เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และฝ่ายปกครอง รุดตรวจสอบ ชาลี ชักกุย” หมีควายแสนรู้วัย 2ปีกว่า ตายคากรง ข้างสำนักงานอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ส่งโรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหิน ให้สัตวแพทย์ตรวจหาสาเหตุการตายอีกครั้ง ซึ่งลูกหมีความตัวดังกล่าวถูกพบทิ้งอยู่ในไร่สับปะรดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2558 พื้นที่บ้านพุบอน อ.กุยบุรี อายุเพียงแค่ 2 เดือน
(19 ธันวาคม 2560 นายชาตรี จันทร์วีระชัย นายอำเภอกุยบุรีได้รับรายงานว่าจากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ว่า ชาลี ชักกุย หมีควายแสนรู้ อายุ 2 ปี 10 เดือน ตายภายในกรงเลี้ยงด้านข้างสำนักงานอุทยานแห่งชาติกุยบุรี เมื่อคืนนี้ เมื่อนายอำเภอเดินทางมาถึงสำนักงานอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้รุดไปตรวจสอบร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ซึ่งบริเวณกรงที่หมีควาย ชักกุยอาศัยอยู่ แต่ไม่พบตัวหมีแต่อย่าง ซึ่งทราบแต่เพียงว่าเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีได้นำซาก หมีควาย ชักกุย ไปโรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหินตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว
โดยนายปณิธาน พินิตปวงชน นักวิชาการป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ผู้ดูแล หมีความ ชาลี ชักกุย กล่าวว่าเวลาปกติจะให้อาหารหมีตั้งแต่เวลา 19.00 น.ทุกวัน เจ้าหน้าที่ก็จะนั่งดูแลกันตามปกติ หลังจากให้อาหารและให้ยากันชักได้ประมาณ 10 นาที ก็สังเกตเห็นที่ปากหมีมีน้ำลายไหลฟูมปาก เดินกระวนกระวายรอบกรงบางครั้งก็วิ่ง ซึ่งช่วงนั้นตนสังเกตความผิดปกติจึงได้โทรศัพท์ติดต่อกับสัตวแพทย์โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหินที่ดูแลหมีอยู่ และสัตวแพทย์จากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช บอกถึงอาการซึ่งสัตวแพทย์ได้ให้คอยสังเกตอาการและแนะนำให้เจ้าหน้าที่อุทยาน ฯ ให้เอายาแก้แพ้ให้หมีกินแต่ตนคิดว่าพึ่งจะให้อาหารและยาไปไม่นานคงจะลำบาก
ไม่นานหมีก็หมดแรงนอนฟุบลงกับพื้นเจ้าหน้าทีเห็นจึงได้วิ่งเข้าไปที่หมีนอน ขณะนั้นหมีมีอาการหายใจช้าลงและหยุดหายใจจึงได้ช่วยปั๊มหัวใจอยู่ประมาณครึ่งชั่วโมงก็ไม่สามารถชีวิตหมีได้
จากนั้นจึงได้ปรึกษาสัตวแพทย์ได้รับคำแนะนำให้ซากหมีมาเพื่อตรวจสอบสาเหตุการตาย เบื้องต้นหลังสัตวแพทย์โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหินผ่าพิสูจน์พบว่าที่หัวใจมีน้ำอยู่ ซึ่งอาการแบบนี้ไม่เคยพบ และที่กระเพาะอาหารมีแผล หรือสาเหตุจะตายด้วยอาการของโรคที่ไม่แสดงอาการก็น่าจะเป็นไปได้ และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จะนำซากหมีความ ชักกุย มาฝังบริเวณที่อยู่ของหมีต่อไป
แต่เนื่องจากชาลี ชักกุย มีการป่วยทางสมองและเป็นโรคลมชัก ต่อมาทีมสัตวแพทย์โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหิน ทำการรักษาและส่งกลับไปเลี้ยงที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยมีการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกเดือน เพื่อวินิจฉัยอาการป่วยทางประสาทและโรคลมชักที่ต้องให้กินยาเพื่อรักษาอาการอย่างต่อเนื่องทุกวัน
นายวัฒนา พรประเสริฐ ผอ.ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 เพชรบุรี กล่าวว่า “ชาลี ชักกุย” ที่ตายในครั้งนี้ทราบจากทางอุทยานแห่งชาติกุบุรี แล้วซึ่งเป็นลูกหมีควายเพศผู้ ชาวบ้านพบและแจ้งเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ว่าพบลูกหมีควายในไร่สับปะรดหมู่ 7 บ้านพุบอน ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2558 และจึงแจ้งให้ทางแพทย์หญิงเนตรนภา วิทิตธรรมคุณ สถานีเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทราย มาตรวจดูอาการและนำส่งมารักษาตัวรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหิน และพบว่ามีอาการป่วยทางประสาท และเกิดอาการชักบ่อย หลังจากนั้นจึงนำกลับมาดูแลลูกหมีควายที่ สถานีเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทราย ระยะหนึ่งก่อนที่จะส่งกลับไปให้ทางอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ดูแลและให้ยารักษาต่อจนถึงปัจจุบันนี้
“ สำหรับลูกหมีควายตัวดังกล่าว หรือ ชาลี ชักกุย เป็นหมีความอารมณ์ดี เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกับมนุษย์เป็นเวลานาน และเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ให้การดูแลมีการกรงขนาดใหญ่ด้านข้างของที่ทำการอุทยานแห่งชาติกุยบุรี พร้อมเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมความน่ารักได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงการถ่ายภาพเป็นที่ระลึก” สำหรับชื่อ”ชาลี ชักกุย“ มาจากการเลียนชื่อ “ชาลี ชับปุย” นักฟุตบอลทีมชาติชื่อดัง
CR สมบัติ ลิมปจีระวงษ์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: