กระทรวงสาธารณสุข ติวเข้มบุคลากรการแพทย์ 4 จังหวัดอีสานใต้ ที่ให้บริการในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ พร้อมเตือนผู้ที่หลอกลวงชาวบ้าน ขายน้ำมันกัญชาแพง อาจมีสารปนเปื้อนผสมอยู่ ทำให้เกิดอันตรายได้
(27 ม.ค.63) นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดสัมมนาทางวิชาการ “การใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อความยั่งยืน เขตสุขภาพที่ ๙” ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับ เขตสุขภาพที่ 9 จัดขึ้น โดยมี นายแพทย์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 พร้อมแพทย์และเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ในเขตสุขภาพที่ ๙ ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์ และ จ.สุรินทร์ เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 360 คน ที่ห้องประชุมฟลอร่ารูม อุทยานไม้ดอกเพลาเพลิน อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของบุคลากรที่ให้บริการในคลินิกกัญชาทางการแพทย์
นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า กัญชา ซึ่งยังคงเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 แต่ในประเทศไทยนั้น เริ่มมีการปลดล็อคให้สามารถใช้ได้ในทางการแพทย์และสาหรับการวิจัยได้ เมื่อ ปี 2562 ที่ผ่านมา และจังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9 ได้มีการดำเนินงานกัญชาทางการแพทย์ โดยจัดตั้งคลินิกให้บริการกัญชาทางการแพทย์ ครบทุกโรงพยาบาล มีสถานที่ผลิตและปลูกกัญชาทางการแพทย์ ที่ อำเภอคูเมือง โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างวิสาหกิจชุมชน ศูนย์พัฒนาสมุนไพร เพ ลา เพลิน เพื่อชุมชนและโรงพยาบาลคูเมือง ซึ่งทางวิสาหกิจได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตในการปลูกรอบแรกแล้ว
ทั้งนี้ การจะปลูกกัญชาอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการจะปลูกบ้านละ 6 ต้นทำยังไม่ได้ แต่การปลูกใกล้บ้านที่จะดำเนินการได้ก็ที่ รพ.สต. ซึ่งมีวิสาหกิจชุมชนพร้อมให้ความร่วมมือ และยังมีแหล่งทุนในท้องถิ่นร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม อยากฝากถึงผู้ที่หลอกลวงชาวบ้านขายน้ำมันกัญชาแพงเกินกว่าเหตุ ซึ่งอาจจะมีกัญชาอยู่น้อยหรือมีสารปนเปื้อนผสมอยู่ด้วย อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ จึงขอให้ประชาชนระมัดระวัง อย่าไปหลงเชื่อว่าเป็นยาวิเศษ แต่สามารถบรรเทาอาการผ่อนคลายได้
สำหรับประโยชน์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยนั้น ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ได้ประโยชน์ในขณะนี้ ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบาบัด โรคลมชักรักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการปวดประสาทส่วนกลางที่รักษาด้วยวิธีต่างๆ ไม่ได้ผล ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: