แน่นวัดเทพศิรินทร์ พระราชทานเพลิงศพ “พล.อ.เปรม” วธ.แจกหนังสือที่ระลึก 5,000 เล่ม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ไปในการพระราชทานเพลิงศพ ในวันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2562 ณ วัดเทพศิรินทราวาส
โดยระหว่างวันที่ 7-9 ธันวาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บำเพ็ญพระราชกุศลในการออกเมรุและพระราชทานเพลิงศพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานโกศกุดั่นน้อย พร้อมเครื่องเกียรติยศประกอบศพ พล.อ.เปรม ซึ่งตามแบบธรรมเนียมในราชสำนัก จะต้องมีการจัดขบวนรถเชิญโกศศพ
สำหรับ “พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์” เกิดวันที่ 26 ส.ค. 2463 อายุ ครบ 99 ปี เมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา เกิดที่ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา โดยชื่อจริงของพล.อ.เปรมนั้น พระรัตนธัชมุนี (แบน คณฺฐาภรโณ) เป็นผู้ตั้งให้ ส่วนนามสกุลติณสูลานนท์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้ เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2462 ทั้งนี้เป็นบุตรชายคนรองสุดท้อง จากจำนวนพี่น้อง 8 คน ของรองอำมาตย์โทหลวงวินิจทัณฑกรรม หรือบึ้ง ติณสูลานนท์ ต้นตระกูลติณสูลานนท์ กับนางวินิจทัณฑกรรม หรือออด ติณสูลานนท์ มีพี่น้องคือ นายชุบ ติณสูลานนท์ นายเลข ติณสูลานนท์ นางขยัน ติณสูลานนท์ สมรสกับ นายประดิษฐ์ โมนยะกุล นายสมนึก ติณสูลานนท์ คหบดี นายสมบุญ ติณสูลานนท์ ด.ญ.ปรี ติณสูลานนท์ (ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย) และนายวีรณรงค์ ติณสูลานนท์
ข่าวน่าสนใจ:
- บุรีรัมย์ เตือนวัยรุ่นอย่าทำ ขับรถหวาดเสียว ยกล้อโชว์ จับส่งศาล ศาลพิพากษาสั่งปรับและจำคุก
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม พร้อมอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
- กาญจนบุรี พิธีตักบาตรพระ 10,000 รูป ฉลองตั้งเมือง 193 ปี พร้อมอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้มีพระคุณต่อประเทศชาติ
พล.อ.เปรมสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จ.สงขลา ระหัส167 และโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อพ.ศ. 2480 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทคนิคทหารบก รุ่นที่ 5 สังกัดเหล่าทหารม้า ต่อมาคือโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2484 ได้เข้าร่วมรบในสงครามอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา จากนั้นเข้าสังกัดกองทัพพายัพ ภายใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ หรือจรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ ทำการรบในสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่าง พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2488 ที่เชียงตุง ภายหลังสงครามพล.อ.เปรมรับราชการอยู่ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐ ที่ฟอร์ตน็อกซ์ รัฐเคนทักกี พร้อมกับพล.อ.พิจิตร กุลละวณิชย์ และพล.อ.วิจิตร สุขมาก เมื่อพ.ศ. 2495 แล้วกลับมารับตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ต่อมามีการจัดตั้งโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า ที่จ.สระบุรี โดยได้รับพระบรมราชโองการเป็นผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า ยศพล.ต. เมื่อพ.ศ. 2511 ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้านี้มักเรียกแทนตัวเองต่อผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าว่า “ป๋า” และเรียกผู้ที่อาวุโสน้อยกว่าอย่างเอ็นดูและเป็นกันเองว่า “ลูก” จนเป็นที่มาของ “ป๋าเปรม” และคนสนิทมักถูกเรียกว่า “ลูกป๋า” และเรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาพล.อ.เปรมย้ายไปเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานในปี พ.ศ. 2516 และเลื่อนเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ดูแลพื้นที่ภาคอีสานเมื่อพ.ศ. 2517 ได้เลื่อนยศเป็นพล.อ. ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2520 และเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทหารบกในปี พ.ศ. 2521
ส่วนตำแหน่งทางการเมืองในพ.ศ. 2502 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พล.อ.เปรมได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ จากนั้นได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติ และวุฒิสมาชิก ช่วงพ.ศ. 2511 – พ.ศ. 2516 ในสมัยจอมพลถนอม กิตติขจร พล.อ.เปรมเข้าร่วมรัฐประหารในประเทศไทย 2 ครั้ง ซึ่งนำโดยพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ในวันที่ 6 ต.ค.2519 ยึดอำนาจจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช และวันที่ 20 ต.ค. 2520 ยึดอำนาจจากรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร พล.อ.เปรม รับตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นครั้งแรกในรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในตำแหน่งรมช.มหาดไทย และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนั้น ในช่วงปลายรัฐบาลพล.อ.เกรียงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งรมว.กลาโหม ควบคู่กับตำแหน่ง ผบ.ทบ. ในช่วงนั้นพล.อ.เปรมได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย หลังจากพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2523 สภาผู้แทนราษฎรทำการหยั่งเสียงเพื่อหาตัวผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเลือกพล.อ.เปรมเป็นนายกรัฐมนตรี โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พล.อ.เปรมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3มี.ค. 2523 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของไทย นอกจากยศพล.อ.แล้ว พล.อ.เปรม ยังได้รับยศพล.ร.อ.ของกองทัพเรือ และ พล.อ.อ.ของกองทัพอากาศด้วย จากการพระราชทานโปรดเกล้าฯ เมื่อเดือนก.ค. 2529 ในระหว่างที่พล.อ.เปรมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่
หลังพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พล.อ.เปรม เป็นองคมนตรี ในวันที่ 23 ส.ค.2531 จากนั้นในวันที่ 29 ส.ค. 2531 ได้รับโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษ และในวันที่ 4 ส.ค. 2541 มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานองคมนตรี
สำหรับชีวิตส่วนตัวพล.อ.เปรมยังชื่นชอบการร้องเพลงและเล่นเปียโน รวมถึงการประพันเพลงเป็นงานอดิเรกจนมีผลงานเพลงมากมาย บุคลิกส่วนตัวเป็นคนพูดน้อย ในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนน้อยมาก จนถูกตั้งฉายาว่า เตมีย์ใบ้ ถ้าหลุดคำพูดออกมาบ้าง สื่อมวลชนก็จะนำไปพาดหีวข่าวว่า “เอกพิกุลร่วง” และอีกฉายาหนึ่งว่า นักฆ่าแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวายและกบฏ 9 กันยา
อย่างไรก็ตามช่วงเทศกาลสงกรานต์ และช่วงวันเกิด พล.อ.เปรมทมักจะเปิดบ้านสี่เสาเทเวศร์ให้คณะของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นำคณะรัฐมนตรีทหาร และผู้บัญชาการเหล่าทัพ เข้าอวยพรและขอพรมาอย่างต่อเนื่อง จนถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกปี ซึ่งทุกครั้งพลอ.เปรมก็จะนำข้อคิดคำสอนมาเตือนใจเรื่องการปฏิบัติหน้าที่เสนอ และสิ่งหนึ่งที่พล.อ.ย้ำเสมอคือการเรื่องการตอบแทนคุณแผ่นดิน
VDO ชีวประวัติ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ 2 แผ่นดิน https://youtu.be/ljOtaQOon6o
จัดทำโดย คณะกรรมการจัดงานชุมนุมนักเรียนเก่ามหาวชิราวุธ ครั้งที่ 40 และงานประชาสัมพันธ์ โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา
ทั้งนี้ก่อนถึงแก่อสัญกรรม พล.อ.เปรมได้เป็นที่ปรึกษาและกรรมการในคณะอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 16 ดำรงตำแหน่ง 3 สมัย ระหว่างปี 2523 ถึง 2531 โดยเป็นนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวที่ไม่มีภริยา นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการให้พล.อ.เปรมลงนามในสมุดจดทะเบียนราชาภิเษกสมรส ในฐานะสักขีพยานเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2562
วธ.เตรียมหนังสือที่ระลึก ‘พล.อ.เปรม’ ในงานพระราชทานเพลิงศพ
กระทรวงวัฒนธรรมจัดพิมพ์หนังสือ “จารึกไว้ในแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ฯ” โดยจะแจก “บัตรรับหนังสือ” แก่ผู้ร่วมงานพระราชทานเพลิงศพฯ 8 ธันวาคม 2562 ณ วัดเทพศิรินทราวาส
นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม(รมว.วธ) ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดทำหนังสือ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) จัดทำหนังสือที่ระลึก พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ “จารึกไว้ในแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ” เพื่อเป็นที่ระลึก เป็นเกียรติประวัติ และเผยแพร่เกียรติคุณ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2562
ในฐานะที่พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นบุรุษ 5 แผ่นดิน นายกรัฐมนตรี 3 สมัย และรัฐบุรุษ 2 รัชกาล เป็นผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งต่อชาติ บ้านเมือง และเป็นแบบอย่างของความรักชาติ รักแผ่นดิน การประกอบคุณงามความดีเป็นที่ประจักษ์ทั้งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รวมทั้งด้านการส่งเสริม สนับสนุน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
รมว.วธ. กล่าวว่า สำหรับหนังสือที่ระลึก “จารึกไว้ในแผ่นดิน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ” มีเนื้อหาประกอบด้วย ภูมิหลัง ชีวประวัติและการศึกษา เส้นทางแห่งเกียรติยศ อาทิ การรับราชการทหาร การก้าวสู่ตำแหน่ง “นายกรัฐมนตรี” กว่าจะมาเป็น “รัฐบุรุษ” และ “ประธานองคมนตรี”
วันนี้แล้วสิ…ร่างของ พล.อ.เปรมจะย่อยสบายกลับคืนสู่ธรรมชาติ “ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ” ไปหาคนบนฟ้าพระองค์ท่านรอขอคำปรึกษาอยู่…?
ด้วยความเคารพ
นายหัวไทร
8 ธันวาคม 2562
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: