นครพนม – เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวง จังหวัดนครพนม วอนภาครัฐช่วยเหลือ เนื่องจากขณะนี้กำลังประสบปัญหาขาดทุน เพราะไม่สามารถระบายไก่ ที่เลี้ยงไว้ออกสู่ตลาด
วันที่ 25 กันยายน 2561 นางไตรรงค์ จอกทอง อายุ 48 ปี รองประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านโชคอำนวย ต.วังตามัว อ.เมือง จ.นครพนม ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่งวง จังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า เมื่อปี 2560 ได้รวบรวมสมาชิก จำนวน 7 ครอบครัว ก่อตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนฯ เลี้ยงไก่งวงรายย่อย ซึ่งรับลูกไก่มาจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งหนึ่งในตัวจังหวัดนครพนม
ข่าวน่าสนใจ:
- “คูโบต้า พลังใจสู้ภัยหนาว” ร่วมกับ“กองทัพบก” จัดคาราวานเสื้อกันหนาว เดินหน้ามอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ชมคลิป-เตรียมเที่ยวงาน 10 ชาติพันธุ์ ยิ่งใหญ่กว่าเดิมในรูปแบบใหม่ ชมขบวนแห่กลุ่มชาติพันธุ์อลังการ
- ผกร.ป่วนไม่เลิก!วางบึ้ม 5 (แตก 4, กู้ 1) ทางไปสนามบิน
ถือเป็นกลุ่มหลักในการเลี้ยงไก่งวง ประเดิมครั้งแรก 1,000 ตัว ราคาตัวละ 100 บาท นำมาเลี้ยงด้วยการให้อาหารที่หาง่ายในหมู่บ้าน เช่น รำข้าว หญ้าหวาน ผักตบ และต้นกล้วย ใช้เวลาในการเลี้ยงประมาณ 7-8 เดือน โดยมีข้อตกลงกับทางกลุ่มหลักว่าจะรับซื้อไก่งวงคืน ก็ต่อเมื่อไก่ได้น้ำหนัก 6 กก.ขึ้นไป ในราคากิโลกรัมละ 150 บาท และต้องเป็นไก่เพศผู้เท่านั้น เพราะจะมีน้ำหนักมากกว่าเพศเมียที่เลี้ยงเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่เกิน 4 กก.
หลังจากเลี้ยงไก่งวงมาได้ระยะหนึ่ง เมื่อนำไก่ไปขายคืนก็ถูกทางกลุ่มปฏิเสธที่จะรับซื้อไก่งวงเพศเมีย หรือหากไก่ตัวผู้น้ำหนักไม่ถึงเกณฑ์ จะถูกทางกลุ่มกดราคาให้ขายในกิโลกรัมละ 120 บาท พวกตนอยู่ในสภาพจำยอมจึงต้องขาย
ขณะที่ไก่ตัวเมียมีปศุสัตว์จังหวัดฯรับซื้อไประบายออกให้ ปีแรกทางกลุ่มของตนขาดทุนเจ้าละ 4-50,000 บาท มาปีนี้(2561) ก็ไปซื้อลูกไก่ที่กลุ่มดังกล่าวอีก มีภรรยาประธานกลุ่มได้นำไก่งวงพันธุ์สมอลไวท์ หรือเรียกภาษาชาวบ้านว่าไก่ขาว จากจังหวัดหนองบัวลำภูมาให้พวกตนทดลองเลี้ยง ในราคาตัวละ 80 บาท จึงซื้อมาเลี้ยง 600 ตัว ปัญหาก็เกิดขึ้นอีกเพราะมีไก่ตัวเมียอยู่ประมาณ 300 ตัว ประกอบกับมีฝนตกชุกทำให้ไก่ป่วยเป็นโรคตายไปกว่าครึ่ง พอนำไก่ไปขายกับกลุ่มที่ให้พันธุ์มาก็ถูกปฏิเสธไก่ตัวเมียเหมือนเดิม จึงไปหาปศุสัตว์จังหวัดฯ หาทางช่วยเหลือ
โดยได้รับคำตอบว่าปีนี้ให้ช่วยเหลือตัวเองไปก่อน เพราะหัวหน้าคนที่ดำเนินเรื่องกำลังจะย้าย พวกตนจึงเคว้งคว้างไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใคร อยากให้หน่วยงานภาครัฐช่วยเหลือ
หากเป็นเช่นนี้คงต้องประชุมกับผู้เลี้ยงว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่ เพราะขาดทุนติดต่อกันถึง 2 ปีซ้อน ถ้าจะเลี้ยงไก่งวงต่อก็ต้องทำข้อตกลงกับกลุ่มหลักใหม่ กรณีมีไก่ตัวเมียปะปนมาจะหาทางออกอย่างไร “ผลการเจรจาหาข้อยุติไม่ได้ทางกลุ่มก็คงจะต้องยุติ เพราะแบกรับภาระหนี้สินไม่ไหว” นางไตรรงค์กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: