เชียงราย-สปก.ปสท.จัดระเบียบสังคม ลุย ตรวจสอบโรงแรมเถื่อนบนดอยแม่สลอง 38 แห่ง มีอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ออกใบอนุญาตโรงแรมดอยแม่สลอง 10 ราย ผ่านอำเภอแม่ฟ้าหลวง ถึงปัจจุบัน
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 30 ม.ค.63 นายมณู วงศ์สุนทร ปฎิรูปที่ดินจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการให้นายดำรง ไชยโย นิติกรชำนาญการพิเศษ ผอ.กลุ่ม กม.และฝ่ายช่าง สปก.เชียงราย ร่วมกับ ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม( ปทส.) เข้าตรวจสอบโรงแรม รีสอร์ท เกตเฮ้าส์ บนดอยแม่สลอง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ที่บุกรุกป่าสงวน กว่า 38 แห่ง จากกรณีปัญหาการก่อสร้างโรงแรม รีสอร์ท และอาคารบนดอยแม่สลองโดยการละเลยละเว้นต่อหน้าที่ของข้าราชการ จนก่อให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้นไม่ว่าจะเป็นปัญหาคนต่างด้าวปัญหาบัตรประชาชนปัญหาการบุกรุกที่ดินและปัญหาการค้ายาเสพติดปัญหาการฟอกเงินจนก่อให้เกิดการหาผลประโยชน์บนที่ดินดอยแม่สลอง ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกลายสภาพเป็นพื้นที่โล่งเตียนเป็นชุมชนใหม่จากเดิมจนน่าตกใจนั้น
เดิมทหารขอใช้พื้นที่ดอยแม่สลองจากกรมป่าไม้ให้กับกลุ่มทหารจีนคณะชาติที่เรียกกันว่า“กองพล93” ได้อยู่อาศัยและทำการเกษตรเท่านั้นโดย(ระบุห้ามฃื้อห้ามขาย) แต่ปรากฎว่ามีการฝ่าฝืนข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้พื้นที่ที่ทหารได้มอบไว้ นำที่ดินเหล่านั้นไปซื้อขายและเปลี่ยนมือจนกลายสภาพผู้ได้รับสิทธินั้นไปเป็นคนต่างด้าวอื่นเข้าครอบครองแทนแทบหมดยุค”กองพล93”ไปแล้ว
จากการตรวจสอบย้อนไปสมัยที่ทหารดูแลพื้นที่นี้อยู่พบว่า มีการใช้พื้นที่ไม่ตรงกับที่อนุญาต ทำให้มีการก่อสร้างอาคารโรงแรมขึ้นเป็นจำนวนถึง 10 แห่งรวมทั้งอาคารร้านค้าอื่นๆ ทั้งที่ทราบดีว่าเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติไม่สามารถอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ขอนแก่น เอาจริงลุยปราบปรามผู้ค้ายาเสพติด ในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น ได้ผู้ต้องหา 4 ราย หลังชาวบ้านแจ้งเบาะแส
- อบจ.ลำปางยกระดับคุณภาพมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ PCU/NPCU
- ลำพูน บุกจับบุหรี่ไฟฟ้าล็อตใหญ่ ทำเนียนปลอมเป็นไรเดอร์ แต่วิ่งส่งบุหรี่ไฟฟ้า
- ชมคลิป-เตรียมเที่ยวงาน 10 ชาติพันธุ์ ยิ่งใหญ่กว่าเดิมในรูปแบบใหม่ ชมขบวนแห่กลุ่มชาติพันธุ์อลังการ
นอกจากนี้อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายในฐานะนายทะเบียนธุรกิจโรงแรมได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมให้กับผู้ประกอบการทั้ง10 แห่งนั้นด้วย ทั้งที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องรู้ว่าพื้นที่เหล่านั้นเป็นพื้นที่ป่าไม่สามารถออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรมให้ได้เนื่องจากเอกสารประกอบคำขอใบอนุญาตเช่นใบอนุญาตก่อสร้างไม่มีและเอกสารสำคัญทางที่ดินเป็นเพียงแค่หนังสือของทหารหน่วย 327 ไม่ใช่เป็นเอกสารสิทธิที่ดินที่ผู้ขอเป็นเจ้าของที่ถูกต้องตามระเบียบกฎหมายอาทิ นส.3 ก.โฉนดที่ดิน อันเป็นส่วนประกอบสำคัญในการยื่นเรื่องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม และผู้ขออนุญาตเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรือไม่ มีการตรวจสอบหรือไม่
และป่านี้เป็นป่าต้นน้ำลำธาร ซึ่งควรเป็นเขตที่ควรสงวนทั้งทหาร และข้าราชการจึงไม่ควรอนุญาตจนนำมาสู่การขยายตัวของผู้บุกรุกเข้ามาเป็นจำนวนที่น่าตกใจกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่มีการฃื้อขายในอัตราอาคารห้องละสองถึงสามล้านบาท บางรายปล่อยอาคารเช่าเป็นรายเดือนกอบโกยกันจนร่ำรวยไม่นับในเรื่องของการฟอกเงินจากการค้ายาเสพติดและความร่ำรวยขึ้นในพริบตา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อปี 2537 ได้ออกพระราชกฤษฎีกาประกาศเป็นพื้นที่ สปก. แต่ สปก.ยังไม่สามารถเข้ารังวัด เนื่องจากไม่มีกำลัง ประกอบกับทหารยังใช้พื้นที่นี้อยู่โดยอ้างความมั่นคง จึงปล่อยถึงปัจจุบันมีการขยายโรงแรมขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นมาอีก 20 กว่าแห่ง รวมเป็น33 มีอาคารร้านค้าซึ่งเป็นต่างด้าวใหม่เข้ามาสวมสิทธิแทนผู้ได้รับสิทธิเดิมทำให้พลเอกบุญสร้างเนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดขึ้นมาตรวจสอบเห็นความไม่ชอบ จึงดำเนินเรื่องขอคืนพื้นที่ให้กับกรมป่าไม้โดยเวลาต่อมาในเดือนมีนาคม 2553 พลเอก ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ลงนามส่งคืนพื้นที่ป่าที่ทหารขอใช้ประโยชน์ในราชการทหารให้กลับไปสู่กรมป่าไม้
โดยในหลักการคืนพื้นที่ให้กรมป่าไม้ต้องคืนในสภาพพื้นที่เดิมเป็นป่าแต่กลับปรากฎมีอาคารโรงแรมติดตัวมาโดยไม่ถูกต้องด้วยทำให้กรมป่าไม้ส่งต่อไปให้สปก.รับไปและปล่อยละเว้นให้คนบุกรุกพื้นที่มากขึ้นไปอีกโดยสปก.อ้างว่าไม่สามารถทำอะไรได้ เนื่องจากไม่มีกฎหมายบังคับให้สปก.ดำเนินการกับผู้บุกรุก จะทำได้เพียงการรังวัดที่ดินเฉพาะผู้ที่ทำการเกษตรและมีที่อยู่อาศัยเพียง 100 ตารางวา หากมีอาคารที่ผิดวัตถุประสงค์ของหลักเกณฑ์การอนุญาต สปก.จะไม่สามารถเข้ารังวัดเพื่ออนุญาตให้ได้ และไม่มีกฎหมายกำหนดว่า หากพบว่า สปก.เข้ารังวัดไม่ได้ สปก.จะต้องคืนพื้นที่ให้ป่าไม้ ภายในกำหนดกี่วัน
ผู้สื่อข่าวตรวจสอบต่อไปว่าการที่สปก.พูดเช่นนี้เป็นการกล่าวอ้างปฎิเสธความรับผิดชอบของตนเองเนื่องเพราะ พรบ.การปฎิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมพ.ศ2518 มาตรา 33 กล่าวว่าเมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้บรรดาเจ้าของที่ดินที่มีที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินแจ้งจํานวนแปลงที่ดินขนาดของที่ดินแต่ละแปลงที่ตั้งของที่ดินและการทําประโยชน์ในที่ดินที่ตนเป็นเจ้าของทุกแปลงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเก้าสิบวัน ตามแบบและวิธีการที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้สื่อข่าวตรวจสอบพบอีกว่าพื้นที่สปก.รายใดที่ไม่สามารถเข้ารังวัดหรือติดปัญหาเรื่องการใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ที่ดินแปลงนั้นยังคงถือเป็นที่ดินป่าสงวนตามพรบ.ป่าไม้ผู้ครอบครองที่ดินอาจมีความผิดในฐานะบุกรุกป่าได้ สำหรับสาเหตุที่สปก.จังหวัดเชียงรายไม่ดำเนินการเข้ารังวัดที่ดินบนดอยแม่สลองบางพื้นที่ได้เนื่องจากมีการดำเนินการผิดวัตถุประสงค์ในการออกเอกสารสิทธิให้ได้และสปก.ไม่สามารถดำเนินการกับผู้ดำเนินการเหล่านั้นทั้งที่ควรจะแจ้งให้กรมป่าไม้ดำเนินการแทนก็ย่อมได้แต่กลับปล่อยให้มีการขยายต่อเติมสร้างใหม่ขึ้นมาอีกจำนวนมากทำให้เกิดการฃื้อขายเปลื่ยนมือสร้างปัญหาขึ้นมาจนที่ดินทุกตารางนิ้วบนดอยแม่สลองกลายเป็นสิ่งมีมูลค่ามากมาย
สปก. แจ้งว่าน่าที่ส่วนกลางจะออกกฎหมายกำหนดให้สปก.จัดการกับผู้บุกรุกนั้นได้อย่างไรขณะที่ผู้สื่อข่าวแย้งว่าแม้ไม่มีกฎหมายดังกล่าวสปก.ก็สามารถที่จะแจ้งให้ป่าไม้หรืออบต.แม่สลองนอกดำเนินการสั่งห้ามปรามจับได้ในฐานะเจ้าของพื้นที่ สปก.จึงอ้างว่าถ้าต้องการให้สปก.ดำเนินการต้องมีการออกกฎหมายบังคับว่า หาก สปก.ไม่สามารถเข้ารังวัดเพื่อออกเอกสารสิทธิให้กับผู้ครอบครองสิทธิได้ภายในหกเดือน สปก.ต้องส่งคืนพื้นที่ให้กับกรมป่าไม้และใครบุกรุกที่ของป่าไม้ก็จะถูกดำเนินคดีตามพรบ.ป่าไม้ ผู้สื่อข่าวตั้งข้อสังเกตุว่า เนื่องเพราะการเปลื่ยนแปลงฃื้อขายส่งผลต่อผลประโยชน์ จึงอาจทำให้มีการละเลยละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ในฐานะข้าราชการได้หรือไม่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: