การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่ระหว่าง กฟผ. และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จาก 4 สถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษาและวิจัยทางด้านงานเหมืองแร่ให้แก่บุคลากรของ ด้านเหมืองแร่ พร้อมทั้งเสริมสร้างศักยภาพให้ กฟผ. เหมืองแม่เมาะ เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรมด้านเหมืองแร่ของประเทศไทย
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่อง ความร่วมมือทางวิชาการด้านการทำเหมืองแร่ ระหว่าง กฟผ. โดย นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิต เฉลิมยานนท์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ณ ห้องประชุม M.1 อาคารที่ทำการเหมืองแม่เมาะ กฟผ. เหมืองแม่เมาะ จ.ลำปาง
นายถาวร งามกนกวรรณ รองผู้ว่าการเชื้อเพลิง กฟผ. กล่าวว่า “กฟผ. เหมืองแม่เมาะ มีภารกิจในการผลิตถ่านหินลิกไนต์ปีละ 16 ล้านตัน และหินปูนปีละ 1.4 ล้านตัน ส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 2,400 เมกะวัตต์ ถือเป็นหน่วยงานภาครัฐที่มีการดำเนินงานทำเหมืองแร่ถ่านหินและหินปูนแบบเหมืองเปิดขนาดใหญ่ มีระบบและกระบวนการทำเหมืองตามหลักวิชาการและมีมาตรฐานการปฏิบัติงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานเหมืองแร่อย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สภาพแวดล้อมในการทำงาน การฟื้นฟูสภาพพื้นที่การทำเหมืองทั้งในระหว่างทำเหมืองและภายหลังการปิดเหมืองในอนาคต ตลอดจนการดูแล และพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนโดยรอบ ทำให้เหมือง แม่เมาะมีศักยภาพเหมาะสมที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ของสถาบันการศึกษา และนำไปสู่การพัฒนาการทำเหมืองแร่ของประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปพร้อมกันในทุกภาคส่วน”
ข่าวน่าสนใจ:
“ภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าว กฟผ. และสถาบันการศึกษา ร่วมกันจัดกิจกรรมค่ายวิชาการ Mining Camp เพื่อพัฒนา และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านการทำเหมืองแร่ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เหมืองแม่เมาะ อาจารย์ และนิสิตนักศึกษา ของสถาบันการศึกษา ความร่วมมือทางวิชาการเหมืองแร่ในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ความรู้ ระหว่างกัน นำไปสู่การพัฒนาบุคลากร ให้สามารถนำความรู้ไปพัฒนาเทคโนโลยีการทำเหมืองแร่ ให้มีความก้าวหน้า ทันสมัย เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศในอนาคต
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: