ที่แปลงนาเกษตรกรที่ตัดสินใจลดพื้นที่ปลูกข้าวทั้งนาปีและนาปรัง หันมาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คุณภาพ ในเครือข่ายสหกรณ์การเกษตรเมืองตรอน จำกัด อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมคณะ ซึ่งได้รับมอบหมายนายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรและส่วนราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง นำโดยนายภาพร ณ นคร สหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ ให้การต้อนรับพร้อมรายงานการผลักดันและส่งเสริมให้ชาวนาในเขตชลประทาน หันมาปลูกพืชทดแทน ใช้น้ำน้อย อายุสั้น เช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อลดพื้นที่ทำนา และประสบความสำเร็จในรูปแบบการผลิตข้าวโพดคุณภาพ มีสหกรณ์เมืองตรอน จำกัดเป็นแม่ข่ายรวบรวมผลผลิต เพื่อส่งขายโรงงานผลิตอาหารสัตว์ โดยช่วงแล้งที่ผ่านมา ได้ผลผลิตกว่า 6,000 ตัน มูลค่าการรวบรวมกว่า 36 ล้านบาท จากการลงพื้นที่พบปะและสอบถามชาวนาโดยตรง อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ถึงกับตะลึงเมื่อทราบว่า ผลผลิตข้าวโพดแล้งที่ผ่านมาได้มากถึงไร่ละเกือบ 2 ตัน ส่งขายให้สหกรณ์เมืองตรอน จำกัด รับซื้อความชื้น 30 กิโลกรัมละ 6.50 บาท ไร่ละประมาณ 11,000 บาท เมื่อเทียบทำนาขายข้าวมีกำไรไร่ละ 3,000 บาท ดีกว่าทำนาที่ขาดทุนตลอด และเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดจึงเต็มไปด้วยรอยยิ้ม นายพิเชษฐ์ กล่าวว่า สหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์ มีการส่งเสริมให้สมาชิกหรือเกษตรกร จากที่เคยปลูกข้าวปีละ 3 ครั้ง เขตชลประทาน มาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คุณภาพเพื่อป้อนส่งโรงงานผลิตอาหารสัตว์ โดยมีสหกรณ์เมืองตรอน จำกัด เป็นแม่ข่ายรวบรวมผลผลิตจากสหกรณ์ลูกข่ายของจังหวัดอุตรดิตถ์ 18 สหกรณ์ และจัดนักวิชาการทั้งจากหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุตรดิตถ์และภาคเอกชน ให้ความรู้เกษตรกรก่อนลงมือปลูก เช่นการนำดินตรวจวิเคราะห์คุณภาพ สารอาหาร เพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสมก่อนปลูก การลดต้นทุน การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ การดูแล ตลาดจนการอายุการเก็บเกี่ยวต้อง 130 วัน ช่วงข้าวโพดแล้งได้ผลผลิตกว่า 6,000 ตัน และพบว่าชาวนา ยังเลือกที่จะปรับนาปี ส่วนของนาดอน มาปลูกข้าวโพดฝน เพื่อให้มีผลผลิตป้อนโรงงานตลอดทั้งปี คาดว่ามีผลผลิตป้อนโรงงานเกือบ 5 หมื่นตัน อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งเป้าส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชหลังนา มีรายได้สูงกว่าทำนาจะในเดือน พฤศจิกายน นี้ 2-3 ล้านไร่ใช้ปลูกข้าวโพดและพืชตระกูล ดังนั้น อุตรดิตถ์โมเดล “เลิกทำนาปรัง เปลี่ยนที่นาปลูกข้าวโพด” เป็นต้นแบบเกษตรกรผลิต สหกรณ์รวบรวม ส่งขายเอกชน โดยเป็นการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คุณภาพ ที่ไม่ลุกพื้นที่ป่า
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: