กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน เตรียมเสนอปรับเพิ่มสิทธิวันลาให้พนักงานที่ตั้งครรภ์เพื่อคลอดบุตร จากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน ตามอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
อัตราการเกิดของประชากรไทยมีจำนวนอย่างน้อย 5 แสนคนขึ้นไป/ปี ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2555-2559 จากข้อมูลผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ได้มีการจัดทำสถิติการเกิดของประชากรไทย พบว่า ประชากรที่เกิดขึ้นในปี 2555 มีจำนวน 818,901 คน , ปี 2556 มีประชากรเกิดขึ้นจำนวน 782,129 คน , ปี 2557 มีประชากรเกิดขึ้นจำนวน 776,370 คน , ปี 2558 มีประชากรเกิดขึ้นจำนวน 736,352 คน และ ปี 2559 มีประชากรเกิดขึ้นจำนวน 704,058 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีจำนวนลดลงทุกๆ ปี
ทั้งนี้ สุภาพสตรีที่มีครอบครัวและเริ่มมีการตั้งครรภ์ ย่อมมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่จะต้องเปลี่ยนไปจากเดิม ต้องดูแลและเอาใจใส่ทั้งอาหารการกิน การออกกำลังกาย การใช้ชีวิต ที่ต้องนึกถึงลูกในท้องอยู่เสมอ จะทำอะไร จะหยิบจับอะไรก็ต้องคอยระมัดระวังอยู่ตลอดเวลา
ข่าวน่าสนใจ:
- โครงการวิลล่าหรูเกาะสมุยฝืนคำสั่งรื้อถอนอาคาร ยังปล่อยให้ต่างชาติเช่าวิลล่า
- กฟผ.แม่เมาะ มอบความสุข สไตล์บาหลี อินโดนีเซีย ในงานฤดูหนาวและของดีนครลำปาง
- นายก อบจ.ระยอง ประกาศลาออกก่อนครบวาระ 1 วัน พรัอมลงชิงชัยตำแหน่งนายก อบจ.ระยอง อีกหนึ่งสมัย
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
โดยเฉพาะสุภาพสตรีที่ตั้งครรภ์และอยู่ระหว่างการทำงานหาเลี้ยงชีพ การทำงานก็จะต้องลดรูปแบบการทำงานที่หนัก ไม่ทำให้ตนเองเกิดความเครียด เพราะจะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องได้ แต่ทั้งนี้ สุภาพสตรีที่ทำงานและมีการตั้งครรภ์ กฎหมายแรงงานได้ระบุว่า พนักงานสามารถลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ และยังสามารถขอรับสิทธิของประกันสังคมได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ก็เตรียมแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน โดยให้พนักงานที่ตั้งครรภ์มีสิทธิในการลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร โดยถือเป็นวันลาเพื่อคลอดบุตร พร้อมทั้งเตรียมที่จะปรับเพิ่มสิทธิวันลาเพื่อคลอดบุตร จากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน ตามอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 183 ว่าด้วยสิทธิการคุ้มครองความเป็นมารดา
ซึ่งกำหนดให้ภาครัฐดูแลพนักงานหญิงที่อยู่ในระหว่างช่วงตั้งครรภ์และช่วงหลังคลอด และต้องให้วันหยุดหลังคลอด 14 สัปดาห์ โดยให้นับรวมการลาเพื่อตรวจครรภ์และลาคลอดบุตรใน 98 วัน ซึ่งในขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวอยู่ในกระบวนการพิจารณาของสำนักงานกรรมการกฤษฎีกา และหากผ่านร่างฯ ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเตรียมจะนำเสนอให้ สนช. พิจารณาและประกาศเป็นกฎหมาย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: