เพชรบูรณ์-สำรวจฟอสซิลแหล่งฯบ้านโภชน์ ยุคเพอร์เมียน อายุ 280-240 ล้านปี บางชนิดไม่เคยพบมาก่อน ส่งผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศตรวจสอบ หลังศึกษาวิจัยแล้วเตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว จ่อชง ครม.สัญจรที่เพชรบูรณ์ ผลักดันเป็นจีโอปาร์คระดับประเทศ-โลก
วันที่ 9 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจ้งหวัดเพชรบูรณื พร้อมทีมอุทยานธรณีวิทยาเพชรบูรณ์ ลงพื้นที่สำรวจแหล่งซากดึกดำบรรพ์บ้านโภชน์ ในเขตพื้นที่ 3 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 6 บ้านซับเดื่อ, หมู่ที่ 7 บ้านเนินสวรรค์, และหมู่ที่ 8 บ้านซับชมภู ตำบลบ้านโภชน์ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โดยมีนายสุกิจ เพ็ญภาค รองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านโภชน์พร้อมคณะนำสำรวจแหล่งฟอสซิลรวม 5 จุด ซึ่งพบซากฟอสซิลเป็นสัตว์เซลเดียวและปะการังในหินปูน อาทิ หอยตะเกียงหรือแบรคิโอพอด(Brachiopod), ไบรโอซัว(Bryozoa), แกรปโตไลต์(Graptolite), ปะการัง(Coral), นอติลอยด์(Nautiliod), ไครนอยด์(Crinoid), แอมโมนอยด์(Ammonoid), เซฟาโลพอด(Cephalopods), หอยกาบคู่/หอยสองฝา, ฟอสซิลของสัตว์ขนาดเล็ก(Micro fossils), หอยงวงช้าง, หอยเจดีย์, พลับพลึงทะเล ฯลฯ อยู่กระจัดกระจายและมีอยู่อย่างหนาแน่นเต็มพื้นที่
นอกจากนี้ที่สำคัญฟอสซิลบางชนิดท่พบจากการสำรวจในครั้งนี้ คณะนายวิศัลย์ถึงกับต้องแสดงความแปลกใจและแสะงอาการสุดทึ่ง เนื่องจากในการค้นคว้าหรือสืบค้นข้อมูลบางชนิดไม่มีอยู่ในรายงานการค้นพบมาก่อน ซึ่งก่อนหน้านี้นายวิกิจได้นำภาพถ่ายฟอสซิลแปลกๆเหล่านี้ ส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญกรมทรัพยากรธรณีวิทยาตรวจสอบในเบื้องต้น ก็ได้รับแจ้งว่าไม่เคยพบเห็นในรายงานทางวิชาการมาก่อนเช่นกัน จากนั้นยังได้นำภาพตัวอย่างฟอสซิลดังกล่าวส่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศทำการตรวจสอบ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลการตรวจสอบเช่นกัน ส่วนแหล่งซากดึกดำบรรพ์(ฟอสซิล)บ้านโภชน์แห่งนี้คาดว่า เป็นยุคเพอร์เมียนอายุเก่าแก่ราว 280-240 ล้านปี และเป็นแหล่งคล้ายแหล่งซากดึกดำบรรพ์(ฟอสซิล)ภูน้ำหยด อ.วิเชียรบุรี ที่มีการค้นพบก่อนหน้านี้ด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- สาวพลัดตกชั้น 3 อาคารพาณิชย์กลางพัทยา คาดเสพยาจนหลอน เจ็บหนัก
- กุศลยิ่งใหญ่ ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 50 ปี บริจาคไต 2 ข้าง ดวงตา 2 ข้างช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์
- เพชรบูรณ์ - ผู้การตำรวจฯย้ำ! แผนรับมือ"ทริปน้ำไม่อาบ" เน้นบังคับใช้กฎหมายหากพบทำผิด
- เพชรบูรณ์-มาตามนัด! ชาวบ้านบ่นอุบทริปน้ำไม่อาบ ซิ่งจยย.เสียงดังกระหึ่ม แกนนำทริป"วางโลงศพ-พวงหรีด"โชว์เกาะกลางถนน
ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญกรมทรัพยากรธรณีวิทยาได้ลงพื้นที่ทำการตรวจสอบ พร้อมสันนิษฐานว่าแหล่งฟอสซิลทั้งสองแหล่งดังกล่าว เคยเป็นก้นมหาสมุทรดึกดำบรรพ์หรือทะเลเทติสมาก่อน โดยเกิดจากการสะสมของหินปูนใต้ทะเล แต่หลังเกิดปรากฎการณ์เปลือกโลกอินโดไชน่า-ฉานไทย ยกตัวสูงขึ้น ทำให้แหล่งตะกอนหินปูนบริเวณนี้แตกกระจายออกแล้วไหลมากองรวมกัน จากนั้นและมีการจับตัวเชื่อมประสานกัน จนทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยาในเวลาต่อมา
นายวิกิจ เพ็ญภาค กล่าวว่า เมื่อปี 2507 มึนักบรรพ์ชีวินเข้ามาสำรวจหาซากดึกดำบรรพ์ บริเวณเชิงเขาใกล้ๆกับน้ำตกซับชมภูในพื้นที่หมู่ที่ 8 (บ้านซับชมภู) พบหอยตะเกียงสายพันธุ์ใหม่ของโลกจำนวน 2 สายพันธุ์ และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามแหล่งที่ค้นพบคือ มาร์จินิเฟอรา บ้านโภชน์เอนซิส (Marginifera banphotensis) และ ออร์โธเททินา เพชร์บูรณ์เอนซิส(Orthotetina phetchabunensis) หลังจากนั้นก็ไม่มีการสำรวจเพิ่มเติมอีก กระทั่งล่าสุดทางจังหวัดฯประกาศให้แหล่งฟอสซิลแห่งนึ้เป็น 1 ในอุทยานธรณี จึงทำให้คนในพื้นที่กิดความตื่นตัวจนสำรวจกันเพิ่มเติม โดยไม่คาดคิดว่าจะมีฟอสซิลหนาแน่นและหลากหลายขนาดนี้
นายวิกิจกล่าวว่า เนื่องจากพบแหล่งฟอสซิลกระจายเป็นกลุ่มๆครอบคลุมพื้นที่ 3 หมู่บ้าน เนื้อที่ราว 40,000 ไร่ เพียงแต่ว่าจุดไหนจะมีฟอสซิลชนิดไหนมากหรือน้อยและสำคัญหรือไม่ ทางเทศบาลตำบลบ้านโภชน์ซึ่งเห็นถึงคุณค่าและความสำคัญ จึงได้ประกาศกันพื้นที่ทั้งหมดโดยอาศัย พ.ร.บ.คุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ ห้ามไม่ให้มีการขนย้ายฟอสซิลเหล่านี้ออกไป จากนั้นประสานไปทางกรมทรัพย์ฯเพื่อของบฯจัดทำโครงการสำรวจวิจัย ซึ่งทราบว่าผ่านการอนุมัติแล้วและจะเริ่มดำเนินการสำรวจเดือนต.ค.นี้เป็นต้นไปโดยใช้ระยะเวลา 1 ปี เพื่อจะจำแนกชนิดของฟอสซิลเป็นสัตว์ชนิดไหนบ้าง และจำแนกชนิดหินรวมทั้งชั้นหิน รวมทั้งให้การศึกษาแก่ประชาชนและเยาวชนในท้องถิ่น
“ก่อนหน้านี้ผมพยายามเดินสำรวจแหล่งฟอสซิลจนครอบคลุมพื้นที่ 3 หมู่บ้าน พร้อมถ่ายบันทึกภาพเก็บเป็นข้อมูล จากนั้นไปสืบค้นข้อมูลเพื่อค้นคว้าศึกษาตามเว็บไซต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหมือนกับเรามีสัตว์ดึกดำบรรพ์เฉพาะท้องถิ่นอยู่ที่นี่ ซึ่งที่อื่นไม่มีตอนนี้ก็รอทางผู้เชี่ยวชาญจากกรมทรัพย์เข้ามาสำรวจวิจัยอย่างละเอียดอีกครั้ง”นายวิกิจกล่าวและย้ำว่า”หลังการสำรวจและศึกษาแล้วทางเทศบาลฯมีแผนจะผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งของจังหวัด และเป็นการจัดการท่องเที่ยวของคนในชุมชนเพื่อให้มีรายได้ โดยคาดการณ์ว่าในระยะ 1-2 ปีก็คงจะพร้อม
ด้านนายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ กล่าวว่า ในการสำรวจครั้งนี้พบซากฟอสซิลมากมาย และเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์นานาชนิด ถือเป็นการค้นพบที่ค่อนข้างมหัศจรรย์มาก ซึ่งทางจังหวัดฯมีแผนจะเสนอรวมให้เป็นแหล่งธรณีวิทยาระดับประเทศ และแหล่งอุทยานธรณีของโลกในอันดับต่อไป โดยวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยวคือ ชาวบ้านจะต้องอยู่กับธรรมชาติและช่วยกันรักษาอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งน่ายินดีที่องค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่มีตระหนักและเห็นถึงคุณค่า ทำให้เกิดความตื่นตัวและมีการสำรวจจนพบซากฟอสซิลมากมายและมีความหลากหลาย บางชนิดแปลกใหม่จนต้องรอผู้เชี่ยญชาญตรวจสอบ
“สำหรับข้อมูลเบื้องต้นสำหรับแหล่งซากดึกดำบรรพ์บ้านโภชน์ สันนิษฐานอยู้ในยุคเพอร์เมียน อายุ 280-240 ล้านปี น่าจะเป็นยุคเดียวกับแหล่งซากดึกดำบรรพ์ภูน้ำหยด วิเชียรบุรี เพียงแต่สัตว์ดึกดำบรรพ์ในแหล่งนี้จะมีความหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นพลับพลึงทะเล หอยตะเกียง สัตว์เซลเดียวและปะการัง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่มีสิ่งเหล่านี้อยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ทางจังหวัดและทีมงานจะพยายามผลักดันให้เป็นแหล่งธรณีวิทยาระดับประเทศและระดับโลกในโอกาสต่อไป”นายวิศัลย์กล่าว
ข่าวแจ้งว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)สัญจร ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 17-18 ก.ย.นี้ ทางจังหวัดเพชรบูรณ์ได้เตรียมนำเสนอเรื่องอุทยานธรณีวิทยา(จีโอปาร์ค)เข้าสู่วาระการประชุม ครม.เพื่อผลักดันให้เป็นอุทยานธรณีวิทยา(จีโอปาร์ค)ระดับประเทศและเป็นระดับโลกในโอกาสต่อไปอีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: