ปรากฏการณ์ทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่งผลต่อการเรียนรู้ต้องพัฒนาด้วยองค์ความรู้ และการจัดการความรู้ใหม่ ๆ ทั้งการเรียนรู้ในและนอกห้องเรียน ตลอดจนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้คนในยุคใหม่ด้วยการแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและดิจิทัลมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตแทบตลอดเวลาโลกดิจิทัลและเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการเรียนรู้ในโลกปัจจุบัน
การพัฒนาความพร้อมของ “คน”ด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น ด้วยวิทยาการด้านการสื่อสาร การเรียนรู้ของกลุ่มผู้นำทางการเมืองยุคใหม่ และแวดวงผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่นภายใต้หลักสูตร “นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น” ทั้งในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ด้วยระบบทางไกล ในสาชานิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุกพัฒนาหลักสูตรอยู่ตลอดเวลา พร้อมรูปแบบการเรียนการสอน การเรียนรู้ที่ยืดหยุ่นของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเป็นการตอบโจทย์ปรากฏการณ์การสื่อสารในงานการเมืองที่กำลังมีความเคลื่อนไหว และก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ
ล่าสุดรศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ประธานหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น อดีตรองอธิการบดี และคณบดีนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นตัวแทนคณะฯ นำผู้บริหารคณะเข้าพบนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนการสอนของคณะนิเทศศาสตร์ และของหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ในฐานะเป็นประธานรัฐสภาประมุขของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและมีความเชี่ยวชาญกับการสื่อสาร โดยเฉพาะการสื่อสารทางการเมือง
การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนา ด้านการเมืองการปกครองท้องถิ่น ทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ทั้งองค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ และการปกครองท้องถิ่น ด้านการสื่อสารเพื่อพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ใหม่พร้อมนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีคุณค่า “นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น” ในระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก ทางไกล ด้วยหลักสูตรการเรียนการสอนรูปแบบการเรียนรู้ที่ถูกออกแบบหลักสูตรที่ตอบสนองแก่ผู้เรียนรู้ในโลกยุคใหม่ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของการได้มาซึ่งความรู้ แต่เมื่อผู้เรียนลงมือเรียนรู้ จะทำให้สามารถรู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากความรู้นั้นๆ อย่างไร เพื่อพัฒนาและต่อยอดเรื่องการบริหารจัดการใหม่ๆ ด้านการสื่อสารยุคใหม่ ด้วยองค์ความรู้ใหม่
สอดคล้องกับแนวคิดสำคัญของหลักสูตร เรียนรู้อย่างมีความสุข เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด เรียนรู้ผ่านโครงงานและการวิจัย มุ่งพัฒนาความเชี่ยวชาญตนเองเพื่อรับใช้สังคม “เป็นใคร อยู่ที่ไหน เวลาใด” ซึ่งเปิดโอกาสหลากหลายอาชีพได้เรียนรู้ โดยเฉพาะนักพัฒนาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น นักการเมืองระดับชาติและระดับท้องถิ่น นักวิชาการ ผู้ปฏิบัติงานในองค์กรที่เกี่ยวข้องทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น ผู้ปฏิบัติงานด้านสื่อสารมวลชน และนักธุรกิจและผู้ที่ให้ความสนใจ และทำให้เกิดเครือข่ายที่เข้มแข็ง “เครือข่ายแห่งองค์ความรู้” จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาตนเอง การเรียนรู้ที่แท้จริงโดยไม่รอให้ใครมาบอก หรือกำหนดว่าต้องเรียนอะไร สร้างบรรยากาศการขวนขวาย กระหายต่อการเรียนรู้ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา
การแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศภายใต้โครงการต่าง ๆ ปรากฏการณ์ทางการเมืองที่น่าจับตาอย่างน่าสนใจ ด้วยการศึกษาข้อเท็จจริงและการพัฒนาด้วยศาสตร์ด้านนวัตกรรมการสื่อสารการเมืองและการปกครองท้องถิ่นแล้ว การเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่นแต่ละสนามเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดศึกชิงชัยเก้าอี้ผู้บริหารท้องถิ่นท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะด้วยกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้ง 6 ฉบับ ได้ประกาศใช้ในราชกิจานุเบกษาแล้วซึ่งประกอบไปด้วย พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 2.พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2562 3. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร(ฉบับที่6) พ.ศ.2562 4. พ.ร.บ.สภาและองค์การบริหารตำบล (ฉบับที่7) พ.ศ. 2562 5. พ.ร.บ.เทศบาล (ฉบับที่14) พ.ศ.2562 และ 6. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา (ฉบับที่3) พ.ศ. 2562 ขณะนี้ความชัดเจนรอเพียงรอการประกาศของรัฐบาลท่ามกลางกระแสทางการเมืองอันร้อนระอุ ด้วยร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 รอผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฏร ซึ่งจะกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนโดยอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่เห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองท้องถิ่นใดแล้วแจ้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งทราบ ขณะที่ผู้จัดการเลือกตั้งท้องถิ่น ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง และกระทรวงมหาดไทยต่างประกาศความพร้อม จัดสรรบุคลากร รวมทั้งรอร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563
“แม้ประเทศไทยมีการผลักดันเรื่องการกระจายอำนาจมายาวนาน แต่การเปิดพื้นที่ให้กับประชาชนในชุมชนท้องถิ่นไกลยังมีข้อจำกัด การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงไม่ได้เพียงแค่ทางเลือกในการบริหารราชการแผ่นดิน แต่เป็นหนทางที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาท้องถิ่น และประเทศไทยให้เติบโตก้าวหน้า เพราะชุมชนและท้องถิ่นคือเสียงและความต้องการของประชาน หลักสูตรปริญญาเอก ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต แขนงวิชา นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกได้มุ่งเน้นการพัฒนา “คน”พัฒนาผู้นำด้านการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงจากปรากฏการณ์ทางการเมืองด้วยแนวคิด หลักการ และทฤษฏีสู่การปฏิบัติจริง รวมทั้งการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารในเชิงวิชาการที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านและก่อให้เกิดคุณค่าต่อสังคม”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: