เพชรบุรี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีร่วมกับภาคีเครือข่ายปลูกผักแจกจ่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากCOVID-19
เมื่อวันที่12 มิถุนายน2563 เวลา9.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.เสนาะกลิ่นงามอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมอบหมายให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถบัวเขียวรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีพร้อมด้วยคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ คณาจารย์บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.) อำเภอบ้านลาดจังหวัดเพชรบุรีเพื่อทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตในโครงการ1 ไร่คลายวิกฤตฟื้นวิถีชีวิตชุมชนหลังCOVID-19 โดยมีนายภคพัสส่งวัฒนายุทธนายอำเภอบ้านลาดหัวหน้าส่วนราชการและประชาชนจิตอาสาในพื้นที่เข้าร่วม
การจัดโครงการในครั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีโดยสำนักงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชาได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดขึ้นประกอบด้วยอำเภอบ้านลาดศพก.อำเภอบ้านลาดสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดเพชรบุรีสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านลาดองค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำรงค์และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถ้ำรงค์ในการบูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อร่วมกันช่วยเหลือและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)
เนื่องจากมีประชาชนบางส่วนขาดรายได้หรือมีรายได้ลดลงแต่ยังคงต้องใช้อาหารในดำรงชีวิตมหาวิทยาลัยฯจึงได้ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดโครงการในครั้งนี้ขึ้นซึ่งศพก.อำเภอบ้านลาดเป็น1 ใน5 ชุมชนที่อยู่ในโครงการ1 ไร่คลายวิกฤตฟื้นวิถีชีวิตชุมชนหลังCOVID-19
สำหรับผักที่ทำการเก็บเกี่ยวในวันนี้ประกอบด้วยผักบุ้งคะน้ากวางตุ้งบวบและกระเพาน้ำหนักรวมกว่า900 กิโลกรัมโดยจะนำไปแจกให้กับประชาชนผู้ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัยในตำบลหนองโสนอำเภอเมืองเพชรบุรีจำนวน200 ชุดอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหนองโสนจำนวน100 ชุดอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลถ้ำรงค์จำนวน70 ชุดประชาชนเครือข่ายชุมชนไร่มะขามจำนวน100 ชุดและมอบให้กับนายอำเภอบ้านลาดเพื่อนำไปใส่ไว้ในตู้ปันสุขตามจุดต่างๆจำนวน100 ชุด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจนารถบัวเขียวรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีกล่าวว่า“มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีนอกจากจะมีนโยบายในการช่วยเหลือนักศึกษาในเรื่องของการเรียนแล้วยังได้มีนโยบายในการช่วยเหลือประชาชนจึงได้มอบหมายให้ผู้รับผิดชอบจัดทำโครงการที่เป็นการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของCOVID-19
ซึ่งในส่วนของจังหวัดเพชรบุรีนั้นมีพื้นที่ๆมีความเหมาะสมหลายแห่งเช่นเดียวกับชุมชนไร่มะขามแห่งนี้ที่มีความพร้อมในเรื่องของต้นทุนเดิมที่มีอยู่แล้วบวกกับความเข้มแข็งของคนในชุมชนที่ร่วมแรงร่วมใจกันเพียงแต่มหาวิทยาลัยฯเข้าไปดำเนินการในการต่อยอดความรู้ที่มีอยู่เดิมเท่านั้น
ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้เป็นการน้อมนำแนวคิดหลักปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อลดต้นทุนในการทำการเกษตรชาวบ้านจะได้ลดรายจ่ายมีรายรับเพิ่มขึ้นซึ่งการปลูกผักจะช่วยเหลือชุมชนในเรื่องของอาหารซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีคือภายในปี2564 จะเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านอาหารการท่องเที่ยวและสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรียังคงมุ่งมั่นในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และที่สำคัญการจัดทำโครงการในครั้งนี้นอกจากจะได้ความรักความสามัคคีที่เกิดขึ้นในชุมชนแล้วคนในชุมชนยังได้บริโภคพืชผักที่ปลอดภัยไร้สารเคมีด้วย”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: