ประมงระนองรวมตัวยื่นหนังสือ ผวจ.ค้านรัฐบาลลงสัตยาบันฯอนุสัญญาฉบับที่ 188
ระนอง-กลุ่มผู้ประกอบการประมงจังหวัดนองรวมตัวกว่า 100 คนเดินทางมายื่นหนังสือผ่าน ผวจ.ระนองเพื่อคัดค้านรัฐบาลที่จะไปให้สัตยาบันรับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ชี้จะก่อให้เกิดความเสียหาย และส่งผลกระทบรุนแรงต่ออุตสาหกรรมประมงไทย
นายสุรศักดิ์ จิมาพันธุ์ รองนายกสมาคมประมงจังหวัดระนอง กล่าวว่า ผู้ประกอบการประมงในจังหวัดระนองกว่า 100 คนได้รวมตัวเดินทางมายังศาลากลางจังหวัดระนองเพื่อยื่นหนังสือด่วนที่สุดที่ 39/2561 เรื่องคัดค้านการที่รัฐบาลจะไปให้สัตยาบันเพื่อรับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง พ.ศ. 2550 หรือซี-188 และยกร่างกฎหมายรองรับการให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 เพื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน พ.ศ. 2561 นั้นพบว่าหากมีการดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหาย และส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชาวประมงไทยหลายประการ หากรัฐบาลไทยเร่งรีบให้สัตยาบันอนุสัญญาฯนี้ จะทำให้เกิดปัญหาทับถมเพิ่มขึ้นและทำลายอุตสาหกรรมประมงของไทยทั้งระบบ ตลอดจนการจ้างงานภาคการประมงของประเทศไทยด้วยเช่นกัน ดังนั้นสมคมประมงระนองจึงขอคัดค้านการที่รัฐบาลจะไปลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 188 ซึ่งเห็นว่าบทในอนุสัญญาฯโดยมีเหตุผลความจำเป็นดังนี้
ข่าวน่าสนใจ:
1.ถึงแม้ว่าจะมี 10 ประเทศที่ลงนามให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฯฉบับที่ 188 และมีผลบังคับใช้แล้วก็ตาม แต่หากพิจารณาในเชิงลึก 10 ประเทศเหล่านั้นจะพบว่าประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย ที่พยายามกดดันประเทศไทยในปัญหาแรงงานและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล ต่างก็ยังมิได้ให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฯฉบับนี้เลยยกเว้น 3 ประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ได้แก่ฝรั่งเศส,เอสโตเนียและลิทัวเนีย โดยประเทศที่เหลืออีก 25 ประเทศยังไม่ยินยอมให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฯฉบับนี้ทั้งที่สหภาพยุโรปได้รณรงค์และถือเป็นนโยบายสำคัญที่สมาชิกพึงดำเนินการ
ไม่มีประเมศใดที่เป็นประเทศที่มีกิจการประมงทะเลเป็นกิจการขนาดใหญ่และมีความสำคัญของประเทศนั้นๆยินยอมให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฯฉบับนี้ เลยยกเว้นนอเวย์และฝรั่งเศส ไม่มีประเทศใดที่เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย ยินยอมให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฉบับนี้
2.ในภาคผนวกของอนุสัญญาฯมีข้อเสนอแนะที่เรือประมงไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้เนื่องจากการกำหนดมาตรฐานต่างๆ เบื้องต้นนั้นคุณลักษณะ สภาพแวดล้อมและโครงสร้างของตัวเรือประมงของไทยไม่สามารถปรับเปลี่ยนให้สอดรับกับบทบัญญัติในอนุสัญญาฯโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่บัญญัติไว้ในภาคผนวก เช่นการกำหนดให้เพดานเรือต้องมีความสูงไม่ต่ำกว่า 2 เมตร การกำหนดให้ในเรือต้องมีห้องน้ำสำหรับลูกเรือ 4 คนต่อ 1 ห้อง มีที่นอนฟูกอย่างดี มีห้องกีฬา ห้องสมุด ห้องพักผ่อน ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นเจ้าของเรือโครงสร้างของเรือประมงไทยใหม่ทั้งลำ กล่าวคือเรือประมงอวนล้อมจับใช้แรงงานในเรือประมงจำนวน 40 คน ต้องใช้ห้องน้ำ 10 ห้อง
3.ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะพยายามร่วมกับ เซฟเด็ก ในการที่จะปรับปรุงเรือประมงให้สอดรับกับอนุสัญญาคือเรือปลาลัง ก็ไม่สามารถออกทำการประมงได้ 4.ในส่วนของประเทศไทย หากประเทศไทยให้สัตยาบันรับรองอนุสัญญาฉบับนี้จะเป็นการทำลายอุตสาหกรรมการประมงของไทยทั้งระบบ เนื่องจากจะต้องมีการปรับปรุงเรือประมง เงื่อนไขการทำงาน และสภาพการจ้างงานที่มีอยู่ให้สอดรับกับบทบัญญัติภาคผนวก ซึ่งจะไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมดจนทำให้ผู้ประกอบการประมงต้องเลิกกิจการไปในที่สุด
ในการนี้สมาคมประมงระนองจึงขอกราบเรียนมายังนายกรัฐมนตรี เพื่อคัดค้านการที่รัฐบาลจะไปลงนามให้สัตยาบันอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคการประมง พ.ศ. 2550 ตามเหตุผลความจำเป็นดังกล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: