นครพนม – พินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี มอบชุด PPE อุปกรณ์สำคัญทางการแพทย์ ป้องกันติดเชื้อโควิด 19 นายก อบจ.นครพนม ส่งมอบต่อ รพ.ฯ
วันที่ 21 มีนาคม 2563 เวลา 12.00 น. บริเวณหน้าตึกอำนวยการโรงพยาบาลนครพนม ดร.สมชอบ นิติพจน์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม(อบจ.ฯ) ได้รับมอบชุดPPE (Personnel Protective Equipment) หรือเรียกว่า อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล จำนวน 150 ชุด จาก ร.ต.อ.นิยม สุริหาร ผู้แทนของนายพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีกหลายกระทรวง ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีน และส่งเสริมความสัมพันธ์ เพื่อมอบต่อให้กับโรงพยาบาลนครพนม นำไปใช้ในการตรวจผู้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 โดยมี นพ.กิตติศักดิ์ ฐานวิเศษ รอง ผอ.รพ.นครพนม ด้านการแพทย์ จ.อ.ทวี คุณรัตน์ รอง ผอ.รพ.นครพนม ด้านบริหาร พร้อมด้วย นายสมเกียรติ ศิริตัน ปลัด อบจ.นครพนม รับมอบอุปกรณ์ดังกล่าว
นพ.กิตติศักดิ์ฯ เปิดเผยว่าชุด PPE คืออุปกรณ์ที่แพทย์หลายจังหวัดขาดแคลน โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส วิธีหนึ่งในการป้องกันการติดเชื้อ คือ การใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น ชุดป้องกัน ถุงมือ หน้ากาก และแว่นตา เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของผู้ปฏิบัติงาน ตนในฐานะตัวแทนแพทย์จึงขอขอบคุณนายพินิจ จารุสมบัติ เป็นอย่างสูง มีมองเห็นความเสี่ยงติดเชื้อฯของบุคลากรทางการแพทย์ และชุด PPE นี้ ใช้ได้เพียงครั้งเดียวต่อผู้ป่วย 1 คน สมมุติใน รพ.ฯ มีผู้ป่วย 5 คน ก็ต้องสวมใส่ 5 ชุด ไม่ใช่สวมชุดเดิมออกจากห้องนั้นแล้วมาตรวจห้องนี้
ข่าวน่าสนใจ:
- ประชาชนแห่ เสกเหรียญหลวงปู่คำไหล ในพระมหาเจดีย์วัดดัง แห่ตีเลขน้ำตาเทียน หลังสาธุชนนับพันแห่ร่วมพิธี
- นครพนมเดือดร้อน! แม่ค้าหวยร้องไห้ รถจักรยานยนต์พร้อมลอตเตอรี่เกือบ 600 ใบถูกขโมย วอนคนร้ายนำมาคืน
- นายกเทศบาลตำบลนาคำ แจงเหตุต้องระงับเพลิงล่าช้า จากกรณีเหตุเพลิงไหม้บ้านพักอาศัยของชาวบ้าน
- ม.นครพนม จัดประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 19 ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการ AI and Soft Power ในการบริหารภาครัฐ”
ด้าน ร.ต.อ.นิยม สุริหาร ผู้แทนของอดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า นายพินิจ จารุสมบัติ เผยกับผู้ใกล้ชิดเสมอว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลายคนห่วงแต่ประชาชน แต่ไม่เคยนึกถึงบุคลากรทางการแพทย์กลุ่มนี้ หากคณะแพทย์ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อป่วย แล้วจะมีแพทย์ที่ไหนมารักษาคน จึงต้องป้องกันแพทย์ให้ปลอดภัยด้วย สำหรับชุด PPE ได้รับบริจาคมาจากประเทศจีน โดยจะนำไปมอบให้กับโรงพยาบาลในแถบภาคอีสานอีกหลายแห่ง เพราะท่านทราบดีว่าชุดดังกล่าวมีความขาดแคลนสูงมาก
ความเป็นมาของ PPE (พีพีอี) ที่ใช้ในเมืองไทย เริ่มขึ้นเมื่อ 16 ปีที่ผ่านมา กล่าวคือในปี 2547 ประเทศไทยเกิดโรคติดต่ออุบัติใหม่ คือ “ไข้หวัดนก” และโรคอุบัติใหม่อื่นๆ ต่อมา คือ เมอร์ส ซาร์ส นิปาห์ เฮนดร่า อีโบล่า กระทั่งล่าสุด ‘โคโรน่าไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2019’ ที่เริ่มขึ้นปลายเดือน ธ.ค. 62
เชื้อโคโรน่าไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2019 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม(สสจ.ฯ) เปิดเผยว่าสามารถแพร่ติดต่อผ่านละอองน้ำมูกน้ำลาย จากการไอจามในระยะ 1 เมตร การใส่หน้ากากอนามัยป้องกันโรค และพฤติกรรมสุขอนามัยที่ดี คือ กินร้อน ช้อนกลาง หมั่นล้างมือเป็นสิ่งเพียงพอสำหรับบุคคลทั่วไป แต่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์แล้วการใส่หน้ากากอนามัยนั้นยังไม่เพียงพอ
การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อดูแลผู้ป่วยที่สงสัยจะติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 จำเป็นต้องใช้ ชุดอุปกรณ์ป้องกัน (PPE) พีพีอี หรือ Personal Protective Equipment เป็นอุปกรณ์ป้องกันและคุ้มครองความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ติดต่อโรค ซึ่งเป็นไปตามหลักองค์การอนามัยโลก
ชุด PPE เพื่อป้องกันการติดเชื้อโคโรน่าไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่บุคลากรทางการแพทย์ของไทยจะใช้ในกรณีแพทย์เข้าไปตรวจดูคนไข้ที่เป็นโรค หรือมีประวัติเสี่ยง ซึ่งต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน (PPE) ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโรค อันประกอบด้วย1. ชุดกาวน์รัดคลุมศีรษะ 2. หน้ากาก N95 3. แว่นตา และ 4. ถุงมือ หากต้องการทำหัตถการคนไข้ คือการรักษาผู้ป่วยโดยใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่ร่างกายผู้ป่วย เช่น เจาะเลือด ทำแผล ให้น้ำเกลือ การฉีดยา เป็นต้น จะมีเครื่องป้องกันเพิ่ม คือ กระบังป้องกันใบหน้า (face shield)
“แพทย์ต้องสวมเครื่องป้องกันมาก เพราะต้องตรวจคนไข้อย่างใกล้ชิดมาก เวลาทำหัตถการบางอย่างเช่น พ่นยา การดูดเสมหะ จะมีละอองฝอยฟุ้งกระจายจึงจำเป็นต้องใส่หน้ากาก face shield ป้องกันละอองฝอยฟุ้งเข้าตา” ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้านโรคติดต่อ กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: