ปทุมธานี ผู้ว่าเมืองปทุมฯ เอาจริง ปิดต่อห้ามขายเหล้า-เบียร์ ในพื้นที่ คุมแพร่เชื้อ”COVID-19 มีผล 3 พค.นี้
ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี ได้ออกคำสั่ง เรื่องปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้ปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีมีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป ดังนี้ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไป จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 นั้น
เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ยังคงดำรงอยู่ต่อไปเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด- 19 ไปสู่พื้นที่อื่นและป้องกันมิให้โรคกลับมาแพร่ระบาดใหม่ในพื้นที่ซึ่งเคยควบคุมได้ อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน ผศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 5 ข้อ 2 (6)และ (7) และมาตรา347) มาตรา 35 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดปทุมธานี จึงให้มีประกาศ ดังนี้
ให้ปิดสถานที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ดังนี้
1. ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ คอมมูนิตี้มอลล์ ห้างร้านที่มีร้านค้าย่อยในอาคารหรือบริเวณเดียวกัน เว้นแต่ ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยาหรือสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีพร้านอาหาร ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น ธนาคาร ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ตู้เอทีเอ็ม ร้านจำหน่ายหรือเช่าหนังสือ ที่ทำการหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ และร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม 2. สถานที่จำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างขนาดใหญ่ บริเวณพื้นที่แสดงสินค้าในอาคาร (ไม่รวมถึงพื้นที่สำหรับการขนถ่ายสินด้) โดยมิให้นำสินค้หรือบริการที่จัดแสดงหรือจำหน่ายตามปกติภายในอาคารออกมาจำหน่ายหรือบริการภายนอกอาคาร 3.สถานศึกษาทุกระดับ และสถาบันกวดวิชา
4. สถานบันเทิง โรงภาพยนตร์ โรงละคร โรงมหรสพ 5.สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ และสถานประกอบการที่เปิดให้บริการในลักษณะที่คล้ายกับสถานบริการ 6.สวนสนุก สถานที่เล่นโบว์ลิ่ง โต๊ะสนักเกอร์ บิลเลียด สนามแข่งรถ 7.ร้านเกมหรือตู้เกม ร้านอินเทอร์เน็ต และร้านคาราโอเกะ 8.สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ร้านสปา ร้านนวดเพื่อสุขภาพ ร้านนวดเพื่อเสริมความงามสถานประกอบกิจการอาบน้ำ อบไอน้ำ อบสมุนไพร เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล 9. สถานประกอบกิจการอาบ อบ นวดและนวดแผนไทย นวดฝ่าเท้า เว้นแต่การให้บริการดังกล่าวในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล 10. สถานที่ให้บริการควบคุมน้ำหนัก คลินิกความงาม และสถานเสริมความงาม 11.สถานที่บริการสักผิวหนัง หรือเจาะส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย 12. สถานที่ประกอบกิจการการออกกำลังกาย (ฟิตเนส) หรือกิจการอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
13. สนามมวย ค่ายมวย โรงเรียนสอนมวย สถานที่สอนกีฬาอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน14. สถานที่ชนไก่ กัดปลา รวมถึงสถานที่ซ้อม15. สถานที่เล่นสเกตหรือโรลเลอร์เบลต สถานที่เล่นกีฬาทางน้ำ แข่งเรือ การเล่นเจ็ตสกีหรือการเล่นอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน 16. สนามเด็กเล่น ทุกแห่งทั้งของรัฐและเอกชน พื้นที่สาธารณะที่มีการติดตั้งอุปกรณ์การบริหารร่างกาย หรือเครื่องออกกำลังกายหรืออุปกรณ์อื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน17. สระว่ายน้ำที่เปิดให้บริการในลักษณะที่ให้บริการเชิงพาณิชย์ 18. สถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนาที่มีคนมารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก กรณีมีกิจกรรมทางศาสนาที่มีเหตุจำเป็น ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจทางปกครองในแต่ละศาสนาหรือนิกาย19. ศูนย์พระเครื่อง พระบูชา และสนามพระเครื่อง พระบูชา สถานที่ที่จัดให้มีการพยากรณ์ดวงชะตา 20. สถานที่ให้บริการบ่อตกกุ้ง บ่อตกปลา 21. พิพิธภัณฑ์ 22. สถานรับเลี้ยงเด็ก 23. สถานดูแลผู้สูงอายุ 24. สถาบันลีลาศหรือสอนลีลาศ 25. ตลาดนัดในลักษณะคาราวานเร่ขายสินค้า 26. ร้านค้าหรือสถานประกอบการขายสุราประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 ที่ได้รับใบอนุญาตให้จำหน่ายตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยสามารถจำหน่ายสินค้าประเภทอื่นได้ทั้งนี้ มิให้ใช้บังคับกับการชายของผู้ผลิต ผู้นำข้า หรือตัวแทนของผู้ผลิตผู้นำข้า ไปยังผู้ขาย ซึ่งได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560
ขณะเดียวกัน ได้มีประกาศจังหวัดปทุมธานีโดยมีมาตรการผ่อนคลาย ดังนี้ เปิดสถานที่จำหน่ายอาหารและหรือเครื่องดื่ม ในโรงแรม ท่าอากาศยาน สถานีรถไฟ สถานีขนส่งโรงพยาบาล ร้านอาหารและหรือเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อ รถเข็น หาบเร่แผงลอย ซึ่งไม่รวมถึงสถานบริการ ผับ บาร์ ส่วนห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดได้เฉพาะซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา สินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต และร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม ธนาคาร ที่ทำการหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเท่านั้น ส่วนแผนกร้านอาหารให้เปิดเฉพาะการนำกลับไปบริโภคที่อื่น แต่หากเปิดให้ใช้บริการในสถานที่นั้นก็สามารถทำได้โดยต้องจัดระเบียบการเข้า-ออกให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและคำแนะนำของทางราชการ และห้ามการบริโภคสุราหรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในร้าน
ร้านค้าปลีก-ค้าส่งขนาดย่อม ร้านค้าปลีก-ค้าส่งชุมชน ตลาด ตลาดน้ำ และตลาดนัด มาตรการควบคุมหลักคือ ให้เว้นระยะห่าง หรือระยะห่างในการเลือกสินค้าและการชำระราคา ห่างกันอย่างน้อย 1 เมตร และให้ควบคุมจำนวนผู้ร่วมกิจกรรมไม่ให้แออัด หรือลดเวลาในการทำกิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น โดยถือหลักหลีกเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน และให้มีการควบคุมทางเข้า-ออก
ร้านเสริมสวย แต่งผมหรือตัดผมสำหรับบุรุษหรือสตรีให้เปิดได้เฉพาะกิจกรรม สระตัด ซอยผม แต่งผม และต้องไม่มีผู้นั่งรอในร้านมาตรการควบคุมหลัก คือ ให้ช่างตัดผมและผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าเสมอ ให้พิจารณาควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการมิให้แออัด
สนามกอล์ฟหรือสนาฝึกซ้อมกอล์ฟให้เปิดได้ แต่ต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าว ให้ปฏิบัติตามมาตรการแนบท้ายประกาศนี้
สนามกีฬาเฉพาะกีฬาประเภทกลางแจ้งและตามกติกาสากล ผู้เล่นต้องมีระยะห่างทางสังคม และไม่คลุกคลีกันอยู่แล้ว เช่น เทนนิส ขี่ม้า ยิงปืน ยิงธนู และต้องไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน ในกรณีของสโมสร คลับเฮาส์ หรือร้านอาหารในบริเวณดังกล่าว ให้ปฏิบัติตามมาตรการแนบท้ายประกาศนี้
สวนสาธารณะ ลาน – พื้นที่กิจกรรมสาธารณะ สถานที่ออกกำลังกาย สนามกีฬา ลานกีฬาให้เปิดได้เฉพาะพื้นที่โล่งแจ้งเพื่อการเดิน วิ่ง ขี่หรือปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกาย ด้วยวิธีอื่นเป็นส่วนบุคคล โดยไม่มีผู้ชมมาชุมนุมกันหรือเป็นการแข่งขัน การละเล่น การแสดงสถานที่ให้บริการดูแลรักษาสัตว์ ไม่รวมถึง สปา อาบน้ำ ตัดขน รับเลี้ยงหรือรับฝากสัตว์ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจและให้คำแนะนำ หรือตักเตือนห้ามปรามได้ตลอดเวลา หากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือเป็นอันตรายต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ให้เสนอผู้มีอำนาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อสั่งปิดสถานที่นั้นฉพาะราย
การห้ามออกนอกเคหสถาน ให้การห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 นาฬิกา ถึงเวลา 04.00นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 เมษายนพ.ศ. 2563 และข้อยกเว้นการห้ามออกนอกเคหสถานตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2563ยังคงใช้บังคับต่อไป
คำสั่งฉบับนี้ มีคำสั่งผ่อนคลายกิจกรรม บางส่วน โดยเน้นย้ำ ผู้ประกอบการต้องดำเนินการตามมาตรการควบคุมหลัก อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
ผู้ฝ่าฝืนย่อมมีความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
และหากไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดด้วย เช่น ออกนอกเคหสถาน ในเวลาดังกล่าว และไม่ยอมรับการแยกกัก กักกัน หรือคุมไว้สังเกต หรือมั่วสุมชุมนุมกันทำกิจกรรมอันเสี่ยงต่อการแพร่โรคในเวลาดังกล่าว อาจมีความผิดอีกสถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อหรือหากอาศัยช่วงเวลาดังกล่าวไปกระทำ ความผิดตามกฎหมายอื่น เช่น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด กฎหมายว่าด้วยการ พนัน หรือกระทำการฝ่ฝืนข้อกำหนดในเรื่องอื่น ๆ นอกจากเรื่องการห้ามออกนอกเคหสถาน และขณะเดียวกัน ก็เป็นการกระทำความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เช่น เสนอข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวสโคโรนาอันไม่เป็น ความจริงซึ่งเป็นความผิดตามข้อ 6 แห่งข้อกำหนด (ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พศ 2563 และเป็นความผิด ตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ให้ดำเนินคดีตามกฎหมายเหล่านั้นทุกฐานความผิด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: