นครพนม – วันที่ 23 ส.ค.61 สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครพนมกลับมาวิกฤตอีกครั้ง ส่วนหนึ่งจากมีฝนตกทางภาคเหนือของไทย และยังมีปัจจัยภายนอก เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านปล่อยน้ำในเขื่อนลงมาสมทบกับแม่น้ำโขง จนทำให้จังหวัดที่อยู่ติดลุ่มแม่น้ำโขงได้รับผลกระทบ ตั้งแต่จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร และอุบลฯ เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) บ้านห้อม ต.อาจสามารถ อ.เมือง สายน้ำมีความเชี่ยวกรากมาก ผู้เลี้ยงปลาในกระชังแถวนั้นบอกว่าน้ำขึ้นเร็วและไหลแรง โชคดีที่รีบจับปลาในกระชังออกขายก่อน ไม่เช่นนั้นสภาพน้ำเพิ่มสูงมีสีขุ่นแดง ออกซิเจนในน้ำมีน้อยปลาจะน็อคน้ำตายวันละหลายสิบกิโล
ข่าวน่าสนใจ:
- ม.นครพนม จัดประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 19 ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการ AI and Soft Power ในการบริหารภาครัฐ”
- กู้ภัยเร่งช่วยชีวิตหนุ่มขับรถกระบะตกคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ
- นายกเทศบาลตำบลนาคำ แจงเหตุต้องระงับเพลิงล่าช้า จากกรณีเหตุเพลิงไหม้บ้านพักอาศัยของชาวบ้าน
- นครพนม : กองทัพบก ร่วมกับ Kubota มอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน มอบเสื้อกันหนาวให้ชาวนครพนม ตามโครงการ "คูโบต้า พลังใจ สู้ภัยหนาว" ปี 2567
จากรายงานของโครงการชลประทานฯ สถานีตรวจวัดชุมชนหนองแสง เขตเทศบาลเมืองนครพนม แจ้งว่าระดับน้ำในแม่น้ำโขงใน เวลา 07.00 น. มีระดับอยู่ที่ 12.06 เมตร เพิ่มขึ้นจากตอนเช้าวานนี้ถึง 14 ซม. ต่ำกว่าระดับวิกฤตเพียง 94 เมตร
ทางด้านประตูระบายน้ำน้ำอูน อ.ศรีสงคราม ซึ่งอยู่โซนเหนือ เวลา 06.00 น.
ระดับน้ำเหนือน้ำ-ท้ายน้ำอยู่ที่ 145.95 เมตร สถานการณ์ระบายน้ำเพิ่มขึ้นจากวานนี้ 15 ซม. ขณะที่ สถานีตรวจวัดแม่น้ำสงคราม ต.หาดแพง อ.ศรีสงคราม เวลา 07.00 น. ระดับน้ำ 13.84 เมตร เพิ่มขึ้นจากเมื่อวานเวลาเดียวกัน 17 ซม. ต่ำกว่าระดับตลิ่งเพียง 66 ซม. โดยมวลน้ำบางส่วนไหลเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรและพื้นที่การเกษตร ได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง
กรมอุตุนิยมวิทยา เผยว่ามีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม อุดรธานี กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: