ชี้ รัฐ และ สนช. ต้องให้ความสำคัญต่อฐานคิดก่อนสร้างกฎหมาย สสส แม้ขณะนี้ช่วงทบทวนก็จริง แต่ควรชะลอกฎหมายนี้ไปสู่สภาผู้แทนราษฎร จุดสำคัญคือการมีส่วนร่วมสร้างเสริมสุขภาพโดยประชาชน
พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 และ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ที่กำลังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องโดยภาคประชาชนและภาคีการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนได้ใช้งบประมาณของสสส.มาทำงานอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดพลเอกประยุทธ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี มีคำสั่งให้รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมหารือร่วมกับ รมว.กระทรวงสาธรณสุข และ รมว.กระทรวงการคลัง พิจารณาแก้ไขเนื้อหาใน พ.ร.บ. 2 ฉบับดังกล่าว จนในวันที่ 11 เมษายน นายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้เป็นประธานการประชุมพิจารณาแก้ไข หลังการประชุมทำให้มี 3 แนวทางแก้ไขคือ 1.ให้ใช้เงินกองทุนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน 2.หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินควรยึดหลักเป็นไปตามระเบียบการใช้เงินตามระบบราชการปกติ และ 3.การป้องกันประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อน อย่างไรก็ตาม สสส.มีแนวทางพัฒนาสุขภาพตามหลักสากล โดยเฉพาะนิยามคำว่าสุขภาพจะครอบคลุม 4 ด้าน คือ กาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ ทำให้อาจไม่ตรงกับระบบราชการมอง และ การจัดสรรงบประมาณไปอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลัง และข้อกังวลอีกหลายประการในการปรับแก้กฎหมายฉบับดังกล่าวเป็นข้อวิตกว่า หลังการแก้ไขภาคราชการจะเข้ามาครอบงำการทำงานทั้งหมด
จนเมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่บริเวณด้านหน้ากระทรวงการคลัง นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน (ขสช.) นำตัวแทนเครือข่ายสุขภาพ จาก 4 ภาค มองว่ารัฐกำลังหาทางแก้กฎหมาย พ.ร.บ.สสส เพื่ออยู่ภัยใต้อำนาจของภาครัฐและเป็นการครอบงำ จนนำไปสู่แถลงการณ์ขอให้ยุติการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.สสส
ข่าวน่าสนใจ:
วันที่ 16 ตุลาคม เครือข่ายขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน (ขสช.) ภาคเหนือ ออกแถลงการณ์ต่อต้านการแก้ พ.ร.บ.ด้านสุขภาพดังกล่าวที่จังหวัดเชียงใหม่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้สมัครหัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ ได้ออกหาเสียงเลือกตั้งหัวหน้าพรรคกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ ได้กล่าวถึงการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวว่า เรื่องนี้อยากให้รัฐบาลเปิดโอกาสให้กับรัฐบาลที่จะมาจากการเลือกตั้งเข้ามาพิจารณาเรื่องเหล่านี้เพราะเราเห็นแล้วว่าหน่วยงานต่างๆ พยายามเร่งผลักดันแก้กฎหมายหลายๆ ครั้งได้มองข้ามผลกระทบทางปฏิบัติบ้าง ทางนโยบายบ้าง ก่อนหน้านี้มีเรื่องของสัตว์เลี้ยงที่ต้องมีค่าใช้จ่ายซึ่งไม่เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของประชาชน การทำงานของรัฐบาลชุดนี้ควรทำเรื่องหลักๆ มากกว่า เช่นทำอย่างไรให้มีการเตรียมบ้านเมืองเพื่อเดินไปสู่การเลือกตั้งที่เป็นธรรมสุจริตเป็นที่ยอมรับของสังคมมากกว่า พ.ร.บ.สสส.ที่กำลังเข้าสภาฯนั้นถือเป็นห้วงเวลาที่มีการทบทวนที่ได้ใช้กฎหมายมา 10 ปี อย่างไรก็ตามต้องยึดหลักความคล่องตัวในการเป็นอิสระในการทำงาน การออกพ.ร.บ. สสส เน้นการทำงานของภาคประชาชนเป็นหลัก
///////////////////////////////
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: