นายเนตร สมบัติ เกษตรจังหวัดสุโขทัย เปิดเผยว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดสุโขทัยได้รวบรวมเสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบาย การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการเกษตร จากความต้องการของกลุ่มแปลงใหญ่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวิสาหกิจชุมชน รวมกว่า 100 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร และรองรับการปรับตัวสู่วิถีชีวิต New Normal
ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญ และการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรระดับจังหวัด (Chief of Operation ; CoO) เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบเสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านการเกษตร ประกอบด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- ฮือฮา เด็กคู่แฝดตาสีฟ้า พบ 1 ในล้าน แม่เลี้ยงเดี่ยวเผยใช้ชีวิตลำบาก เคยถูกบูลลี่ ท้อมิจฉาชีพนำรูปไปหากิน
- ตั้งเต็นท์ตกปลาท้าลมหนาวใกล้กรุง สถานที่สายแคมป์ปิ้งไม่ควรพลาด
- งามไส้ข้ามแดน-บุกรวบนักร้องสาวชื่อดังมาเลย์,ยาบ้ากว่า 6 พันเม็ด คาห้องพักโรงแรม
- นทท.ผวา! งูเหลือมยักษ์ หนักกว่า 100 กก.โผล่ในทะเล หาดกมลา
1) โครงการยกระดับเกษตรแปลงใหญ่ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 47 แปลง งบประมาณ 131,463,318 บาท 2) โครงการยกระดับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) จากทุกอำเภอๆละ 1 ศูนย์ รวม 9 ศูนย์ งบประมาณ 4,473,750 บาท 3) โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์และมาตรฐานสินค้าเกษตรแปรรูปวิสาหกิจชุมชน เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน จำนวน 18 โครงการ 8,999,661 บาท 4) โครงการยกระดับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้ได้มาตรฐานรองรับการท่องเที่ยวตามวิถีชีวิตใหม่ (New Narmal) โดยกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านจ่าก้อง ต.ป่าแฝก อ.กงไกรลาศ งบประมาณ 500,000 บาท
ซึ่งในการเสนอโครงการดังกล่าว ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ และการแก้ไขปัญหาการเกษตรระดับอำเภอ (Operation Team ; OT) และคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญ และการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรระดับจังหวัด (Chief of Operation ; CoO) เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้ได้ส่งให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อการพัฒนาองค์รวมตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ รวมไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก เสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และชุมชนท้องถิ่น รองรับการปรับตัวสู่วิถีชีวิต New Normal ต่อไปในอนาคต
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: