X

“บิ๊กตู่” ชม “อียู” มีความสำคัญต่ออาเซียน ในการประชุมอาเซียน-อียู

นายกรัฐมนตรีฯ ชื่นชมความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ อียูกับภูมิภาคอาเซียน ย้ำต้องไม่ลืมผลประโยชน์ของประชาชน

เมื่อวานที่ผ่านมา พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ทำการกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมผู้นำสหภาพยุโรป-อาเซียน โดยมีใจความว่า อียูกับอาเซียนเป็นหุ้นส่วนโดยธรรมชาติ อียูมีความสำคัญต่ออาเซียน เป็นแหล่งลงทุนอันดับ 1 แหล่งนักท่องเที่ยวอันดับ 2 และคู่ค้าอันดับ 2 ของอาเซียน

นอกจากนี้ อาเซียนและอียูยังเป็นตัวอย่างการรวมตัวกันในภูมิภาคที่มีความสำเร็จและก้าวหน้าที่สุดในโลก ซึ่งสนับสนุน ภูมิภาคนิยม (regionalism) และพหุภาคีนิยม (multilateralism) ร่วมกัน ท่ามกลางความท้าทายที่ในโลก

ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าทั้งสองภูมิภาคควรกระชับความร่วมมือใน 3 ด้านด้วยกันได้แก่

1.เสริมสร้างความสัมพันธ์เพื่อมุ่งสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในอนาคต เพื่อนำไปสู่การสร้างดุลยภาพใหม่ทางยุทธศาสตร์ (Strategic New Equilibrium)  ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และอินโด-แปซิฟิก ผนึกกำลังและกระชับความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องและขับเคลื่อนวาระสำคัญของโลกร่วมกัน

2.อียูและอาเซียนควรเสริมสร้างความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเทศไทยในฐานะผู้ประสานงานอาเซียนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้ร่วมกับคณะกรรมาธิการยุโรปจัดการประชุมระดับสูงระหว่างอาเซียนกับอียู ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ที่กรุงเทพฯ จะช่วยเสริมสร้างฐานของหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนกับอียูให้มีความเข้มแข็ง (resilience) มากขึ้นและมีความพร้อมรับมือกับแนวโน้มระหว่างประเทศ(global trends)

3.อาเซียนและอียูต้องวางแผนเพื่อรับมือกับพัฒนาการต่างๆ เช่น ภัยคุกคามจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ทั้งสองฝ่ายมีวิทยาการที่ส่งเสริมกันได้ เช่น อียูมีองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์และด้านการรักษาสุขภาพที่ดี ส่วนอาเซียนมีบุคลากรและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงองค์ความรู้ด้านเวชศาสตร์ท้องถิ่นที่หลากหลาย จึงสามารถพัฒนาโครงการร่วมกันได้ โดยอาจใช้ประโยชน์จากศูนย์อาเซียนเพื่อผู้สูงวัยอย่างมีศักยภาพและมีนวัตกรรม ที่จะตั้งขึ้นในไทยในปีหน้า

ในตอนท้ายนายกรัฐมนตรีย้ำว่า ประชาชนสำคัญที่สุด ไม่มีการรวมตัวกลุ่มใดที่จะยั่งยืนและคงอยู่ตลอดไปหากไม่สามารถตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน