เพชรบุรี-การแข่งขันเฉาะตาลและกินตาล เป็นหนึ่งในไฮไลท์ในงานวัวเทียมเกวียน ปี 63 ปละยังมีประกวดทะลายตาลสวยงามอีกด้วย
เมื่อเวลา 20.00 น.ของวันที่ 18 มกราคม 2563 ในงานวัวเทียมเกวียนและบ้านลาด 103 ปี บริเวณ นาทุ่งทอง ม.5 ต.ท่าช้าง อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี พร้อมนายกเหล่ากาชาด ได้ร่วมเป็นสักขีพยานและชมการแข่งขัน
โดยนางอุไร กาลปักษ์ เกษตรอำเภอบ้านลาดเปิดเผยว่า สำหรับไฮไลท์ ในคืนวันที่ 18 ม.ค.63 คือการประกวดทะลายตาล และการแข่งขันเฉาะตาล ที่มีผู้เข้าแข่งขันมืออาชีพ ลงประลองฝีมือ เรียกเสียงเชียร์เป็นอย่างมากเลยที่เดียว สำหรับการเฉาะตาล ประจำปี 2563 มีการปรับเปลี่ยนให้การแข่งขันเป็นคู่เป็นปีแรก
สำหรับ กติกาการแข่งขันเฉาะตาล(โตนด) ประเภทคู่หลักเกณฑ์การแข่งขัน คือ
1.)มีดเฉาะตาลผู้เข้าแข่งขันต้องนำมาเอง
2.)คณะกรรมการเตรียมลูกตาลให้ผู้แข่งขัน คู่ละ 15 ลูก
3.) ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเตรียมคู่ ให้พร้อมในการแข่งขัน เป็นคู่ชายและหญิงเท่านั้น
4.)การแข่งขันใช้วิธีการจับฉลาก เลือกกองลูกตาล
5.)ผู้เข้าแข่งขันเป็นผู้ตกลงกันเองว่าผู้ใดจะเป็นฝ่ายเฉาะตาลและผู้ใดเป็นฝ่ายบรรจุใส่ถุง
6.)ไม่ให้ผู้เข้าแข่งขันเฉาะเตรียม ลูกตาลโตนด
7.)เมื่อผู้เข้าแข่งขันพร้อม กรรมการให้สัญญาณนกหวีด
8.)ผู้ที่เฉาะทำหน้าที่เป็นผู้ฉาะอย่างเดียว ส่วนผู้ที่ทำหน้ที่บรรจัใส่ถุงอย่างเดียวโดยให้ใส่ลูกตาลที่เต้ามีสภาพสมบูรณ์ ไม่แตก ไม่ฉีก จัดเรียงสวยงาม ถุงละ 10 เต้า จำนวน 4 ถุง หลังจากนั้นมัดปากถุงให้เรียบร้อย ผู้เข้าแข่งขันคู่ใดทำตามเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ยกมือให้กรรมการเห็น
9.)คู่ที่เสร็จเรียบร้อย ลูกตาลในถุงสมบูรณ์ไม่แตก จัดเรียงสวยงาม และใช้เวลาได้เเร็ว โดยใช้มติของกรรมการ เป็นผู้ตัดสินว่าเป็นคู่ที่ชนะการแข่งขัน
ผลการแข่งขัน ประจำปี 2563 มีดังนี้
1) รางวัลชนะเลิศ นายสมใจ นวมนิ่ม และ นางรำเพย ทองพลับ / ห้วยข้อง ได้รับเงิน 1,500 บาท 2) รองชนะเลิศอันดับ 1 นายอาทิตย์ ม่วงน้อย และ น.ส.สุวรรณฤดี อุ่นจิต /ไร่โคก ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท 3) รองชนะเลิศอันดับ2 ได้แก่ นายอำพล พูลสุข และ นายสุชีพ พูลสุข / ไร่สะท้อน ได้รับเงินรางวัล 800 บาท
ในส่วนของการแข่งขันกินลูกตาล(โตนด) ปี 2563 มีการเปลี่ยนแปลงเป็นครั้งแรก โดยจัดแข่งแบบประเภทคู่ มีหลักเกณฑ์การแข่งขัน ประกอบด้วย
1.)ผู้เข้าแข่งขันเตรียมคู่ ให้พร้อมในการแข่งขันเป็นคู่ชายและหญิงเท่านั้น
2.) ผู้เข้าแข่งขันตกลงกันเองว่ใครจะเป็นฝ่ายอุ้ม และใครจะเป็นฝ่ายกิน เมื่อตกลง
กันได้แล้ว ห้ามทำการสลับผลัดเปลี่ยนหน้าที่กัน
3.) ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นฝ่ายกินห้ามใช้มือช่วยในการแข่งขัน
4.)ผู้เข้าแข่งขันจะต้องอุ้มอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้กินลูกตาลที่แขวนไว้ จำนวน 3 เต้าให้หมด
5.)ผู้เข้าแข่งขันคู่ใดกินหมดก่อนจะถือว่าเป็นผู้ชนะ แต่ถ้าผู้เข้าแข่งขันคู่ใดทำเต้าตาล ตกลงพื้นโดยที่ลูกตาลยังไม่หมดเต้าให้ถือว่าคู่นั้นแพ้
6.)ผู้ชนะจะต้องใช้มติจากกรรมการเป็นผู้ตัดสิน
ผลการตัดสิน รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงิน 1,000 บาท ได้แก่ คู่ของ นายสุทธิพงษ์ คุ้มภัย และ น.ส.อรนี ทองปล้อง จาก อบต.โรงเข้ /รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับเงิน 800 บาท ได้แก่ นายชัยชาญ วาสนา และ น.ส.สุมล เปี่ยมสิน จาก อบต.ถ้ำรงค์ / รองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้รับเงิน 600 บาท ได้แก่ นายสุทอน แก้วพรายตา และ น.ส. น้ำทิพย์ เดชบุตร จาก อบต.บ้านทาน
ด้านในการประกวดทะลายตาล (ผลตาลโตนด) มีกติกตาคือ
1.)กรรมการจะพิจารณาทะลายตาลใน 1 ทะลายจะต้องมีลูกตาลไม่
น้อยกว่า 7 ผล และมีผลที่สม่ำเสมอกันก่อน
2.)หลังจากพิจารณาข้อที่ 1 เรียบร้อยแล้ว กรรมการจะเลือกลูกตาลในทะลายมา 1 ผลโดยเลือกลูกที่ 1 จากปลายทะลาย ที่มีจำนวน
เต้า 3 เต้า มาเฉาะดูผลภายใน แต่ถ้าลูกที่ 1 ที่เลือกไม่ใช่ 3 เต้าจะเลือกลูกถัดมาเพื่อเฉาะ ดูขนาดต้า และลักษณะอื่นประกอบต่อไป
3.)เมื่อกรรมการเฉาะดูเต้าภายใน ลักษณะภายในเต้าตาลจะต้องไม่เป็นขนทราย เต้าตาลจะต้องมีขนาดใหญ่ ขาว อวบ ขนไม่ดำ และ
แดง
4.ทะลายที่ชนะเลิศจะใช้มติกรรมการเป็นเกณฑ์ในการตัดสิน
สำหรับผลการประกวด ปี 2563
รางวัลชนะเลิศ ได้รับเงิน 1,000 บาท ได้แก่ ม.1 ต.ห้วยลึก /รองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้รับเงิน 800 บาท ได้แก่ ม.8 ต.ท่าเสน / รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ ได้รับเงิน 500 บาทได้แก่ ม.4 ต.หนองกระเจ็ด
ทั้งนี้การประกวดทะลายตาล และการแข่งขันเฉาะตาลและกินตาล เป็นส่วนหนึ่งของงานวัวเทียมเกวียน ที่จัดประจำทุกปี ที่นาทุ่งทอง ม.5 ต.ท่าช้าง อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
สำหรับตาลโตนด มีประโยชน์มากมาย ทั้งต้นตาล ใบตาล ผลอ่อนหรือลูกตาลอ่อน ผลอ่อนตาลที่เก็บหลังจากออกจั่น 2-3 เดือน นำมาเฉาะเอาเนื้อด้านใน ที่เรียกว่า “จาวตาล” ตาล 1 ลูก จะมีลอนตาลประมาณ 3 ลอน นำมารับประทานเป็นผลไม้ มีรสนุ่มหอมหวาน ลูกตาลที่แก่จัดจะมีจาวตาลเหนียว แข็ง ใช้ทำจาวตาลเชื่อม และนำมาคั้นน้ำและเอาเส้นใยออก จะได้น้ำสีเหลือง มีกลิ่นหอม ใช้ต้มดื่มหรือทำอาหารคาวหวาน เช่น แกงหัวตาล ขนมตาล ช่อดอก และน้ำตาล ช่อตาลหรืองวงตาล รวมทั้งยังนำมาทำ “น้ำตาลสด หรือน้ำตาลโตนด” ใช้รับประทานสดๆ และหากนำมาเคี่ยว ก็ทำน้ำตาลปึก น้ำตาลปี๊บ ทำน้ำผึ้งตังเม และยังนำมาหมักทำเป็นน้ำส้มสายชู กะแช่ หรือกลั่นเหล้าน้ำตาล ฯลฯ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: