เลย ครั้งแรก ปั่นข้ามประเทศ หลวงพระบาง-เชียงคาน เปิดเส้นทางเชื่อมไทย-ลาว สี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้างด้วยความร่วมมือของ อพท.จากราชอาณาจักรไทยและกรมพัฒนาการท่องเที่ยว จากราชอาณาจักรลาว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เป็นครั้งแรกที่มีขบวนรถปั่นจักรยาน 2 ล้อปั่น ที่เดินทางจากเมืองหลวงพระบาง-เชียงคาน โดยการปั่นจักรยานข้ามประเทศ 3 เมืองใหญ่ในลาว คือแขวงหลวงพระบาง แขวงไชยะบูลี เมืองปากลาย ใน สปป ลาว มายังอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ประเทศไทย ผ่านด่านท่าลี่ จังหวัดเลย ซึ่งเป็นความร่วมมือ เปิดเส้นทางปั่นจักรยานครั้งแรก เส้นทางสี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง
นายธรรมนูญ ภาคธูป ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดเลย กล่าวว่า อพท.5 จัดกิจกรรมทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน Bike to Lanexang ตามเส้นทางสี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง จังหวัดเลย ประเทศไทย แขวงไซยะบูลี และแขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเส้นทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศด้วยการขี่จักรยาน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันในพื้นที่สี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้าง ให้สามารถร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งนำคณะเข้าร่วมกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อลดมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมและขับขี่ปลอดภัยในแขวงหลวงพระบาง และจัดกิจกรรมเพื่อสังคมโดยการมอบอุปกรณ์กีฬาฯ ต่างๆ เป็นต้น โดย อพท.5 ได้ประสานเชิญบุคคลที่มีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวด้วยจักรยาน เพื่อเข้าร่วมทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวด้วยจักรยาน ดังกล่าว โดยเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการปั่นจักรยานทางไกลทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ และคุณวุฒิที่มีความรู้และมีประสบการณ์ด้านการจัดบริการและสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวด้วยจักรยาน จำนวน 20 คน
ข่าวน่าสนใจ:
สำหรับโครงการนี้ เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือการท่องเที่ยวสี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้างระหว่างประเทศไทย 4 จังหวัดก็คือ เลย หนองบัวลำภู อุดร หนองคาย และ สปป ลาว มี 4 แขวงหลวงพระบาง แขวงเวียงจันทน์ นครหลวงเวียงจันทน์ และแขวงไชยบุรี โดยเรามีความร่วมมือมาปีนี้เป็นปีที่4 โดยมีการเริ่มพัฒนาความร่วมมือ และเราก็มีโครงการร่วมกันโครงการหนึ่งก็คือการจัดการการเส้นทางท่องเที่ยวร่วมกันใช้ประโยชน์ร่วมกันเราจะทำให้ทั้งไทย ลาว เป็นเหมือนเป็นดินแดนเดียวกัน แล้วใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือหรือในการสร้างรายได้ด้วยกันทั้งสองประเทศที่ผ่านมาทางการท่องเที่ยว หากเดินทางโดยเครื่องบินทางรถยนต์ซึ่งจังหวัดที่จะได้ประโยชน์ก็คือจังหวัดเลยกับหลวงพระบางซึ่งเป็นจังหวัดที่เป็นแม่เหล็กที่มีนักท่องเที่ยวอยู่ปริมาณค่อนข้างสูง ในขณะเดียวกันเราก็มองถึงแขวงไชยะบุรีก็อยู่ในสี่เหลี่ยมวัฒนธรรมล้านช้างก็ควรจะ ได้รับประโยชน์จากจากการท่องเที่ยวด้วยแต่เราพบว่าการท่องเที่ยวถ้ายิ่งเดินทางช้ากว่าเท่าไหร่ มันก็จะทำให้เกิดการกระจายรายได้ได้ดีเท่านั้น. ก็เลยมีแนวคิดว่าน่าจะมีเส้นทางใช้จักรยาน ซึ่งการใช้จักรยานครั้งนี้เป็นการทดสอบ เราก็ได้เชิญนักปั่นจากทั่วประเทศไทย ที่มาจากยะลา สมุทปราการ อุดร กทม กำแพงเพชร เลย ซึ่งเส้นทางนี้ก็มีทั้งนักปั่น ที่ผ่านการแข่งขัน ระดับชาติและระดับโลกมาแล้ว และมีนักปั่น ที่ปั่นแบบทัวร์ริ่ง ที่ชอบปั่นจักรยานเที่ยวในระยะไกลๆ ในครั้งนี้เราใช้เส้นทาง 350 กิโลเมตรปั่นจักรยาน วันละประมาณ 120 ถึง 130 กิโลเมตรต่อวัน โดยเริ่มสตาร์ทจากหลวงพระบาง ซึ่งในช่วงนั้นหลวงพระบางมีกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อลดมลพิษเพื่อรณรงค์เรื่องการขับขี่ปลอดภัยและส่งเสริมการเที่ยวเมืองหลวงพระบาง ซึ่งวันแรกเราจะร่วมกับเขาและในวันที่สองเราก็เริ่มปั่นจากหลวงพระบางออกมายังแขวงไชยะบูลี จากนั้นก็มานอนที่เมืองปากลาย และเข้าประเทศไทย ชายแดนที่อำเภอท่าลี่ และต่อไปยังอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
นายธรรมนูญ กล่าวต่ออีกว่า การใช้จักรยานนั้นก็จะได้มีโอกาสแวะเข้าหาชุมชนของ สปป ลาว การปั่นจะต้องหยุดพักทุก 40 กิโลเมตรซึ่งต่อไปในอนาคตเราก็ได้เอากิจกรรมที่ชุมชนมีมารองรับนักท่องเที่ยว ที่จะมีการปั่นจากหลวงพระบางมาถึงจังหวัดเลยซึ่งในครั้งนี้จะเห็นว่าทางแขวงไชยะบุรีจะได้รับผลจากการที่นักปั่นปั่นผ่านและพัก 2 วันและเกิดการกระจายรายได้ในหลายชุมชนทางเลยก็ได้ทางหลวงพระบางก็ได้
โครงการนี้ เป็นความร่วมมือ ระหว่างไทยและลาว เราร่วมมือในลักษณะราชอาณาจักรไทย-ราชอาณาจักรลาว ทาง สปป ลาว ผ่านกรมพัฒนาการท่องเที่ยวซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ADB ก็พยายามที่จะพัฒนาทางด้านโครงสร้าง พัฒนาทางด้านกิจกรรมต่างๆของกลุ่มพัฒนาการท่องเที่ยว สปป ลาว ส่วนฝั่งไทยนั้นมีก็มีภาระงานในการพัฒนาในการเชื่อมโยงทำเป็นกิจกรรมร่วมกันหลายภาคส่วน อย่าง อพท . และสิ่งที่จะเกิดในอนาคตก็คือเราจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวร่วมกันที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เรามีเกณฑ์พัฒนา CBT Lanexangเกิดขึ้นแล้ว และทดลองอยู่ในจังหวัดละหนึ่งชุมชน แขวงและหนึ่งชุมชนและในปีนี้เราก็จะมีการปรับเครื่องมือที่เราทดลองในพื้นที่ มาปรับและมาพัฒนาร่วมกันอีกต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: