย ปรึกษาปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ท้องก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ยังพบข้อมูลว่าเด็กที่เรียนอยู่ชั้น ป. 5 เคยมีเพศสัมพันธ์ และหลายคนรับสารภาพมีผู้ปกครองเปิดหนังโป๊ให้ดูด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: