โขลงช้างป่าแก่งกระจานนับ 10 ตัว อาละวาดหนักข้ามแม่น้ำปราณบุรี บุกเข้ากัดกินไร่กล้วยหอมทองและกล้วยน้ำหว้า ของเกษตรกรในโครงการสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฝั่งบ้านป่าเด็งรอยต่อป่าละอู เสียหายเกือบ 10 ไร่ราบ เจ้าของสวนบอกที่ผ่านมาไม่เคยเข้ามาเนื่องจากมีแม่น้ำกั้น ซึ่งครั้งนี้เสียหายเกือบแสนบาท ยังไม่รู้จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาหรือไม่ นับวันปัญหาช้างป่าเริ่มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นแล้ว ขณะที่แนวโน้มการประกาศเป็นเขตประสบภัยพิบัติเพื่อเยียวยาความเสียหายอาจไม่สามารถดำเนินการได้
(14 ธันวาคม 2560) หลังเกิดเหตุการณ์ช้างป่าในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน ออกจากป่าบุกเข้ากัดกินโค่นต้นทุเรียน และทำลายรถยนต์ของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในโครงการสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อย่างต่อเนื่องที่ผ่านมาถึงแม้วานนี้นายโชตินรินทร์ เกิดสม รอง.ผวจ.ประจวบฯ และหน่วยงานภาครัฐจะลงมาติดตามหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและหาทางเยียวยา โดยเฉพาะในส่วนของรถยนต์ที่พังนั้น เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน และหน่วยงานต่างๆได้นำเงินจำนวน 30,000 บาทมาเป็นค่าซ่อมรถในเบื้องต้นให้กับนายสุวิทย์ บุญมี เจ้าของรถเก๋ง เพื่อให้นำรถไปซ่อมหลังจากนั้นจะมอบเงินให้อีก 30,000 บาทในภายหลัง ส่วนพืชผลทางการเกษตรที่เสียหายโดยเฉพาะต้นทุเรียน นั้นแนวทางคือทางจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะช่วยเหลือเป็นพันธุ์ทุเรียนในเบื้องต้นส่วนให้กับป้าประเทือง นุ่มน้อย เกษตรกรชาวสวนต่อไปซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการพิจารณา
อย่างไรก็ตามถึงแม้นางสุนันทา พิมพ์ไทย นายก อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่ จะได้เก็บข้อมูลความเสียหายกรณีช้างป่าเข้าทำลายพืชผลทางการเกษตร ทรัพย์สิน บ้านเรือน และรถยนต์ ที่ได้รับความเสียหายในช่วงระยะนี้ตามที่นายโชตนรินทร์ เกิดสม รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่เดินทางลงพื้นที่ในจุดที่เสียหายทั้งสวนทุเรียน และรถยนต์เก๋งที่ถูกช้างพังแล้วก็ตามและได้แนะนำให้ทาง อบต.ห้วยสัตว์ใหญ่ดำเนินการทางเอกสารส่งเรื่อง เพื่อนำเสนอต่อนายอำเภอหัวหิน ในวันประชุมคณะกรรมการดำเนินการแก้ปัญหาช้างป่าในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 นี้ เพื่อนำส่งต่อให้ทางนายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ในการที่จะประกาศเป็นเขตพื้นที่ภัยพิบัติ เพื่อสามารถช่วยเหลือเยียวยาชาวบ้านได้นั้น ซึ่งเบื้องต้นถึงแม้จะยังไม่มีการยื่นหนังสือ แต่พบว่าในเบื้องต้นทางป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตรวจสอบในเบื้องต้นแล้วหลักเกณฑ์ไม่สามารถประกาศได้เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่มีเอกสารสิทธิครอบครองที่ดิน เนื่องจากพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่เป็นพื้นที่เขตปลอดภัยทางทหารและที่ดินตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรที่ยากจนครอบครัวละ 23 ไร่ตั้งแต่ปี 2520 ครอบครัวละ 23 ไร่โดยห้ามขาย หรือโอนสิทธิให้แก่ผู้อื่นยกเว้นทายาท มีเพียงใบเสียภาษีบำรุงท้องที่เท่านั้นจึงไม่สามารถดำเนินการประกาศได้
แต่ล่าสุดโขลงช้างป่าแก่งกระจานกว่า 200 ตัวที่ ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน รวบรวมข้อมูลระบุว่าอาศัยหากินอยูในพื้นที่โดยรอบของตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จังหวัดประจวบฯ และ ตำบลป่าเด็ง อำเภอแก่กงระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยพอตกกลางคืนจะกระจายแบ่งเป็นโขลงย่อยโขลงละประมาณ 10-20 ตัว ออกจากป่าเข้ากัดกินพืชไร่ ในพื้นที่โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมีทั้งตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ และตำบลป่าเด็ง ซึ่งหนักสุดเป็นพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ ซึ่งถือเป็นจุดวิกฤติ
ข่าวน่าสนใจ:
- พิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- นครพนม : กองทัพบก ร่วมกับ Kubota มอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน มอบเสื้อกันหนาวให้ชาวนครพนม ตามโครงการ "คูโบต้า พลังใจ สู้ภัยหนาว" ปี 2567
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
- ตรัง ผลผ่าพิสูจน์การตายพะยูน 2 ตัว ผอม หญ้าในท้องน้อย ป่วยตาย
ล่าสุดลางดึกที่ผ่านมาลุงสำรวย ผาดศรี อายุ 72 ปี และ นายบรรชา พุ่มเปี่ยม เกษตรกรชาวสวนในพื้นที่โครงการสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งอาศัยอยู่ที่หมู่ 4 บ้านเสาร์ 5 ต.ป่าเด็ง อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ซึ่งได้รับพระราชทานที่ดินทำกินจากพระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ครอบครัวละ 23 ไร่มาถึง 40 ปีมาปลูกพืชสวนเกษตรและสวนผลไม้ จากที่ไม่เคยประสบปัญหาช้างป่าบุกเข้ามาทำลายพืชผลทางการเกษตรแม้แต่ครั้งเดียว เนื่องจากมีแม่น้ำปราณบุรีกั้นเอาไว้ จึงไม่ได้มีการติดตั้งรั้วสัญญาณป้องกันช้างป่าแต่อย่างใด พบว่ามีโขลงช้างป่าแก่งกระจานที่อาศัยหากินอยู่ในพื้นฝั่งห้วยสัตว์ใหญ่ประมาณ 10 ตัว ได้ข้ามแม่น้ำปราณบุรี และเดินลัดเลาะเข้ามาในสวนกล้วยที่ปลูกไว้กว่า 20 ไร่ ซึ่งให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวขายมาตลอด ถูกโขลงช้างป่าเข้ากัดกินโค่นทั้งกล้วยน้ำหว้า และกล้วยหอมทองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรี รวมๆกันแล้วเสียหายไปกว่า 8 ไร่
นายบรรชา พุ่มเปี่ยม เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายกล่าวว่า โดยโขลงช้างป่าจะไม่กินกล้วยหอมทองแต่จะใช้วิธีเหยียบโค่นเนื่องจากไส้ขม ส่วนกล้วยน้ำหว้าจะโค่นต้นและกินไส้ในของต้นกล้วยรวมทั้งหัวปลี ซึ่งส่วนใหญ่กล้วยเพิ่มเริ่มออกปลีบางต้นเริ่มเป็นเครือแล้วก็มี รวมทั้งต้นมะพร้าวและทุเรียนก็โค่นต้นลงมา ซึ่งสภาพที่เดินมาเห็นในช่วงเช้ามืดรู้สึกตกใจเป็นอย่างมากที่ได้รับความเสียหายอย่างหนักรายขนาดนี้ ไม่นึกว่าโขลงช้างป่าจะข้ามแม่น้ำปราณบุรี เข้ามากัดกินทำลาย โดยตรวจสอบแล้วพบว่าลักษณะเมื่อโขลงช้างขึ้นจากแม่น้ำมาแล้วได้เดินลัดเลาะกินหักโค่นมาตลาดจนถึงแปลงใหญ่เป็นลักษณะตัวยูหลังจากนั้นก็เดินกลับลงแม่น้ำปราณบุรี กลับไปยังพื้นที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ ซึ่งส่วนที่เหลือคงจะไว้ใจไม่ได้โดยคงต้องมาเฝ้าไร่แล้วจะได้รักษาส่วนที่เหลือเอาไว้ ซึ่งความเสียหายเกือบแสนบาทในเบื้องต้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: