X

รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเปิดโรงคัดบรรจุสับปะรดผลสด  อ่าวน้อย

 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดโรงคัดบรรจุสับปะรด ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน ประเภทสับปะรดผลสด ที่มุ่งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อการส่งออก

วันที่ 19 สิงหาคม 2561   นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดินทางมาเป็นประธานประกอบพิธีเปิดโรงคัดบรรจุสับปะรด เปิดเดินเครื่องมือ และสายการผลิต ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน ประเภทสับปะรดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่โรงคัดบรรจุสับปะรด หมู่ที่ 10 ต.อ่าวน้อย อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ โดยมีนายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้การต้อนรับพร้อมด้วย นพ.ดร.สรนิตน์ ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ,นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการกลุ่มวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ                              ,นายอัมพร  พวงพวา  ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และนางสาวพจนันท์  กองมาก  ปฏิรูปที่ดินจังหวัด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ,เจ้าหน้าที่    กลุ่มเกษตรกร  ผู้นำชุมชนร่วมในพิธีเปิด

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กล่าวว่าที่ผ่านมาภาคเอกชนเน้นการส่งออกสับปะรดกระป๋อง เป็นสำคัญ และวันนี้ก็มีปัญหาในเรื่องของราคาที่ไม่ค่อยดี  เมื่อเทียบกับการส่งออกสับปะรดผลสด ราคาจะสูงกว่า 10-15 บาท ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)ร่วมมือกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สร้างโรงคัดบรรจุสับปะรดตำบลอ่าวน้อย อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ แห่งนี้ขึ้นมา ใช้เงินลงทุน 23 ล้านบาทซึ่งเป็นผลสำเร็จของการขับเคลื่อนนวัตกรรมตามนโยบายของรัฐบาล ภายใต้โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน อันเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) กับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่มุ่งนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาสับปะรดตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง พร้อมกับการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการปรับปรุงสายพันธุ์ จัดสร้างโรงคัดบรรจุมาตรฐาน ผนวกเทคโนโลยีการทำความสะอาดผลสับปะรดผลสด การวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การแก้ไขปัญหาอาการไส้ดำในสับปะรด การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากสับปะรดพร้อมบริโภค การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมสวยงามและดึงดูดประทับใจสำหรับการส่งเสริมการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ

โดยสับปะรดกระป๋องส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ปัตตาเวีย แต่หากเป็นสับปะรดผลสด เพื่อการส่งออกก็มีการคัดเลือกสายพันธุ์ MD2  ต้องยอมรับว่าวันนี้ประสบความสำเร็จในการคัดสายพันธุ์นี้ออกมา และต้องเป็นโจทย์ต่อไปด้วยว่าจะทำอย่างไรให้สายพันธุ์นี้มีการปลูกมากเพิ่มขึ้น

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งโรงคัดบรรจุสับปะรดตำบลอ่าวน้อยแห่งนี้ นับเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการนำวิทยาศาสตร์มาใช้แก้ไขปัญหาผลผลิตทางการเกษตร เพื่อการส่งออก ที่ได้ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อย่างมั่นคงและยั่งยืน ตามนโยบายของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่นำไปสู่ประเทศไทย 4.0 และใช้นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้อย่างครบวงจร และยังส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพผลผลิตภาคการเกษตรและเศรษฐกิจชีวภาพ ให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดทั้งในและต่างประเทศ

ด้านนายอานนท์ โลดทนงค์ เลขานุการสมาคมชาวไร่สับปะรดไทย ในฐานะผู้จัดการสหกรณ์ชาวไร่สับปะรดสามร้อยยอด จำกัด กล่าวว่าการมีโรงคัดบรรจุสับปะรด ฯ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งหากมีการพัฒนาเต็มรูปแบบและจะส่งผลดีต่อเกษตรที่ต้องการผลิตสับปะรดผลสดส่งออกไปตลาดต่างประเทศ   ที่ผ่านมาเราเจอปัญหาในการส่งสับปะรดผลสดไปตลาดต่างประเทศมาแล้ว  ซึ่งในปีนี้ไปจนถึงปีหน้าทราบว่าโรงคัดบรรจุสับปะรด ฯแห่งนี้อยู่ในระหว่างการทดลอง และมีสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)   เป็นผู้ดำเนินการ   ต้องยอมรับว่า สับปะรด พันธุ์ MD-2 นั้นมีคุณสมบัติที่ดีหลายอย่าง เช่น รสชาติหวาน/กลิ่นหอม สีเนื้อเหลืองสวยงามทั้งผล รูปทรงดูดี เก็บได้นาน และทนทานต่อการเก็บรักษาในห้องควบคุมอุณหภูมิโดยไม่แสดงอาการไส้สีน้ำตาล จึงเหมาะกับการขนส่งทางเรือ และในระยะทางไกลๆ ได้ดีกว่าสับปะรดทุกพันธุ์ เหล่านี้ที่เป็นจุดแข็ง และทั่วโลกกำลังต้องการผลผลิตสับปะรดพันธุ์นี้จำนวนมาก ซึ่งถือได้ว่าโรงคัดบรรจุสับปะรด ถือได้ว่าเป็นต้นแบบ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน