หนองคาย – อำเภอโพนพิสัย อำเภอเฝ้าไร่ และอำเภอรัตนวาปี ร่วมกันลงนามข้อตกลงแก้ปัญหาขยะให้ได้มาตรฐาน เห็นชอบให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนจัดการอย่างมีระบบ
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 5 ก.ค.61 ที่ห้องประชุมสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จ.หนองคาย ศาลากลางจังหวัดหนองคาย นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ได้เป็นสักขีพยานในการลงนามบันทึกข้อตกลงการหาแนวทางแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย และการแก้ไขกลุ่มคลัสเตอร์ใหม่แทนกลุ่มเดิม ระหว่างนายกอบต. ปลัด อบต. ในเขต อ.โพนพิสัย อ.รัตนวาปี และ อ.เฝ้าไร่
ข่าวน่าสนใจ:
- สุดยอดงานกฐินบุญต่อชีวิตคน พระอาจารย์เขียวทอดกฐินสามัคคีจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินและอุปกรณ์ทางการแพทย์มุลค่ากว่า5ล้านบาท
- นางสาวธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รมช.มหาดไทย เยี่ยมชมกระบวนการผลิตผ้าย้อมครามบ้านดอนกอย จ.สกลนคร
- "ไพเจน" เล็งคาบสมุทรสทิงพระพัฒนาเกษตรแบบยั่งยืน
- "ลุงโทนี" ถูกตัดสิทธิ์ฯ เหตุไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง อบต.ท่าพล
นายแพทย์สรร สุนทรธนากุล นายกเทศมนตรีตำบลโพนพิสัย ประธานชมรมผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จ.หนองคาย กล่าวว่า ปัญหาขยะมูลฝอยเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขให้ถูกวิธี ที่ผ่านมา ในเขต อ.โพนพิสัย, รัตนวาปี และเฝ้าไร่ ไม่มีการกำจัดขยะที่เหมาะสม รวมถึงไม่มีพื้นที่ทิ้งขยะ โดยเฉพาะ อ.รัตนวาปี และ อ.เฝ้าไร่ ต้องนำขยะไปทิ้งยังที่เอกชนในเขต อ.เพ็ญ จ.อุดรธานี ตันละ 420 บาท แต่ละเดือนมีภาระค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะประมาณ3-4 แสนบาท ส่วน อ.โพนพิสัย มีที่ทิ้งขยะในพื้นที่แต่ก็เกิดปัญหาไฟไหม้บ่อขยะมาแล้ว ซึ่งท้องถิ่นทั้ง 3 อำเภอ ได้ประชุมหารือร่วมกันถึงมาตรการกำจัดขยะที่ได้มาตรฐาน โดยมี 3 แนวทาง คือ การเสนอของบประมาณก่อสร้างโรงานขยะขนาดใหญ่ หรือ โรงกำจัดขยะไฟฟ้า แต่ไม่ได้รับการพิจารณาจากรัฐบาล อีกแนวทางคือการใช้งบประมาณของรัฐทำบ่อบำบัดน้ำเสียในบ่อเดิมที่มีอยู่ของแต่ละท้องถิ่นงบประมาณ 30-60 ล้านบาท ไม่ได้รับการพิจารณาอีก จึงเหลือแนวทางสุดท้ายที่ต้องดำเนินการคือให้ภาคเอกชนมาลงทุนจัดการด้วยตนเอง ด้วยการรับซื้อขยะจากท้องถิ่น ให้ภาคเอกชนรับไปคัดแยกเอง ซึ่งวิธีนี้ท้องถิ่นทั้ง 3 อำเภอ ได้นำเข้าที่ประชุมสภาของแต่ละแห่ง มีมติเห็นชอบ จึงนำมาซึ่งการลงบันทึกข้อตกลงร่วมกัน โดยหลังจากนี้จะนำเข้าที่ประชุมท้องถิ่นจังหวัดหนองคายเพื่อทราบ ส่วนภาคเอกชนที่ยื่นความจำนงมาดำเนินการก็จะไปศึกษาโครงการอย่างละเอียดก่อนแล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่มาแจ้งให้ท้องถิ่นทราบอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามแนวทางในการให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนบริหารจัดการขยะ ด้วยวิธีการคัดแยก ได้รับความเห็นชอบจากท้องถิ่นใน 3 อำเภอ ที่เห็นว่าสามารถนำขยะของแต่ละท้องถิ่นมาขายให้กับภาคเอกชนนี้ โดยให้เทศบาลตำบลโพนพิสัย เป็นแม่งานในการบริหารจัดการและเป็นผู้นำในการดำเนินการขับเคลื่อนให้ผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากส่วนกลางและภาคเอกชนที่เสนอตัวเห็นความคุ้มค่าในลำดับต่อไป./////
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: