จังหวัดน่าน วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯ ประชาสัมพันธ์ แจ้งผู้สนใจเข้าศึกษาในระดับปริญญาโทร่วมลงชื่อ เตรียมเปิดสอนในระดับปริญญาโทในปี 2563 นี้
ข่าววันนี้ น่าน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 พระชยานันทมุนี ผศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน แจ้งประชาสัมพันธ์ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
แจ้งผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโท สามารถร่วมลงชื่อเพื่อแจ้งความประสงค์เข้ารับการศึกษาต่อ ในหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป กำกับดูแลในหลักสูตรต่างๆ โดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีผลงานทางวิชาการ ระดับชาติและระดับนานาชาติ คอยให้คำปรึกษาดูและตลอดหลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (Master of Arts Program in Buddhist Studies) ชื่อปริญญาและสาขาวิชา พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา) Master of Arts (Buddhist Studies) ชื่อย่อภาษาไทย พธ.ม. (พระพุทธศาสนา) ชื่อย่อภาษาอังกฤษ M.A. (Buddhist Studies)
คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รับผิดชอบหลักสูตร พระชยานันทมุนี,ผศ.ดร.สำเร็จการศึกษา,ป.ธ.4,พธ.ด.(พระพุทธศาสนา),ศษ.ม.(การบริหารการศึกษา),พธ.บ.(พระพุทธศาสนา)เกียรตินิยม2,ป.วค.(ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู),ดร.ชำนาญ เกิดช่อ สำเร็จการศึกษา,ป.ธ.9,พธ.ด.(พระพุทธศาสนา),ศศ.ม.(ภาษาสันสกฤต),พธ.บ.(ภาษาอังกฤษ)
ผศ.ดร.เสริมศิริ อัครพุฒิพันธ์ สำเร็จการศึกษา,พธ.ด.(พระพุทธศาสนา),ค.ม.(การบริหารอุดมศึกษา),ค.บ.(การบริหารการพยาบาลจิตเวชชั้นสูง) ดร.สุวารี รอบทองศรี สำเร็จการศึกษา,พธ.ด.(พระพุทธศาสนา),สส.ม.(การบริหารงานในกระบวนการยุติธรรม),วท.บ.(จิตวิทยาแนะแนวและการให้คำปรึกษา) ดร.โสภณ บัวจันทร์ สำเร็จการศึกษา,ป.ธ.5 ศน.ด.(พุทธศาสน์ศึกษา),ศน.ม.(สังคมวิทยา),พธ.บ.(ศาสนา),ป.วค.(ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู)
โครงสร้างหลักสูตร หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563) วิชาพระไตรปิฎกวิเคราะห์ 3(3-0-6) Tipitaka Analysis ศึกษาวิเคราะห์สาระพระไตรปิฎก หลักธรรมที่ใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติ
พุทธปรัชญา 3(3-0-6) Buddhist Philosophy.วิเคราะห์ประวัติและพัฒนาการของพุทธปรัชญาในพระพุทธศาสนา ในกรอบแนวคิดอภิปรัชญา ญาณวิทยา และทางจริยศาสตร์
พระไตรปิฎกวิเคราะห์ 3(3-0-6) Tipitaka Analysis.ศึกษาวิเคราะห์หลักธรรมที่ประยุกต์ใช้ในชีวิตเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติระเบียบวิธีวิจัยทางพระพุทธศาสนา 3(3-0-6) Research Methodology in Buddhism.ศึกษาหลักการและการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยการศึกษาทางพระพุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษ (3)(3-0-6) Buddhism in English. ศึกษาภาษาอังกฤษ พูดฟังอ่านเขียน เน้นศัพท์พระพุทธศาสนา(technical term) การอ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในภาษาอังกฤษ เพื่องานวิชาการ /กรรมฐาน (3)(3-0-6) Buddhist Meditation.ศึกษาหลักสมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และปกรณ์วิเสส
สัมมนาวิทยานิพนธ์ (3)(3-0-6) Seminar on Thesis.สัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ วัตถุประสงค์ ขอบเขตการวิจัย คำนิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย รวมทั้งฝึกปฏิบัติการเขียนวิทยานิพนธ์และบทความวิจัย /การใช้ภาษาบาลี 1 (3)(3-0-6) Usage of Pali I.ศึกษาประวัติและพัฒนาการภาษาบาลี การพูด อ่าน เขียน ภาษาบาลีในระดับพื้นฐาน /การใช้ภาษาบาลี 2 (3)(3-0-6)Usage of Pali II. ศึกษาการพูด อ่าน เขียน ภาษาบาลี ต่อจากการใช้ภาษาบาลี 1
พระพุทธศาสนาเถรวาท 3(3-0-6) Theravada Buddhism.ศึกษากำเนิดและพัฒนาการของพระพุทธศาสนาเถรวาท คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและหลักคำสอนสำคัญที่สะท้อนอัตลักษณ์ /พระพุทธศาสนามหายาน 3(3-0-6) Mahayana Buddhism.ศึกษากำเนิดและพัฒนาการของพระพุทธศาสนามหายาน คัมภีร์สำคัญ นิกายสำคัญทางพระพุทธศาสนามหายาน
ศึกษางานสำคัญทางพระพุทธศาสนา 3(3-0-6) Selected Buddhist Works. ศึกษาผลงานทางคัมภีร์ ผลงานทางวรรณกรรมและหลักคำสอนสำคัญของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาคนสำคัญทั้งในอดีตและปัจจุบัน /สัมมนาพระพุทธศาสนา 3(3-0-6) Seminar on Buddhism.สัมมนาพระพุทธศาสนากับประเด็นปัญหาสังคมปัจจุบัน
พุทธจริยศาสตร์กับปัญหาสังคมร่วมสมัย 3(3-0-6) Buddhist Ethics and Contemporary Social Problems.ศึกษาแนวคิดทางพุทธจริยศาสตร์ที่เกี่ยวกับเกณฑ์ตัดสินความดี ความชั่ว ควร ไม่ควร /ขบวนการพุทธใหม่ในโลกปัจจุบัน 3(3-0-6) New-Buddhist Movements in Contemporary World.ศึกษาขบวนการพระพุทธศาสนาแนวใหม่ที่เกิดขึ้นในสังคมโลกปัจจุบัน
พระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ 3(3-0-6) Buddhism and Modern Sciences.ศึกษาพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่ที่ครอบคลุมวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์โดยการบูรณาการ /พระพุทธศาสนากับภูมิปัญญาไทย 3(3-0-6) Buddhism and Thai wisdom.ศึกษาหลักธรรมสำคัญของพระพุทธศาสนาที่มีความสัมพันธ์กับภูมิปัญญาไทย ในด้านประวัติศาสตร์ ปรัชญา ความเชื่อ จารีตประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรม
สานเสวนาทางศาสนา 3(3-0-6) Inter-Religious Dialogue.ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและวิธีการสานเสวนาทางศาสนา /วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต Thesis. เป็นโครงการเฉพาะบุคคลที่มีเนื้อหาตามลักษณะวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร /สารนิพนธ์ 6 หน่วยกิต Research paper.เป็นโครงการเฉพาะบุคคลที่มีเนื้อหาตามลักษณะวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
ทั้งนี้ แจ้งความจำนงลงชื่อ ประสงค์เข้ารับการศึกษาต่อในปริญญาโท หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา สามารถลงชื่อได้ที่ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พระชยานันทมุนี ผศ.ดร.โทรศัพท์ 094-619-6494 /ผศ.ดร.วรปรัชญ์ คำพงษ์ โทรศัพท์ 098-563-7233 /ดร.ชำนาญ เกิดช่อ โทรศัพท์ 099-269-2999 /ผศ.ฐิติพร สะสม โทรศัพท์ 063-546-2615 /ผศ.เชษฐ์ นิมมาทะพัฒน์ โทรศัพท์ 081-796-3975 /พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ ผศ.ดร. โทรศัพท์ 088-117-7551 /พระปลัดนฤดล กิตติภทฺโท โทรศัพท์ 091-858-5587 /พระปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ โทรศัพท์ 088-408-9941 /อาจารย์สิทธิชัย อุ่นสวน โทรศัพท์ 085-622-6309
77 ข่าวเด็ด ประจำจังหวัดน่าน รายงาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: