เชียงราย-วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย ร่วมกิจกรรมครบรอบ 2 ปีเหตุการณ์ถ้ำหลวง เผยชื่นใจแทนพี่น้องประชาชนแม่สายและชาวไทยทุกคน แต่เชื่อว่าการพัฒนาถ้ำหลวงยังติดขัด งบประมาณ เตรียมขอผลักดัน
เมื่อ เวลา 07.00 น.วันที่ 6 ก.ค.63 ได้มีการจัดกิจกรรมครบรอบ 2 ปีเหตุการณ์ถ้ำหลวง ณ อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (เตรียมการ) ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จ.เชียงราย โดยมี นายกมลไชย คชชา ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 เป็นประธาน ร่วมด้วย นายประสงค์ หล้าอ่อน นายอำเภอแม่สาย,ภาครัฐ,เอกชนที่เกี่ยวข้อง,ทีม13 หมู่ป่า และ พระรัตนมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ข้าวสาร อาหารแห้ง พระสงฆ์ 108 รูป และมีพิธีบวงสรวงเจ้าแม่นางนอน โปรยข้าวตอกดอกไม้ อุทิศส่วนกุศลให้กับ จ่าแซม (จ่าสิบเอกสมาน กุนัน) เพื่อรำลึกถึงความร่วมมือในการช่วยเหลือทีมหมูป่า 13 คน ที่ติดในถ้ำหลวง จากทุกภาคส่วนทั้งไทยและนานาชาติ เวียนมาครบรอบ 2 ปี และส่งเสริมการท่องเที่ยว ผ่อนคลายสถานการณ์เฝ้าระวังไวรัสโควิด-19 ระยะที่ 5
นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ที่มาร่วมงาน กล่าวว่า เห็นการจัดงานวันนี้แล้วชื่นใจแทนพี่น้องประชาชนแม่สายและชาวไทยทุกคน เพราะเป็นการจัดงานยิ่งใหญ่มาก เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งทำให้ประเทศไทยโด่งดังไปทั่วโลกว่าคนไทยมีความรักสามัคคีกัน และระลึกถึงจ่าแซม วีรบุรุษถ้ำหลวง 2 ปีก่อนก่อน ตนเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังการสนับสนุนผ้าใบ เต็นท์ เหล็ก ตามที่มีการร้องขอมาในการกู้ภัยช่วงช่วย 13 หมูป่า จนสำเร็จ
แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีสถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19 ต้นปี 2563 ตนเห็นว่าการพัฒนาถ้ำหลวง ยังล่าช้าผิดปกติ เพราะตนทราบว่า ได้งบพัฒนาแผนแม่แบบ วงเงิน 17 ล้าน มาแล้ว แต่การทำแผนเพื่อพัฒนา อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง ยังติดระเบียบราชการหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการขอใช้สถานที่ อุทยาน ป่าไม้ และท้องถิ่น ยังไม่ลงตัว ก่อนหน้านี้มีการหารือกันไว้ว่า จะมีการให้งบจากรัฐบาล ในการพัฒนาเป็นอุทยานถ้ำหลวง 2,000-3,000 ล้านบาท แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เลย ที่ผ่านมาสองปีนี้ได้มาแค่ 17 ล้าน เป็นงบในศึกษาแผนแม่แบบเท่านั้น ปีที่แล้วตนเป็นอนุกรรมาธิการท้องถิ่นด้านงบประมาณ แต่ปีนี้ตนได้ มีโอกาสเป็นกรรมาธิการงบเงินกู้ฟื้นฟูฯ 4 แสนล้านบาท จึงบอกในกรรมาธิการว่าจะพยายามผลักดันงบประมาณให้เกิดประโยชน์ เพื่อให้ถ้ำหลวงเป็นแหล่งท่องเที่ยว และเพื่อให้เด็กๆได้มามาเรียนรู้การอยู่ในถ้ำ การเอาตัวรอดและทั่วโลกรู้จักการกู้ภัยกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่ จึงควรพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแหล่งเรียนรู้ของโลก ยกระดับเป็น เวิลด์เฮอริเทจ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ จีโอกราฟฟิกพาร์ค แต่ทราบจากส่วนราชการว่ายังติดขัด เช่น การพัฒนาถนน ความเป็นอยู่ ร้านค้าที่บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งจะหาทางประสานงานผลักดันในส่วนนี้
ข่าวน่าสนใจ:
แต่ตนมีแผนอันหนึ่งที่จะทำตอนนี้คือ ตนประสานจังหวัดเชียงราย และ อบจ.เชียงราย ออกแบบพัฒนา หนองน้ำพุ ที่เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ใกล้เคียงถ้ำหลวง 1 ก.ม.เศษ ออกแบบให้มีอาคารบริการนักท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมถ้ำหลวงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้การใช้ชีวิตรอดเมื่อติดถ้ำ ฯลฯ หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายในอนาคต ซึ่งขณะนี้ผ่านมา 2 ปี จนทีมเด็กนักเรียน 13 หมู่ป่า เริ่มเติบโตเป็นผู้ใหญ่แต่การพัฒนายังถือว่าล่าช้า ซึ่งตนจะหาแนวทางผลักดันในระดับ ส.ส. และกรรมาธิการงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ต่อไปให้ จ.เชียงราย และ ถ้ำหลวง พัฒนาให้ดีมากขึ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: