ศูนย์อำนวยการจิตอาสาฯ เดินหน้าต่อเนื่องงานส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานแก่ชุมชน นำจิตอาสาพัฒนาอาชีพจากโครงการ “ฟาร์มตัวอย่าง…ต้านภัย COVID-19” ร่วมลงปฏิบัติปรับพื้นที่ ฝึกจัดทำแปลงสวนเกษตร “สืบสาน รักษา และต่อยอด” หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ตามที่ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ได้ร่วมกับจังหวัดลำปาง โดยศูนย์อำนวยการจิตอาสาจังหวัดลำปาง และโครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านแม่ต๋ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ จัดทำกิจกรรมโครงการ “ฟาร์มตัวอย่าง…ต้านภัย COVID-19” และโครงการ “สืบสานตามแนวพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” เพื่อช่วยเหลือส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการจ้างงานแก่ชุมชน ให้ชาวบ้านในชุมชนพื้นที่บ้านแม่ต๋ำได้มีงานทำและมีรายได้ ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อ “COVID-19” กำลังแพร่ระบาด โดยได้ทำการเปิดรับสมัครบุคคลผู้ที่มีความเหมาะสม จำนวน 50 ราย เข้าเป็นจิตอาสาฝึกอบรมพัฒนาอาชีพในพื้นที่โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ร่วมเรียนรู้ในเรื่องวิถีการทำสวนเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งในการฝึกอบรมดังกล่าว ทางศูนย์อำนวยการจิตอาสาจังหวัดลำปาง และโครงการฟาร์มตัวอย่างบ้านแม่ต๋ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้มีการนำจิตอาสาฝึกพัฒนาอาชีพทั้ง 50 ราย เข้าทำการเรียนรู้ในภาคทฤษฎีเกี่ยวกับแนวทางวิถีการทำการเกษตรตามแบบเศรษฐกิจพอเพียง ที่เน้นหลักการของการพึ่งพาตนเอง รู้จักจัดสรรและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า ทำการผลิตให้พออยู่พอกินสร้างมั่นคงให้เกิดความยั่งยืนเพื่อเป็นรากฐานสำคัญของระบบสังคม พร้อมกับเปิดพื้นที่ฟาร์มตัวอย่างบ้านแม่ต๋ำ ตำบลเสริมซ้าย อำเภอเสริมงาม นำจิตอาสาฝึกพัฒนาอาชีพทั้งหมด ร่วมบุกเบิกพื้นที่ประมาณกว่า 12 ไร่ ฝึกปฏิบัติตามหลักทฤษฎีทำสวนเกษตรผสมผสาน “โคกหนองนาโมเดล” เพื่อศึกษา สืบสาน รักษา และต่อยอด ตามรอยศาสตร์พระราชา
ข่าวน่าสนใจ:
- ระทึก ไฟไหม้โรงงานผลิตกล่องโฟมใส่อาหารหวิดวอดหมดหลัง
- คอกาแฟแห่เที่ยวงานพังงาคอฟฟี่เจอร์นี่ ซีซั่น 3 ภายใต้รูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Coffee in the Park ในสวนสมเด็จฯพังงา
- บุรีรัมย์ คริสตจักรเมืองบุรีรัมย์ จัดงานเฉลิมฉลองวันคริสต์มาส ส่งความสุขก่อนปีใหม่อย่างยิ่งใหญ่
- ชายวัย 50 ปี เปลี่ยนถังแก๊สเอง จุดเตาทำกับข้าวไฟพรึ่บคลอกเจ็บหนัก
โดยนับแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา ผู้เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพได้มีการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมกับลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ทำการบุกเบิกพื้นที่จากผืนที่ดินเดิมทั่วไปปัจจุบันได้ถูกปรับสภาพให้เป็นพื้นที่โคกสูงเพื่อสำหรับไว้เพาะปลูกพืช ทั้งพืชไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้เศรษฐกิจ และปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ รวมทั้งได้ทำการขุดหลุม ขุดหนอง เพื่อเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำสำหรับไว้ใช้ในยามหน้าแล้ง และเป็นที่รับน้ำในยามน้ำหลาก จัดทำคลองระบายน้ำ หรือ “คลองไส้ไก่” ให้คดเคี้ยวไปตามสภาพพื้นที่เพื่อจะให้น้ำไหลกระจายไปอยู่ตามจุดต่างๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ และใช้สำหรับรดน้ำต้นไม้ที่ได้ทำการเพาะปลูก นอกจากนี้พื้นที่บางส่วนยังได้ถูกจัดแบ่งไว้เพื่อเป็นพื้นที่นาสำหรับปลูกข้าว
ซึ่งนับหลังจากนี้เมื่อสภาพพื้นที่มีความพร้อม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมก็จะได้มีการเรียนรู้ในเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งในเรื่องการอนุรักษ์ดิน อนุรักษ์น้ำ การปรับฟื้นฟูสภาพดิน การทำปุ๋ย การใช้ปุ๋ย การจัดทำโรงเรือนและสถานที่ ตลอดจนถึงการเรียนรู้ในเรื่องของการปลูกพืช 5 ระดับ ไม้ 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เป็นต้น โดยปัจจุบันการศึกษาเรียนรู้ในกิจกรรมโครงการฯ ได้มีความคืบหน้าไปมากเกินกว่าร้อยละ 15 ซึ่งผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่างเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น มองเห็นถึงลำดับขั้นตอนแนวทางหลักวิธีการปฏิบัติที่จะทำให้การทำสวนเกษตรตามหลักทฤษฎีใหม่ “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นเรื่องง่ายๆ และสามารถที่จะทำให้สำเร็จได้ไม่ยากนัก โดยการอบรมจะใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ทั้งหมดประมาณ 90 วัน ไปจนถึงวันที่ 4 กรกฎาคม 2563 นี้…
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: