ไฟป่าหมอกควันต้นเหตุของการก่อเกิดมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือซึ่งได้เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงหน้าแล้ง และเป็นปัญหาที่ได้ส่งผลกระทบมากมายเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพของพี่น้องประชาชน โดยฝุ่น PM2.5 ถือเป็นต้นเหตุในการบั่นทอนสุขภาพก่อให้เกิดโรคร้ายแรง ทั้งโรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด ภูมิแพ้ ปอด มะเร็ง หัวใจ โรคหลอดเลือดและสมอง ซึ่งปัญหาดังกล่าวทางหน่วยงานภาครัฐได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆ นำออกมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหา และหนึ่งในนั้นคือ การรณรงค์ให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัยหากมีความจำเป็นต้องปฏิบัติภารกิจนอกเคหะสถาน หรือที่โล่งแจ้ง แต่ด้วยหน้ากากอนามัยที่ส่วนใหญ่นำมาใช้จะเป็นในลักษณะแบบใช้แล้วทิ้ง โดยถือว่าหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วเป็นขยะติดเชื้ออีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องมีการกำจัดเก็บและทิ้งอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อไม่ให้หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคซึ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและสังคมส่วนรวม
ดังนั้นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัวภาคเหนือจังหวัดลำปาง ได้เอาแนวคิดนี้นำถ่ายทอดแก่เยาวชนนักศึกษา สาขางานเสื้อผ้าแฟชั่น/แฟชั่นดีไซน์ ของสถาบัน โดยนางทิพวรรณ ฝั้นกันทา และนางพิรานันท์ วานเวียง ครูพี่เลี้ยงประจำสาขางานอาชีพ ได้ร่วมกับนักศึกษาที่อยู่ในความดูแลช่วยกันออกแบบเศษผ้าและตัดเย็บ ทำเป็นผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยชนิดแบบผ้า ที่สามารถซักล้างและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยหน้ากากอนามัยที่ทางศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีฯ จัดทำขึ้นจะมีการใช้เศษผ้าถึงสามชนิดประกบเข้าด้วยกัน ทั้งผ้าฝ้ายชินมัย ผ้าสาลู ผ้าสักหลาด และด้วยความหลากหลายของกลุ่มนักศึกษาที่ทำการตัดเย็บ ซึ่งล้วนแต่เป็นเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์จากหลายชนเผ่า รวมกว่า 11 ชนเผ่า จึงทำให้หน้ากากอนามัยที่ผลิตได้บางส่วนจะมีความแตกต่างจากหน้ากากอนามัยทั่วไป เนื่องจากนักศึกษาได้ทำการปักลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ประจำชนเผ่าลงไปบนเนื้อผ้าด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ผู้ตรวจฯกระทรวงพาณิชย์ ลงตรังเยี่ยมแปลงปลูกพริกไทยตรัง-สุราชุมชน ผู้ผลิตต่อยอดสินค้า GI "พริกไทยตรังพันธุ์ปะเหลียน สู่มาตรฐาน EU organic…
- ผู้กำกับ สภ.บางเสาธง เชิญตัวคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่รถชนกันแล้วมีอ้างรู้จักตำรวจ
- ชัยภูมิเตรียมเป็นเจ้าภาพจัดใหญ่งานวันการศึกษาเอกชนภาคอีสาน!
- "ตรังโมเดล" โกโก้สร้างรายได้ให้เกษตรกร กิโลกรัมละ 8 บาท ภาคเกษตร-เอกชนร่วมมือเปิดจุดรับซื้อ 11 แห่ง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: