X
ร่วมมือกันเร่งผลิตแรงงาน

อาชีวะ เร่งผลิตแรงงาน 4.7 แสนป้อน 10 อุตสาหกรรมหลักในอีอีซี

ฉะเชิงเทรา – อาชีวะ มุ่งปั้มแรงงาน 4.7 แสนคน ด้วยระบบการศึกษาทวิภาคี ป้อน 10 อุตสาหกรรมหลักในตลาดแรงงานอีอีซี เน้นการมีส่วนร่วมจากสถานประกอบการ เพื่อสร้างคนให้ตรงกับความต้องการ และพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพ ทั้งด้านขีดความสามารถทั้งด้านภาษา และเทคโนโลยีดิจิตอล รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือทางการศึกษาแบบทวิศึกษาอีกทางด้วย

วันที่ 13 ก.พ.63 เวลา 11.00 น. ที่ห้องประชุมพุทธโสธร 3 วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ดร.ธวัชชัย อุ่ยพานิช ที่ปรึกษา EEC สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้เดินทางมาเป็นประธานในการลงนาม “การเข้าร่วมโครงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วน พ.ศ.2563” ระหว่างวิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา ร่วมกับผู้ประกอบการ จำนวน 14 แห่ง ในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี

ร่วมมือแบบทวิ

ประกอบด้วย บริษัทเอเคเวลดิ้ง จำกัด, บริษัทดับบลิวเอ็มเอส เมทัลซอว์ จำกัด, บริษัทฟลอนีอูส (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัทไอพีเนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด และบริษัทไอพี แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด, บริษัทอุตสาหกรรมไทยบรรจุภัณฑ์ จำกัด, บริษัท ส.พูลสวัสดิ์ กรู๊ป จำกัด, บริษัทนิลสวัสดิ์ จำกัด, บริษัทบุญนิสา จำกัด, บริษัทวัฒนไฮดรอริค จำกัด, The N Power จำกัด, สถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล จำกัด (SIMTec), ณ ร้านอัพลิ้ง และอู่ไซโล

สร้างความร่วมมือ สถานประกอบการ

และโรงเรียนมัธยมศึกษาอีก 2 แห่ง ประกอบด้วยโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการฉะเชิงเทรา และโรงเรียนแปลงยาวพิทยาคม ในการจัดการศึกษาระบบทวิศึกษา หลังการลงนามความร่วมมือ (MOU) ในการร่วมกันผลิตบุคคลากร เพื่อรองรับความต้องการด้านแรงงานจำนวนกว่า 4.7 แสนอัตราในเขตพื้นที่การพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ด้วยระบบการจัดการศึกษาแบบทวิภาคีแล้วนั้น

ร่วมกันผลิตแรงงาน 4.7 แสนคน

ดร.ธวัชชัย กล่าวว่า การจัดการเรียนการสอนในสถาบันอาชีวะศึกษาต่อไปนี้ จะต้องตอบโจทย์ความต้องการของสถานประกอบการใน 10 อุตสาหกรรมหลัก โดยมุ่งเน้นการผลิตบุคคลากรเพื่อรองรับตลาดแรงงานในพื้นที่เขตการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้วยรูปแบบของการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี โดยมีสถานประกอบการเข้ามาร่วมในการผลิตนักศึกษาป้อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน

มุ่งพัฒนาคนอาชีวะ

โดยผู้ที่จบการศึกษาไป จะต้องรู้ภาษาต่างประเทศด้วยอย่างน้อยต้องมีภาษาที่ 2 หรือภาษาที่ 3 เช่น ภาษาอังกฤษ และจีน เพื่อใช้เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารและใช้ในการประกอบอาชีพ นอกจากนี้จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิตอล โดยใช้ดิจิตอลเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และจะต้องขับเคลื่อนศูนย์ผลิตและพัฒนากำลังคนของอาชีวศึกษา ซึ่งจะต้องเตรียมคนในเชิงปริมาณให้เพียงพอ

ผลิตแรงงานคุณภาพ

และเตรียมคนให้มีความพร้อมในเรื่องของคุณภาพ โดยจะต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบโจทย์ของสำนักงานอีอีซี โดยเฉพาะ EEC HDC ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการผลิตกำลังคนให้เพียงพอและมีคุณภาพ โดยเฉพาะในเรื่องซอฟ สกิล (Soft Skills) ทั้งในเรื่องความรับผิดชอบ ความขยัน ความซื่อสัตย์ ความอดทน ความกตัญญู ที่ทางวิทยาลัยอาชีวะศึกษา วิทยาลัยเทคนิค จะต้องปลูกฝังให้กับเด็ก

ที่ปรึกษา EEC อาชีวะ

โดยต้องอาศัยผู้ประกอบการที่เราเชิญมาร่วมมือกันที่จะพัฒนาผู้เรียน ทั้งในเรื่องสมรรถนะ และเรื่องของ สกิล (Skill) และซอฟ สกิล

การศึกษา แบบทวิศึกษา

ขณะเดียวกันในวันนี้ ยังได้มีโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่จะมีความร่วมมือในเรื่องของการจัดการศึกษาในรูปแบบของทวิศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษานั้นมีเจตคติ มีทัศนคติที่ดี ในการเรียนวิชาชีพ และยังเป็นการฝึกทักษะวิชาชีพให้กับผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นภาพรวมที่ทางอาชีวศึกษาจะต้องเตรียมคนให้มีความพร้อมรองรับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดร.ธวัชชัย กล่าว

ขยับก้าวพัฒนาคน สู่ความต้องการในตลาดแรงงานอีอีซี เริ่มแล้ววันนี้

ผู้ประกอบการ ขานรับอาชีวะปรับหลักสูตรรับอุตสาหกรรมใหม่

เพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนสายอาชีพปรับหลักสูตรใหม่รับอนาคต

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สนทะนาพร อินจันทร์

สนทะนาพร อินจันทร์

ลุยงานช่วยเหลือคนเดือดร้อนมาทั้งชีวิต อย่างไม่คิดเรียกสิ่งตอบแทน