นิเทศศาสตร์ มสธ.จับมือเทศบาลเมืองทุ่งสงพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต รุกศาสตร์ทางด้านการสื่อสารเพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารผลการดำเนินงานของเทศบาลด้วยความรู้ความเข้าใจพร้อมเปิดพื้นที่สร้างกระบวนการมีส่วนจากเครือข่ายภาคประชาชนในพื้นที่ร่วมสื่อสารพัฒนาท้องถิ่นสู่ความยั่งยืน
ความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยสาขานิเทศศาสตร์ หลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองส่วนท้องถิ่น และเทศบาลเมืองทุ่งสง ได้จับมือกันเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ภาคประชาชนในชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ การพัฒนาศัยกภาพของเจ้าหน้าที่ส่วนงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายภาคประชาชนภายใต้กิจกรรมการพัฒนาการพัฒนารูปแบบการสื่อสารผลการดำเนินงานของเทศบาลเมืองทุ่งสงล่าสุดเมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 ที่ผ่านมาเพื่อร่วมกันพัฒนาการเรียนรู้ด้านการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจการพัฒนาเมืองด้านต่าง ๆ ของเทศบาลเมืองทุ่งสงแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว ผู้จัดการโครงการพัฒนารูปแบบการสื่อสารผลการดำเนินงานของเทศบาลเมืองทุ่งสง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชการ ในฐานะประธานหลักสูตรนวัตกรรมการสื่อสารการเมืองการปกครองท้องถิ่น สาขานิเทศศาสตร์ (อดีตรองอธิการบดีและคณบดีคณะนิเทศศาสตร์มสธ.) และที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาการสื่อสารการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เปิดเผยว่า การสื่อสารผลการดำเนินงานทางการปกครองท้องถิ่น เป็นการเผยแพร่ผลงาน หรือผลการดำเนินงานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นตามภารกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฏหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
“การสื่อสารผลการดำเนินงานมีความจำเป็นต้องดำเนินการอย่างน้อย 3 ประการ ประการแรกตามกฏหมายบัญญัติไว้ให้ดำเนินการสื่อสารต่อสภาท้องถิ่น และประชาชน ประการที่สองเพื่อเผยแพร่ผลงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบกันอย่างแพร่หลายหรือนำเสนอผลงานต่อประชาชน ว่าสามารถแก้ปัญหา หรือเป็นที่ถูกใจของประชาชนทำให้ประชาชนมีความพึงพอใจและนิยมผู้บริหารท้องถิ่น ประการที่สามเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี”
รศ.ดร.วิทยาธร ย้ำว่า การพัฒนารูปแบบการสื่อสารในกิจกรรดังกล่าวเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ส่งสารโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องในงานด้านการสื่อสารขององค์กรตลอดจนภาคประชาชนในแต่ละชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้รูปแบบการสื่อสาร ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในฐานะผู้ส่งสารและผู้รับสาร ในยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ต่าง ๆ จะต้องมีทักษะความรู้ความสามารถและทัศนคติที่ดี มีความเข้าใจในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม มีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านเนื้อหารสาระ มีความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อต่างๆ ทั้งสื่อดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็นสื่อบุคคล สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ รถแห่เคลื่อนที่ และสื่อใหม่ในสังคมออนไลน์ ทั้งเพจ เฟชบุ๊ก แอพพลิเคชั่นไลน์ โดยเฉพาะการใช้สื่อใหม่ซึ่งเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเท่าทันการนำมาประยุกต์ใช้งานอันก่อให้เกิดประโยชน์ในต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ในฐานะผู้ที่มีส่วนร่วมการทำหน้าที่ในการสื่อสารผลการดำเนินงาน หรือการสื่อสารการพัฒนาเมืองด้านต่าง ๆ ของเทศบาลเมืองทุ่งสงอย่างมีประสิทธิภาพ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: