กรุงเทพฯ – ผู้ว่า กทม. ประกาศปิดสถานที่เสี่ยง 34 ประเภทกิจการ เสี่ยงแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ 3-31 พ.ค. ส่วนกิจกรรมที่ผ่อนคลาย ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดเคร่งครัด
วันที่ 2 พฤษภาคม 2563 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แจ้งเรื่องการลงนามประกาศ ปิดสถานที่เสี่ยงเป็นการชั่วคราว ฉบับที่ 8 ตั้งแต่วันที่ 3-31 พฤษภาคม 2563 หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง พร้อมกำหนดมาตรการป้องกันโรค
ตามที่ วันนี้ (2 พ.ค.) คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร มีมติให้เปิดบางสถานที่และบางกิจกรรม ที่เคยมีประกาศสั่งปิดเป็นการชั่วคราวไปก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไม่ให้กลับเข้าสู่จุดวิกฤตอีกครั้ง จึงกำหนดมาตรการและข้อแนะนำสำหรับสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการ พนักงาน และผู้ใช้บริการ
ปิดสถานที่
♦โรงมหรสพ (โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ)
ข่าวน่าสนใจ:
♦สถานบริการ ผับ บาร์ สถานบันเทิง และสถานการประกอบการคล้ายสถานบริการ
♦สวนน้ำ สวนสนุก
♦สนามเด็กเล่น เครื่องเล่นสำหรับเด็กในตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด
♦สวนสัตว์
♦สถานที่เล่นสเก็ต หรือโรคเลอร์เบรด หรือการเล่นอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
♦โต๊ะสนุกเกอร์ บิลเลียต
♦สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง หรือตู้เกม
♦ร้านเกม และร้านอินเทอร์เน็ต
♦สระว่ายน้ำสาธารณะ หรือกิจการอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน
♦สนามชนไก่ และสนามซ้อมชนไก่
♦สถานที่ออกกำลังกาย ฟิตเนส
♦สถานที่จัดนิทรรศการ ศูนย์แสดงสินค้า และศูนย์ประชุม
♦พิพิธภัณฑ์
♦ห้องสมุดสาธารณะ ห้องสมุดชุมชน ห้องสมุดเอกชน และบ้านหนังสือ
♦สถานรับเลี้ยงเด็ก
♦สถานดูแลผู้สูงอายุ
♦สนามมวยและโรงเรียนสอนมวย
♦โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้ (ยิม)
♦สถานที่สัก หรือเจาะผิวหนังหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
♦สถาบันลีลาศ หรือสอนลีลาศ
♦สนามม้า
♦สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมันไพร
♦สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวด
♦ศูนย์พระเครื่อง
♦สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกเสริมความงาม สถาบันเสริมความงาม และคลินิเวชกรรมความงาม
♦สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่เสริมความงาม) สถานประกอบการนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า
♦สนามแข่งขันทุกประเภท
♦สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดงการละเล่นสาธารณะ
♦สถานที่ให้บริการห้องประชุม ห้องจัดเลี้ยง สถานที่จัดเลี้ยง รวมถึงสถานที่อื่นใดที่มีลักษณะเดียวกัน
♦ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ เปิดได้เฉพาะซูเปอร์มาเกต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร และที่ทำการหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ส่วนแผนกร้านอาหารให้เปิดเฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่น
♦ร้านเสริมสวย แต่งผม หรือตัดผม เปิดได้เฉพาะกิจกรรม สระ ตัด ซอย แต่งผม และต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้าน
♦สนามกีฬา เปิดได้เฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้งและตามกติกาสากล ผู้เล่นต้องมีระยะห่างทางสังคมและไม่คลุกคลีกันอยู่แล้ว เช่น เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู และต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน สโมสร คลับเฮ้าส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าว
♦สวนสาธารณะ ลาน พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬา ให้เปิดได้เฉพาะพื้นที่ดล่งแจ้งเพื่อการเดิน วิ่ง ขี่ ปรือปั่นจักรยาน หรือการออกกลังกายด้วยวิธีอื่นเป็นส่วนบุคคล โดยไม่มีผู้มาชุมนุมหรือเป็นการแข่งขัน การละเล่น การแสดง
สถานที่เปิดได้
♦ร้านอาหารและเครื่องดื่ม (เฉพาะที่อยู่นอกห้างสรรพสินค้า/ศูนย์การค้า/คอมมูนิตี้มอลล์) ส่วนนั่งทาน โดย
(1) ต้องเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่งของแต่ละคนไม่น้อยกว่า 1 เมตร กรณีระยะห่างระหว่างที่นั่ง 1-1.5 เมตร ต้องมีฉากกั้น ส่วนกรณีระยะห่างระหว่างที่นั่งมากกว่า 1.5 เมตร ไม่ต้องมีฉากกั้น
(2) ห้ามไม่ให้มีการนั่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดในร้าน
♦รถเข็น หาบเร่ แผงลอย
♦ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และคอมมูนิตี้มอลล์ เฉพาะ
(1) ซูเปอร์มาร์เก็ต
(2) ร้านขายยา
(3) ร้านขายของใช้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
(4) ร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารและโทรคมนาคม
(5) ธนาคาร
(6) ที่ทำการหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ
(7) ร้านอาหาร เฉพาะซื้อไปทานที่อื่น
♦ร้านค้าปลีก/ค้าส่งขนาดย่อม
♦ร้านค้าปลีก/ค้าส่งชุมชน
♦ตลาดสด ตลาดน้ำ และตลาดนัด
♦ร้านเสริมสวย เฉพาะตัด สระ และไดร์
♦สนามกอล์ฟหรือสนามฝึกซ้อมกอล์ฟ
♦สนามเทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน และยิงธนู
♦สวนสาธารณะ
♦ลานกีฬากลางแจ้ง เฉพาะเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายเฉพาะส่วนบุคคล
♦ร้านอาบน้ำ ตัดขน สปา รับเลี้ยง และรับฝากสัตว์
♦โรงพยาบาล คลินิก สถานทันตกรรม หรือสถานพยาบาลทุกประเภท ยกเว้นคลินิกเวชกรรมเสริมความงาม
ทั้งนี้ กทม. ได้ออกคู่มือแนวทางมาตรการผ่อนปรนให้แก่ 8 กลุ่มกิจกรรม-กิจการดังกล่าว ที่จะเริ่มเปิดให้บริการวันที่ 3 พฤษภาคมนี้
สถานที่อื่นนอกเหนือจากประกาศนี้ ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ราชการกำหนด ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และอาจมีความผิด ตามพระราชกำหนดว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3-31 พฤษภาคม 2563 หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2563
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: