ตรัง เจ้าของเรือประมงพื้นบ้านในพื้นที่ อ.กันตัง เร่งจองคิวยื่นคำของตรวจสอบเรือ เตรียมขึ้นทะเบียนเรือประมงพื้นบ้านวันสุดท้ายคึกคัก (16 ธค.ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน) ก่อนที่ทางเจ้าหน้าที่จะลงตรวจวัดขนาดเรือ และทำเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์เรือ ซึ่งกำหนดจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ หากพ้นกำหนดการขึ้นทะเบียนเรือ พบเรือไม่ลำใดไม่ขึ้นทะเบียนจะมีความผิดตามกฎหมาย ด้านชาวบ้านเต็มใจ โดยมองว่าหลังมีการขึ้นทะเบียนเรือแล้ว จะไม่เกิดปัญหาเช่นเดียวกับเรือประมงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นเรือประมงที่หากินชายฝั่ง
เมื่อวันที่16 ธันวาคม 2562 ที่ท่าเรือควนตุ้งกู ต.บางสัก อ.กันตัง จ.ตรัง เจ้าหน้าที่สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาตรัง พร้อมเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอกันตัง ออกบริการรับจองคิวการตรวจวัดขนาดเรือ และทำเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์เรือของพี่น้องประมงพื้นบ้านในพื้นที่ อ.กันตัง โดยมีเจ้าของเรือประมงพื้นบ้านที่มีใบอนุญาตเรือ ใบอนุญาตใช้เรือที่มีขนาดไม่เกิน 10 ตันกรอส ทั้งจากเกาะมุก และพื้นที่ชายฝั่งอำเภอกันตัง เดินทางมาเข้าคิวต่อแถวยื่นคำขอจองคิวให้กรมเจ้าท่าตรวจสอบและทำเครื่องหมายที่แสดงอัตลักษณ์เรือของตนเองกันคึกคักยาวเหยียด เพราะเป็นวันสุดท้ายขอการยื่นคำขอ (16 ธ.ค.ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน) โดยหลังจากนี้ทางกรมเจ้าท่าจะต้องดำเนินการตรวจวัดขนาดเรือ และทำเครื่องหมายแสดงอัตลักษณ์เรือประมงพื้นบ้านที่ได้ยื่นคำขอให้ตรวจสอบเรือให้แล้วเสร็จทั้ง 22 จังหวัด ภายในเดือนธันวาคมนี้ ในที่นี้มีชาวประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่ได้ยื่นคำขอให้ตรวจสอบเรือ เพื่อทำประมงพื้นบ้าน แต่ก็มีจำนวนหนึ่งยื่นคำขอให้ตรวจสอบเรือ เพื่อใช้สำหรับบริการท่องเที่ยว โดยหลายคนมีเรือ 2 ลำ ทั้งทำประมง และบริการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ในส่วนของเรือประมงพื้นบ้านทั้งอำเภอกันตัง คาดว่ามีประมาณ 700 ลำ ส่วนภาพรวมทั้งจังหวัดตรังมีประมาณกว่า 1,000 ลำ โดยมีทะเบียนถูกต้องแล้วกว่า 280 ลำ ยังไม่มีทะเบียนกว่า 700 ลำ ทั้งนี้ เมื่อหมดสิ้นขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเรือ หากเรือลำใดไม่มีการขึ้นทะเบียนก็จะมีความผิดตามกฎหมาย
ทางด้านนายแก่น หญ้าปรัง ชาวประมงพื้นบ้านบ้านเกาะมุก กล่าวว่า ส่วนตัวจะขอขึ้นทะเบียนเรือ 2 ลำ คือ สำหรับทำประมงพื้นบ้าน และเรือบริการท่องเที่ยว โดยเห็นด้วยที่มีการขึ้นทะเบียนเรือประมงพื้นบ้าน เพราะต้องการทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย พ.ร.บ.เรือประมงพื้นบ้าน เพราะหากเกิดเหตุอะไร เพราะเราไม่ได้เรือเถื่อนหรือเรือผิดกฎหมาย ทั้งนี้ มีความสำคัญกับเรือประมงพื้นบ้านเช่นกัน เพราะหากออกไปทำประมงชายฝั่งหากเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดปัญหาใดๆ ขึ้นก็เชื่อว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ โดยไม่กังวลว่าหากมีการขึ้นทะเบียนแล้วจะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติเช่นเดียวกับเรือประมงพาณิชย์ แต่ปัญหาที่ห่วงกังวลคือ เขตพื้นที่ทำประมงที่ถูกกำหนดเอาไว้ว่าจะต้องทำประมงชายฝั่ง ห้ามออกไปเกินตามที่กฎหมายกำหนด เนื่องจากเป็นสภาพวิถีของชาวประมง
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: