ชัยภูมิ – พบสร้างไม่ได้มาตรฐานที่จะสามารถใช้งานตามความเป็นจริงได้เลยหลายแห่ง หลังหลายหน่วยงานทั้ง ปปช. ,คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัด ตัวแทนผู้ตรวจการสำนักงนายกรัฐมนตรี ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ต้องถึงกับพูดไม่ออก ..และเป็นการดำเนินงานทำให้เสียงบประมาณแผ่นดินทิ้งโดยใช่เหตุ และยังไร้วี่แววหน่วยงานจากกรมทรัพยากรน้ำลงมารับผิดชอบ อีก 1 แห่ง ที่สร้างมาได้ไม่ถึงปียังใช้เก็บกักน้ำไม่ทันได้เกิดผลแต่กลับพังถล่มลงมาแตกเสียหายไม่เป็นท่า ซึ่งหน่วยงานในท้องถิ่นอบต. อำเภอ ได้พยายามแจ้งหนังสือไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนี้มาต่อเนื่องกว่า 3 ครั้งกลับยังเงียบเฉยปล่อยรอให้ผู้รับเหมาใกล้หมดสัญยาค้ำประกันเหลืออีกไม่ถึง 2 เดือนจากนี้ไป ส่อต้องมาเสียงบประมาณแผ่นดินภาษีชาวไทยทั่วประเทศต้องมาเสียทิ้งเปล่าโดยไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยตามมาอีกเป็นจำนวนมากในครั้งนี้ด้วย!!!
( 15 ส.ค.61 ) ขณะที่จ.ชัยภูมิ ความคืบหน้าหลังเกิดกรณีพบการก่อสร้างฝายเก็บน้ำหลายแห่งในพื้นที่เกิดรอยร้าว แตกหักพังถล่มลงมาเสียหายหลายแห่งในพื้นที่อ.ภักดีชุมพล ล่าสุดด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจาก ปปช. และคณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดชัยภูมิ ตัวแทนจากผู้ตรวจการสำนักนายกรัฐมนตรี นำโดยนายสมศักดิ์ พงษ์สุภา รองประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาล นายชุมพล ยินดีผล นายอำเภอภักดีชุมพล นายวรวิทย์ นามมหานวล ปลักอาวุโส ตัวแทนผู้นำชุมชนอบต.แหลมทอง ตัวแทนผุ้รับเหมางานก่อสร้างฝาย จาก หจก.ทรัพย์ประเทือง นายประยุทธ์ น้องระแวง ในส่วนผู้รับจ้าง นายสรธร ชาติสุภาพ นายช่างโยธาและนายณัฐติพงษ์ วันทวี นายก อบต.วังทอง
และเจ้าหน้าที่ทหาร ฝ่ายปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่พาตรวจสอบ และชี้แจงกรณีที่เกิดขึ้น ต่อคณะกรรมการ ปปช.และคณะกรรมการธรรมาภิบาล ตัวแทนผู้ตรวจการสำนักนายกรัฐมนตรี ในจุดที่ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หลังที่พบเกิดรอยร้าวจนฝายใกล้แตก ที่บริเวณฝาย 1 แห่ง ในช่วงหมู่บ้านซับไทรทอง หมู่ 8 ต.แหลมทอง ในเขตอ.ภักดีชุมพล ที่ก่อสร้างขนาดความกว้างสันฝาย 6 เมตร ยาวกว่า 35 เมตร ใช้งบประมาณที่ตั้งไว้เบื้องต้นรวมกว่า 1.9 ล้านบาท แต่มีการเปิดประมูลฟันราคากันลงมาเหลือ 1.4 ล้านบาท
ที่ก่อสร้างมาได้ไม่ถึงปีและมีการตรวจรับส่งมอบงานเสร็จสิ้นมาทั้งหมดแล้วมาตั้งแต่ช่วงเดือน มี.ค.61 ที่ผ่านมาได้ไม่ถึง 6 เดือน ถูกน้ำป่าซัดผ่านเข้ามาก็เกิดชำรุดแตกเกิดรอยร้าวเสียหายตามมาอีกจำนวนมาก และไม่สามารถที่จะใช้เก็บกักน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งนี้ได้ด้วยอีกแห่ง
ซึ่งในครั้งนี้ทางหน่วยงานผู้ที่รับจ้างงานก่อสร้างฝายในจุดนี้อ้างว่า การก่อสร้างมีการเปลี่ยนแบบเพิ่มที่มีชาวบ้านต้องการให้ทำให้สันฝาย ได้ใช้เป็นถนนผ่านเพื่อช่วยขนพืชผลการเกษตรผ่านออกเข้าในพื้นที่ไร่ราษฎรในพื้นที่ใกล้เคียงให้สะดวกขึ้นด้วย และในส่วนตัวภายในฝาย ที่การก่อสร้างครั้งนี้ก็ต้องทำตามงบประมณที่จำกัดและไม่มีงบที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มในเรื่องการจ้างบดอัดดินก่อเทปูนควบสันฝายได้ จึงเกิดการถูกน้ำกัดเซาะด้านข้างฝายเข้ามาจนทำให้หลังฝายเกิดรอยร้าวแตกหลายแห่ง จนทรุดตัวลงครั้งนี้
และจะได้ทดลองซ่อมแซมดูว่าจะทำอย่างไรเพิ่มเติมเพื่อให้ฝายแห่งนี้กลับมาใช้เก็บน้ำได้บ้าง ในระหว่างนี้ก็ต้องปิดตายฝายชั่วคราวห้ามไม่ให้รถวิ่งผ่านสันฝายที่อาจเสี่ยงเกิดรับน้ำหนักไม่ไหวถล่มลงมาได้ รวมทั้งได้ขอเปิดทางน้ำที่ลงมาจากเขาทั้ง 2 ด้านให้ผ่านอ้อมออกลงไปทางอื่นก่อนเพื่อไม่ให้น้ำไหลผ่านตัวฝายในจุดนี้ในช่วงนี้ไปก่อน จนกว่าจะมีการหาทางซ่อมแซมฝายในจุดนี้ว่าจะทำอย่างไรให้ได้ต่อไป
ซึ่งทางนายอำเภอภักดีชุมพลเอง ก็กล่าวว่าส่วนในเรื่องผลกระทบชาวบ้านเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายที่คาดว่ากว่า 200-300 ไร่ในพื้นที่ ก็จะได้เสนอขอเงินช่วยเยี่ยวยาเพิ่มเติมในผู้ที่ได้รับผลกระทบการก่อสร้างฝายครั้งนี้ด้วยต่อไป
รวมทั้งพบฝายอีก 1 แห่ง เกิดแตกเสียหายใช้การไม่ได้โผล่ขึ้นมาประจานผลงานการก่อสร้างในจุดนี้ในช่วงหมู่บ้านซับชมพู ต.วังทอง อ.ภักดีชุมพล ที่ก่อสร้างเสร็จมาตั้งแต่เดือน พ.ค.2560 ที่ผ่านมาได้ไม่ถึงปี ที่ก่อสร้างโดยกรมทรัพยากรน้ำ จ.ขอนแก่น เกิดพังถล่มแตกเสียหายทั้งหมดเมื่อช่วงเดือนมี.ค.61 ที่ผ่านมา ระหว่างที่มีน้ำผ่านเข้าตัวฝายและไม่สามารถเก็บกักน้ำในจุดนี้ไว้ได้เลย มูลค่าการก่อสร้างในจุดนี้รวมกว่า 3 ล้านบาท
ซึ่งทางอำเภอและ อบต.วังทอง โดยนายชุมพล ยินดีผล นายอำเภอภักดีชุมพลและนายณัฐติพงษ์ วันทวี นายก อบต.วังทอง เองได้มีหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการสร้างฝายในจุดนี้ตลอดช่วงที่ผ่านมาได้ถึง กรมทรัพยากรน้ำ จ.ขอนแก่น มาแล้ว รวม 3 ครั้ง จนมาปัจจุบันก็ยังไม่มีการเข้ามาดำเนินการรับผิดชอบในจุดนี้เลย ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่เกิน 2 เดือนจากนี้ไป ก็จะหมดสัญญาค้ำประกันกับผู้รับเหมาการก่อสร้างในจุดนี้ ก็ยิ่งจะทำให้รัฐเสียงบประมาณเงินภาษีแผ่นดินของประเทศในจุดนี้โดยไม่เกิดประโยชน์อะไรเลยต้องปล่อยทิ้งอย่างนี้ไปเปล่าซ้ำอีก
ซึ่งทางชุดคณะกรรมการตรวจสอบฝายร้าว และแตกพังถล่มลงมาในครั้งนี้ทั้ง 2 แห่ง ที่มีหลายฝ่ายที่ลงพื้นที่ร่วมกันตรวจสอบในครั้งนี้ ต่างต้องพากันพูดไม่ออกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในเรื่องการออกแบบ การก่อสร้างฝายในพื้นที่ที่รู้ดีว่าสร้างไม่ได้มาตรฐาน เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็เสี่ยงที่จะไม่สามารถใช้งานได้ที่รู้อยู่แล้วว่าสร้างแล้วไม่เกิดประโยชน์ แต่ต้องทำตามงบประมาณที่มีจำกัดไปให้ได้ก่อนเท่านั้น และกลายเป็นการทำเพื่อละลายงบประมาณทิ้งไปเปล่า รวมทั้งหน่วยงานโดยเฉพาะโครงการของกรมทรัพยากรน้ำ โดยตรงที่อนุมัติงบลงมาก่อสร้างฝายในพื้นที่จ.ชัยภูมิ แต่กลับแตกพังเสียหายและบางแห่งยังใช้การไม่ได้เลย แต่ก็ยังทำเป็นเงียบ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ปล่อยให้งบประมาณแผ่นดินสูญทิ้งไปเปล่า ซึ่งเป็นเงินภาษีของคนไทยทั่วประเทศเสียทิ้งไปเปล่าเช่นนี้ต่อไปได้อีก และอยากให้ทางรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งดำเนินการตรวจสอบในเรื่องนี้ให้เด็ดขาดเสียทีด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: