พังงา-คลื่นลมแรงสูง 2-4 เมตรถล่มหาดบางเนียงหนักกว่าทุกปี วอนภาครัฐรีบช่วยเหลือ
วันที่ 18 มิ.ย.61 ผู้สื่อข่าวรายงาน หลังจากที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลอด 2 วันที่ผ่านมามีน้ำทะเลหนุนสูงเกิดคลื่นขนาดใหญ่เข้ากัดเซาะชายฝั่ง ทำให้เกิดการกัดเซาะที่รุนแรงกว่าปกติทำให้เหล่าผู้ประกอบการบริเวณชายหาดบางเนียง ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เขาหลัก ต้องนำพนักงานมาช่วยกันวางกระสอบทรายขนาดใหญ่ป้องกันบริเวณชายหาดเพื่อลดปริมาณการกัดเซาะของน้ำทะเลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ข่าวน่าสนใจ:
- บุรีรัมย์ ปัดฝุ่นประเพณีผูกเสี่ยวเชื่อลดปัญหาขัดแย้งทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่
- ‘นครพนม’ เดินหน้าขับเคลื่อน ‘นครพนมโมเดล’ ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้ประชาชนมีความสุขที่สุด
- หลากหลายบรรยากาศ สีสันวันลอยกระทงแปดริ้ว
- วธ.จังหวัดนครปฐมส่งเสริมประเพณี “ลอยกระทง วิถีไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ประจำปี 2567 “คืนจันทร์เพ็ญงามอร่ามตา สืบสานรักษาคลองเจดีย์บูชา…
นายสายัน กิจมะโน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า จากการลงสำรวจการกัดเซาะที่เกิดจากมรสุมตะวันตะวันตกเฉียงใต้ในครั้งนี้พบว่า ลมพายุดังกล่าวทำให้เกิดคลื่นในทะเลสูง 2-4 เมตร พัดเข่าใส่ชายฝั่งเขาหลักจนมีการกัดเซาะที่รวดเร็วและรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา โดยพบว่าการกัดเซาะครั้งนี้ใช้เวลาเพียง 2 วัน แต่มีการกัดเซาะชายฝั่งลึกเข้ามาเป็นระยะทางไกลมาก และพบว่ามีการกัดเซาะลึกลงไปจากผิดทรายเดิมเกือบ 3 เมตร ซึ่งหลังจากนี้จะต้องเร่งสำรวจจุดต่าง ๆ ที่มีการกัดเซาะก่อนจะเชิญหน่วยงานผู้ถือกฎหมายทั้งหมดเข้ามาร่วมปรึกษาหารือเพื่อหาทางออกให้กับผู้ประกอบการบริเวณชายหาดเขาหลัก
นส.นันทิดา อติเศรษฐ์ นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า จุดขายของแหล่งท่องเที่ยวเขาหลัก คือ ชายหาดที่มีความสวยงามและมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ซึ่งช่วงนี้เข้าช่วง Green Season หรือ ช่วงหน้ามรสุมฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ ก็เริ่มมีการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้น จนอาจส่งผลกระทบในระยะยาว ซึ่งหากไม่มีชายหาดก็จะส่งผลต่อการท่องเที่ยวได้ เพราะทำให้ชายหาดหายไปเรื่อย ๆ จึงอยากขอเชิญผู้ที่มีความรู้เข้ามาช่วยกันหาวิธีการป้องกัน รวมถึงภาครัฐช่วยเข้ามาสนับสนุนการแก้ปัญหาดังกล่าวเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: