เกษตรกรยุคใหม่คิดใหม่ชีวิตก็จะสบาย ชีวิตอดีตหนุ่มช่างกลโรงงาน ที่ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัวเมื่อปี 2555 เนื่องจากเบื่อชีวิตในโรงงาน ประกอบกับเป็นคนที่ชื่นชอบท่องเที่ยว ในแนวเชิงเกษตร หลายๆพื้นที่ทั้งในต่างจังหวัดและในพื้นที่จังหวัดกระบี่ โดยเฉพาะการเลี้ยงหมูหลุม จึงตัดสินใจสร้างโรงเรือนเลี้ยงหมูหลุมจำนวน 12 คอก ภายในสวนปาล์มน้ำมันของตัวเองในพื้นที่บ้านทับพล ต.เขาพนม อ.เขาพนม จ.กระบี่
ข่าวน่าสนใจ:
- มุกดาหาร -เลขาธิการ ป.ป.ส. ควงแม่ทัพภาค 2 ลงเรือตรวจสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดนไทย-ลาว จ.มุกดาหาร
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
- เพชรบูรณ์ - "ครอบครัวศรีประโค" บริจาคกระจกตาพ่อที่เสียชีวิต หวังช่วยให้ผู้อื่นกลับมามองเห็น
- “ปลายฝน ต้นหนาว เคาท์ดาวน์ มิวสิคเฟส สุราษฎร์ธานี” ไฮไลท์ประกวดควายไทยมูลค่ากว่า 10 ล้าน
โดยเลี้ยงหมูหลุมแบบครบวงจร ทุกอย่างสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และนำมาใช้เองได้ หมูหลุมทั้ง 12 คอก มีหมูทั้งหมด 150 ตัวในการเลี้ยงแต่ละครั้ง เมื่อหมูอายุครบ 3 เดือน 10 วัน ก็จะขายหมูในกิโลกรัมละ 60-65 บาท โดยเน้นอาหารที่เป็นพืช ผักพื้นบ้าน เสริมกับอาหารหมู เพื่อที่จะให้หมูมีคุณภาพปลอดจากสารตกค้าง ทำ ขายหมูแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่า 2 แสนบาทต่อเดือน
นอกจากนั้น ยังทำขี้หมูหลุมขาย เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพ จะไม่มีเศษดินปะปน เพื่อที่จะให้ลูกค้าได้ขี้หมูหลุมที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้ กระสอบละ 50 บาท น้ำหนัก 25 กิโลกรัม ปัจจุบันมีลูกค้าสั่งซื้อครั้งละไม่ต่ำกว่า 250 กระสอบ ทำรายได้ไม่ตำกว่า 20,000 บาทต่อเดือน สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่เหลือยังสามารถ นำไปใช้ในแปลงปลูกสาธิตปลูกผักปลอดสารพิษ ในพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อที่จะเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว เป็นการต่อยอดด้านการเกษตร แบบครอบวงจร ปลูกผัก เลี้ยงปลา ปลาก็จะกินผัก ทำให้ปลาไม่มีสารตกค้าง ผู้บริโภคผัก ปลา ก็ปลอดภัย
นายธวัชชัย สหะวิริยะ อายุ 39 ปี อยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ 7 บ้านทับพล ต.เขาพนม อ.เขาพนม จ.กระบี่ กล่าวว่า เมื่อก่อนเลี้ยงหมูหลุม เพื่อเป็นอาชีพเสริม จากการทำเกษตร สวนยางพารา และสวนปาล์มน้ำมัน จนปัจจุบันสามารถเลี้ยงหมูหลุมได้ทั้งหมด 12 คอก สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากขี้หมูหลุม 40 ตัน ต่อเดือน เพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกช่องทางหนึ่ง มีความสุขที่ได้ทำงานในสิ่งที่ตนเองรักและชื่นชอบ นอกจากนั้นยังสามารถแบ่งบัน ทั้งพืชผักและปุ๋ยอินทรีย์ที่เหลือจากการขายให้กับเพื่อนบ้าน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: