นครพนม – วันที่ 7 ส.ค.61ที่ห้องสัมมนาโรงแรมไอโฮเทล บ้านหนองจันทร์ ต.ท่าค้อ อ.เมือง จ.นครพนม ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน(อพท.) สำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 เขตพัฒนาการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง กล่าวเปิดการอบรมตามหลักสูตร การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อชุมชนเชิงบูรณาการ(Certificate in CBT Integrated) เพื่อพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศให้มีความรู้ ความเข้าใจในแนวคิดกระบวนการพัฒนาและเครื่องมือการพัฒนาต่างๆ แล้วนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ของตน ได้อย่างเป็นรูปธรรม และส่งผลดีในระยะยาว มีผู้เข้าร่วมกว่า 100 คน จาก 5 จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ เลย,หนองคาย,บึงกาฬ,นครพนม,และมุกดาหาร
โดยก่อนหน้านี้ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครพนม(ทกจ.ฯ) ร่วมกับ สำนักงานพื้นที่พิเศษเลย อพท. แจ้งว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม 61 คณะอนุกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบกระบวนการคัดเลือกชุมชนต้นแบบในเขตทั้ง 5 จังหวัดแล้ว ประกอบด้วย ชุมชนชัยพฤกษ์ อ.เมือง จ.เลย ชุมชนบ้านหม้อ อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ชุมชนหอคำ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ชุมชนบ้านโพน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม และชุมชนบ้านแข้ อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร หลังจากนั้น ทกจ.นครพนม ได้ลงพื้นที่จัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนสำหรับชุมชนบ้านโพน เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ข่าวน่าสนใจ:
- รวบแลัว คนขับเก๋งเขียว สารภาพเมาแล้วขับชนดะทั่วเมืองเพชร
- "ตรังโมเดล" โกโก้สร้างรายได้ให้เกษตรกร กิโลกรัมละ 8 บาท ภาคเกษตร-เอกชนร่วมมือเปิดจุดรับซื้อ 11 แห่ง
- ม.นครพนม จัดกิจกรรมสร้างความเข้าใจการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สู่การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในระดับโลก
- ผู้กำกับ สภ.บางเสาธง เชิญตัวคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่รถชนกันแล้วมีอ้างรู้จักตำรวจ
ดร.ชูวิทย์ฯเปิดเผยว่าเป้าหมายของการอบรมในครั้งนี้ จะช่วยให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องนำความรู้ไปพัฒนาด้านการท่องเที่ยวในชุมชน เพราะทุกภาคส่วนได้เล็งเห็นความสำคัญในการใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นทรัพยากรท้องถิ่นของตน เพื่อให้เกิดรายได้เสริม อนุรักษ์ภูมิปัญญา ช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อม สร้างการมีส่วนรวมในชุมชน และการสืบทอดทรัพยากรท้องถิ่น เพราะทุกชุมชนล้วนมีของดีที่สามารถนำเสนอให้ผู้มาเยือนได้ไปสัมผัสถึงแหล่ง แต่หัวใจสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ การบริหารจัดการของคนในชุมชนนั้นๆ ด้วยเหตุนี้หน่วยงานพี่เลี้ยงทั้งหลาย จึงถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนให้ชุมชนต่างๆเดินหน้าได้อย่างมีคุณภาพ และคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชุมชนอย่างแท้จริง
บ้านโพน ต.โนนตาล หนึ่งในห้าชุมชนที่ถูกคัดเลือกเป็นชุมชนต้นแบบของจังหวัดนครพนม เป็นชนเผ่าไทยญ้อ(ย้อ) มีความเชื่อ ประเพณี ที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น ประเพณีการแต่งงาน เมื่อหนุ่มสาวที่รักใคร่ชอบพอถึงขั้นตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว ฝ่ายชายก็จะให้พ่แม่ไปสู่ขอสาวคนรัก เรียกว่า “ไปเจาะ” คือการส่งผู้ใหญ่ไปทาบทาม “โอมสาว” คือการทำพิธีสู่ขอ “แฮกเสื่อแฮกหมอน” คือการจัดเตรียมเครื่องนอน ประกอบด้วยฟูก หมอน ผ้าห่ม เสื่อ และมุ้ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายหญิง ในการนี้ต้องเชิญผู้เฒ่าผู้แก่ที่ชาวบ้านยอมรับว่าเป็น “ผัวค้ำเมียคูณ” มาทำพิธีตัดเย็บให้ชาวไทยย้อจึงเรียกว่าแฮกเสื่อแฮกหมอน “เล่าดอง” คือการบอกเล่าวันแต่งงาน “มื้อกินดอง” คือพิธีวันแต่งงาน
ชาวไทยย้อนั้นมีความเชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมเลี้ยงผีปู่ตา โดยชาวบ้านจะสร้างตูบปู่ตา(กระท่อม) หรือโฮงผีปู่ตา(หมายถึงโรงเรือนเป็นที่อยู่ของเจ้าเมือง) โดยมีความเชื่อว่าถือว่าผีปู่ตาคือ ผีบรรพบุรุษที่ตายไปแล้ว แต่ยังมีความห่วงใยในความเป็นอยู่ของลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ สำหรับที่ตั้งของผีปู่ตาจะอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ สำหรับงานบุญของชาวไทยย้อส่วนมากก็เหมือนกับ ชาวอีสานทั่วไปที่นับถือพระพุทธศาสนาและปฏิบัติตนตาม ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ และก่อนหน้านี้ชุมชนบ้านโพน ได้รับการคัดสรรเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เย็น เป็นสุข
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: