X

ควรจำอะไร เมื่อเจอเหตุร้าย

ควรจำอะไร เมื่อเจอเหตุร้าย  สรุปสาระสำคัญจาก “คู่มือคำแนะนำเบื้องต้นในการป้องกันการก่อการร้าย” โดย สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเกี่ยวกับภัยคุกคามข้ามชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

เพื่อเผยแพร่ต่อประชาชนและบุคคลทั่วไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความร่วมมือ ในการมีส่วนร่วมภาคประชาชนช่วยจดจำสังเกตบุคคล ยานพาหนะ ช่วยเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจถึงหลักการจดจำบุคคล และยานพาหนะ เพื่อมีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นคงและปลอดภัยให้แก่ชุมชนของตน

ภัยจากการก่ออาชญากรรม หรือการก่อเหตุรุนแรงโดยอาชญากร เป็นภัยต่อความมั่นคงแห่งชาติ ทำให้สังคมเกิดความไม่สงบเรียบร้อยและไม่ปกติสุข ประชาชนทุกคนควรได้ตระหนักถึงความมั่นคงของประเทศ และสามารถช่วยเหลือประเทศชาติ

โดยร่วมกันระวังภัยที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ผิดปกติ หรือการพบเห็นการกระทำผิดของเหล่าอาชญกร แล้วแจ้งให้เจ้าหน้าที่ ผู้บังคับใช้กฎหมายทราบเพื่อตรวจสอบติดตามทั้งก่อนที่จะเกิดเหตุ หรือหลังเกิดเหตุ เพื่อติดตามจับกุมเหล่าอาชญากร มารับโทษตามกฎหมาย ไม่ให้มีโอกาส ลงมือก่อเหตุอาชญากรรมอีก

ทำไมต้องเข้ามามีส่วนร่วม ประชาชนทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องชุมชนของตน ให้พ้นจากภัยจากเหล่าอาชญากร เนื่องจากการก่ออาชญากรรมส่งผลกระทบต่อทุกคน และการเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องชุมชนของเรา เป็นสามัญสำนึกที่ทุกคนมีอยู่แล้ว ความแตกต่างอยู่ที่ “ท่านเลือกจะอยู่เฉยหรือก้าวเข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องและสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับชุมชนของท่าน”

คำแนะนำในการสังเกต เพื่อป้องกันชุมชนจากการก่ออาชญากรรม พึงระลึกว่าอาชญากรผู้ก่ออาชญากรรม ไม่ได้ปราศจากจุดอ่อน ผู้ก่อการร้ายเองก็มีจุคอ่อน การก่ออาชญากรรมเป็นผลจากการกระทำของ “คน” ทั้งสิ้น

โดยมีสิ่งอื่นๆ เช่น รถยนต์ สถานที่ เป็นองค์ประกอบ ประชาชนจึงมีโอกาสพบเห็นบุคคลต้องสงสัย และการกระทำต้องสงสัยได้มากกว่า เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการก่ออาชญากรรมต่างๆ ประชาชนและเจ้าหน้ที่บังคับใช้กฎหมายต้องร่วมมือกันทุกวิถีทาง เพื่อรักษาความสบเรียบร้อยของสังคม ชุมชน และประเทศให้คงอยู่ตลอดไป

คำแนะนำต่อไปนี้เป็นการแนะนำวิธีสังเกตบุคคล ยานพาหนะ เพื่อเป็นแนวทางในการสังเกตและจดจำ เพราะหากท่านสามารถสังเกตและจดจำรายละเอียดได้มาก โอกาสในการจับกุมคนร้าย ตลอดจนปกป้องชุมชนของเราก็มีมากขึ้น

หลักการและวิธีสังเกตและการจดจำบุคคล สังเกต จดจำ และรายงานในรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้หรือเปลี่ยนแปลงได้ยาก สังเกตและจดจำจากสิ่งที่ใหญ่ เห็นได้ง่าย ไปสู่สิ่งที่เล็ก สังเกตุได้ยาก สังเกตและจดจำจากลักษณะเด่น ตำหนิ ไปสู่ลักษณะธรรมดาทั่วไป อย่าพยายามจดจำทุกอย่าง แต่ให้จดจำเฉพาะสิ่งที่จดจำได้อย่างแม่นยำ

สิ่งที่จดจำได้ง่ายและควรจดจำก่อน 1.เพศ ชายหญิงหรือเพศที่สาม 2.วัย วัยรุ่นผู้ใหญ่วัยชราหรืออายุโดยประมาณ 3.รูปร่าง สูงเตี้ยล่ำสันใหญ่เล็กอ้วนผอมบางสันทัด 4.สีผิว ขาวเหลืองดำซีดเปล่งปลั่งเหี่ยวย่นตกกระ

5.เชื้อชาติ สังเกตจากใบหน้าเช่นไทยจีนแขกฝรั่งลูกครึ่ง 6.รูปหน้า รูปไข่กลมยาวเหลี่ยม 7.สีผม หรือทรงผม ดำน้ำตาลทองหงอกหยิกสั้นยาวตรงหรือหวีแสกอย่างไร

8.ตา เล็กพองโตโปนจิกหรี่ปรือตาชั้นเดียวตาเขตาเหล่สายตาสั้นใส่แว่นสีอะไร 9.คิ้ว ดกบางเรียวโค้งตรง 10.ปากกว้าง แคบใหญ่ริมฝีปากหนาหรือบาง 11.หู ยาวใหญ่เล็กดิ่งหูแหลม

สิ่งที่เป็นจุดเด่น ผิดปกติ หรือตำหนิที่จดจำได้ง่าย 1.แผลเป็น หรือตำหนิบนใบหน้ามีไฝปานหูดเนื้อติ่งลักษณะอย่างไร 2.แผลเป็นมีลักษณะอย่างไร ขนาดเท่าใด อยู่ส่วนไหนของร่างกาย 3.ลายสัก รูปอะไรสีอะไรอยู่ส่วนไหนของร่างกาย 4.พิการ ตาบอดหูหนวกเป็นใบ้แขนขาด้วนลีบปากเบี้ยว

5.ท่าเดิน เดินตัวตรงตัวเอียงเร็วช้าขากะเผลก 6.สำเนียงการพูด พูดช้าหรือเร็วติดอ่างสำเนียงไทยจีนฝรั่งหรือสำเนียงท้องถิ่น 7.กริยาอาการที่ทำบ่อย สูบบุหรี่จัดเอามือปิดปากล้วงกระเป้า 8.การแต่งกาย จดจำเสื้อกางเกง เช่น แขนสั้นยาวขาสั้นยาวแบบของเสื้อกางเกงเช่นยีนเสื้อยืดเสื้อเชิ้ตเครื่องแบบสีลายรองเท้าที่สวมเป็นชนิดสีและแบบใด

9.เครื่องประดับ เครื่องประดับที่เห็นได้ชัดเช่นแว่นตานาฬิกาแหวนสร้อยกระเป๋าถือกระเป๋าสะพาย  10. กรณีที่คนร้ายพรางใบหน้าเช่นสวมแว่นกันแดดสวมหมวกกันน็อกสวมหมวกสวมหน้ากากคลุมศีรษะด้วยถุงให้จดจำสิ่งที่ใช้พรางและจดจำส่วนอื่นๆของร่างกายที่ไม่ได้พรางดังที่กล่าวมาแล้ว

หลักการสังเกตและจดจำ ยานพาหนะ สังเกตและจดจำจากสิ่งที่ใหญ่ พบเห็นได้ง่าย ไปสู่สิ่งที่เล็ก พบเห็นได้ยาก สังเกตและจดจำตำหนิ รอยขีดข่วน สติ๊กเกอร์ จุดเด่นต่างๆ สังเกตและจดจำ ลักษณะเด่น ตำหนิ ไปสู่ลักษณะธรรมคาทั่วไป อย่าพยายามจดจำทุกอย่าง แต่ให้จดจำเฉพาะสิ่งที่จดจำได้อย่างแม่นยำ อย่าถามผู้อื่นว่าเห็นอะไรเมื่อคนร้ายหลบหนีไปแล้ว แต่ให้รีบบันทึกตำหนิรูปพรรณที่ท่านพบเห็นลงในสมุด หรือกระคาษโดยทันที

สิ่งที่จดจำได้ง่าย และควรจดจำก่อนเกี่ยวกับยานพาหนะ1.ประเภทรถ เช่น รถจักรยานยนต์ รถก๋งส่วนบุคคล รถยนต์แท็กซี่สาธารณะ รถบรรทุก รถบิ๊กอัพ รถสามล้อเครื่อง รถจิ๊ป ฯลฯ 2.สีของรถ เป็นรถสีใด บริเวณใด เป็นสีชนิคธรรมคา ลูไซท์ ฯลฯ 3.ความเก่า-ใหม่ของยานพาหนะ

4.ยี่ห้อ เป็นรถยี่ห้อใด รุ่นปี พ.ศ.ใด (ลองฝึกดู และจดจำยี่ห้อของยานพาหนะต่างๆ) 5.หมายเลขทะเบียน ดูได้จาก แผ่นป้ายทะเบียน ให้จดจำ ทั้งตัวอักษร และหมายเลข ถ้าเป็นรถต่างจังหวัดให้จดจำชื่อจังหวัดไว้ด้วย

แผ่นป้ายทะเบียนรถ ประเภทต่างๆ จะแตกต่างกันไป เช่นรถเก๋งส่วนบุคคล แผ่นป้ายทะเบียนเป็นสีขาว ตัวเลขและตัวอักษร เป็นสีดำ (เป็นป้ายของทางราชการ) ติดทั้งหน้าและหลังรถ รถแท็กซี่ แผ่นป้ายทะเบียนสีเหลือง ตัวเลข ตัวอักษรสีดำติดทั้งข้างหน้าและหลังรถ รถจักรยานยนต์ แผ่นป้ายทะเบียนสีขาว ตัวเลข ตัวอักษรสีดำ ติดด้านเดียว

อนึ่ง ในการสังเกตแผ่นป้ายทะเบียนพยายามสังเกตด้วยว่าเป็นป้ายที่ติดไว้อย่างหลวมหรือติดไว้แน่นหนา หรือมีการพรางเลขทะเบียนของแผ่นป้ายนั้นๆ หรือไม่(ปัจจุบันคนร้ายมักใช้แผ่นป้ายทะเบียนปลอม หรือมีการพรางเลขหมายทะเบียนให้ผิดไปจากความจริง)

สิ่งที่เป็นตำหนิรอยขีดข่วนที่เห็นได้ชัด 1.ตำหนิ เช่น กระจกแตก สีลอก มีรอยเจาะที่ตัวถังของรถ ฯลฯ 2.รอยขีดข่วน รอยบุบ รถมีรอยถูกชนบริวณใค มากน้อยเพียงใด มีรอยบุบที่ใด 3.จุดเด่น เป็นรถที่แต่งเพื่อใช้แข่งขัน มีเสาอากาศ ติดอุปกรณ์พิเศษต่างๆ ฯลฯ 4.สติ๊กเกอร์ ฟิล์มติดสติ๊กเกอร์ไว้ในบริเวณใด เป็นรูปหรือเครื่องหมาย หรือข้อความใดมีติดฟิล์มกรองแสงมาก-น้อยอย่างไร และที่ใด

5.แผ่นป้าย ที่ติดกับกระจกด้านหน้า ได้แก่ แผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษี แผ่นป้ายผ่านเข้า-ออก ของสถานที่ต่างๆ แผ่นป้ายแสดงสิทธิพิเศษต่างๆ เช่น การจอดรถการประกันภัย ฯลฯ ถ้าพบเห็นให้จดจำไว้ด้วย 6.จดจำว่า เสียงของเครื่องยนต์ หรือแตรเป็นอย่างไร เนื่องจากรถยนต์บางประเภทมีเสียงเครื่องยนต์ หรือเสียงแตรเฉพาะตัว เสียงของรถแข่ง รถปกติ รถสามล้อหรือรถจักรยานยนต์ ย่อมแตกต่างกัน บางครั้งเพียงแค่เสียงก็อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นยานพาหนะอะไร ทั้งนี้ ต้องอาศัยความชำนาญพอสมควร

การสังเกตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยสรุป รถยนต์ หมายเลขทะเบียนรถ ตำแหน่งที่ติด ประเภทของรถเก๋ง รถกระบะ รถบรรทุก สีรถ สติ๊กเกอร์ที่ตกแต่ง ยี่ห้อรถ และรุ่น ตำแหน่งป้ายวงกลม ป้ายผ่านเข้า-ออกสถานที่ส่วนบุคคล ตำแหน่งเสาวิทยุโทรทัศน์ ชนิดไฟท้าย รูปลักษณะสิ่งประดับ เช่น แขวนหน้ารถ ข้างหน้า

รถจักรยานยนต์ เลขทะเบียน ตำแหน่งที่ติด ประเภทของรถ เช่น วิบาก เป็นรถผู้หญิง สีรถ สติ๊กเกอร์ที่ตกแต่ง ยี่ห้อ รุ่น ไฟท้าย บังโคลน ท่อไอเสีย แบบและเสียง

ข้อมูลจาก คู่มือคำแนะนำเบื้องต้นในการป้องกันการก่อการร้าย สำนักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเกี่ยวกับภัยคุกคามข้ามชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

77ข่าวเด็ด ประจำจังหวัดน่าน เรียบเรียง/รายงาน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of ไชยรัตน์ รัตสิมวงศ์

ไชยรัตน์ รัตสิมวงศ์

ลูกเป็ด เฝ้าน่าน