นครพนม – งบภัยแล้งท่าอุเทน หึ่งอีก !! ปีเดียวขุดลอก 2 ครั้ง งานหยาบกว่าหนังช้าง
กรณี รัฐบาลอนุมัติงบประมาณเร่งด่วน จำนวน 200 ล้านบาท ให้แก่จังหวัดนครพนม แต่มีบางโครงการจะต้องประกวดราคา เพราะงบก่อสร้างปรับปรุงเกิน 500,000 บาท ไม่ทันภายในเดือนกันยายนจึงถูกตัดงบไปเหลือประมาณ 140 ล้านบาทเศษ ซึ่งงบเร่งด่วนนี้ถือเป็นโครงการสำคัญที่จังหวัดนครพนม ได้มอบหมายให้ทั้ง 12 อำเภอ นำไปดำเนินการร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์มากที่สุด
เช่นเดียวกับอำเภอท่าอุเทน ที่ได้รับงบประมาณแก้ไขปัญหาภัยแล้งจากรัฐบาล จำนวน 27 โครงการ จากที่เสนอไปทั้งสิ้น 52 โครงการ มีบางคนนำความหวังดีของรัฐบาลไปเรียกรับค่าหัวคิวอย่างต่ำ 35 % ทำให้เนื้องานหดไปไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่รัฐบาล ต้องการแก้ไขและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่
ต่อมา นายปียา ผารุธรรม เครือข่ายธรรมาภิบาล ภาคประชาชน ได้รับการร้องทุกข์จากราษฎรบ้านห้วยพระ หมู่ 14 ต.โนนตาล ว่า การขุดลอกห้วยก้านเหลืองส่งกลิ่นไม่ดี เพราะเมื่อเดือนกันยายน 2561 เพิ่งได้รับงบประมาณ จำนวน 200,000 บาท (สองแสนบาทถ้วน) ในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยระบุรายละเอียดโครงการว่า กว้าง 10 เมตร ยาว 325 เมตร และลึก 3 เมตร
ข่าวน่าสนใจ:
- ลำพูน เปิดตัว “สุขศาลา” ศูนย์สุขภาพชุมชน รับมือ PM 2.5 ยกระดับคุณภาพชีวิต ชาวหละปูนฮักปอด”
- นครพนม : นักวิ่งกว่า 3,000 คน ร่วมการแข่งขัน ‘นครพนม-คำม่วน มาราธอน ซีซั่น 6’ เชื่อมสัมพันธ์สองฝั่งโขง ชมสวยที่สุดที่นครพนม
- ชัยภูมิฮือฮาจัดแข่งกีฬาสีโรงเรียนนำช้างโชว์ความแสนรู้เตะฟุตบอล!
- เครื่องบินตกครบ 3 เดือนกับความกระจ่างที่ยังไม่ปรากฏ คนพื้นที่ยังหวาดหวั่นคาใจ
เวลาผ่านมาแค่ปีเดียว ก็ได้งบภัยแล้งเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ลักษณะงานปากบนกว้าง 15 เมตร ก้นกว้าง 3 เมตร ยาว 450 เมตร ลึกเฉลี่ย 3.50 เมตร วงเงินค่าก่อสร้าง 490,000 บาท (สี่แสนเก้าหมื่นบาทถ้วน) ชาวบ้านจึงตั้งข้อสงสัยว่าขุดลอกซ้ำซ้อน และใช้งบมากกว่าปีที่แล้วเกือบ 300,000 บาท
นายปียาจึงนำสื่อมวลชนลงพื้นที่ ตรวจสอบข้อเท็จจริง พบห้วยก้านเหลืองได้มีการตรวจรับงานไปแล้ว การขุดลอกหยาบกว่าหนังช้าง แค่ใช้รถแบคโฮล้วงดินข้างๆห้วยเหวี่ยงขึ้นมาแปะแต่งขอบ เมื่อลองใช้ไม้ไผ่ทดสอบความลึกก็ไม่ได้มาตรฐาน แต่เพื่อความแน่ชัดจึงวานให้ชาวบ้านที่อยู่ละแวกนั้น ลงไปที่กลางห้วยเพื่อวัดขนาดความลึก ซึ่งนายปียาเผยว่าการทำงานของผู้รับจ้างหยาบมาก หากถึงฤดูฝนน้ำจะชะดินที่อยู่ริมขอบไหลลงมาเหมือนเดิม เพราะไม่มีการสโลบดิน (Slope) “ตามหลักวิชาช่าง จะต้องการคำนวณปริมาตรดินขุดลอกนั้น นอกจากจะคำนวณบริเวณพื้นที่ขุดลอกแล้ว ยังมีส่วนที่สำคัญอีกส่วนคือ ขอบของพื้นที่ที่จะขุดลอก ซึ่งมีจำนวนดินไม่น้อย ถ้าเราคำนวณแต่บริเวณพื้นที่ขุดลอก ในส่วนของขอบของพื้นที่ ดินจะเกิดการสไลด์ (Slide) ของดินที่อยู่สูงกว่า ลงมายังพื้นที่ที่ขุดลอก ดังนั้นเราจึงต้องคำนวณความลาดชัน(Slope) ของดินบริเวณขอบของพื้นที่ที่จะขุดลอกออกไปด้วย” นายปียากล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: