X

พ่อเมืองนครพนม ลุยเช็คการระบายน้ำก่ำ ลงน้ำโขง พื้นที่เสี่ยงท่วม รับมือฝนตกหนัก

นครพนม – ผู้ว่าฯ ลุยเช็คการระบายน้ำก่ำ ลงน้ำโขง พื้นที่เสี่ยงท่วม รับมือฝนตกหนัก มั่นใจยังรับน้ำไหว น้ำโขงยังต่ำ ห่างจุดล้นตลิ่งกว่า 5 เมตร สั่งเฝ้าระวัง

เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม พร้อมด้วย นายเกียรติศักดิ์ ผัดวัง ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำก่ำ สำนักงานชลประทานที่ 7 ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครพนม และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบติดตามสถานการณ์ บริเวณประตูระบายน้ำก่ำบ้านนาคู่ ต.นาคู่ อ.นาแก จ.นครพนม ซึ่งเป็นพื้นที่ เสี่ยง ที่รับมวลน้ำไหลมาจากพื้นที่หนองหาร จ.สกลนคร ผ่านลำน้ำก่ำ เป็นระยะทางยาว กว่า 120 กิโลเมตร ไหลผ่าน อ.นาแก อ.ธาตุพนม ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง ที่ประตูระบายน้ำธรณิศนฤมิต โดยทุกปีจะมีพื้นที่เสี่ยง บริเวณจุดบ้านปากบัง ต.พิมาน อ.นาแก ซึ่ง เป็นจุดบรรจบ ระหว่าง ลำน้ำก่ำ กับลำน้ำบัง ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง หากมีการระบายน้ำจากพื้นที่หนองหาร จำนวนมาก บวกกับฝนตกหนักต่อเนื่อง จะส่งผลให้เกิดน้ำเอ่อล้นท่วมพื้นที่ บ้านเรือน ในพื้นที่ ต.พิมาน อ.นาแก

โดยจากการตรวจสอบพบว่า ปริมาณน้ำในลำน้ำก่ำล่าสุด มีปริมาณอยู่ที่ 40 -50 เปอร์เซ็นต์ ของความจุ ห่างจากจุดล้นตลิ่ง ประมาณ 3 -4 เมตร ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกจำนวนมาก ส่วนปริมาณน้ำโขง อยู่ที่ประมาร 8 เมตร ห่างจากจุดวิกฤติ ล้นตลิ่งประมาณ 5 เมตร คือ ที่ 13 เมตร ทำให้ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาน้ำก่ำ สำนักงานชลประทานที่ 7 ยังสามารถระบายน้ำก่ำ ลงสู่แม่น้ำโขงได้ ต่อเนื่อง และยังไม่มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งได้มีเปิดประตูระบายน้ำตลอดลำน้ำก่ำ ทั้ง 4 จุด เพื่อทำการพร่องน้ำลงสู่แม่น้ำโขง ให้ปริมาณน้ำก่ำ อยู่ในระดับที่เหมาะสม เตรียมพร้อมรับมือหากฝนตกหนักต่อเนื่อง ป้องกันน้ำเอ่อล้นท่วมพื้นที่ลุ่ม นอกจากนี้ ยังได้เตรียม พร้อม ในการติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่เสี่ยง เพื่อเสริมการระบายน้ำลงสู่น้ำโขง หากมาพายุฝนตกหนักต่อเนื่อง

ด้าน นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เปิดเผยว่า ในช่วงนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดพายุฝนตกลงมาต่อเนื่อง จึงได้ประสานงานทุกหน่วยงาน เตรียมพร้อม ทั้งเจ้าหน้าที่ อุปกรณ์การช่วยเหลือ สำหรับพื้นที่เสี่ยงได้รับปัญหาอุทกภัย รวมถึงประสานทางหน่วยงานชลประทาน ประเมินสถานการณ์น้ำตลอด 24 ชั่วโมง ให้มีการพร่องน้ำลงสู่น้ำโขง เพื่อให้สามารถรองรับน้ำได้จำนวนมาก ป้องกันเอ่อล้นท่วมพื้นที่ลุ่ม นอกจากนี้ยังได้มีการแจ้งเตือนประชาชนล่วงหน้าในการเก็บสิ่งของขึ้นที่สูง หรือที่ปลอดภัยป้องกันความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของชาวบ้าน นอกจากนี้ยังต้องประเมินเตรียมพร้อมช่วยเหลือสำหรับพื้นที่ไม่มีระบบชลประทานหากฝนทิ้งช่วง สามารถผันน้ำเข้าไปช่วยเหลือได้ สำคัญที่สุดช่วงนี้พื้นที่เสี่ยงติดกับแม่น้ำโขงบ แม่น้ำสายหลัก จะต้องเฝ้าระวัง การเกิดปัญหาน้ำล้นตลิ่ง แต่สถานการณ์ล่าสุดเชื่อมั่นว่า แม่น้ำโขง รวมถึง ลำน้ำสาขา ยังสามารถรับมวลน้ำได้อีกจำนวนมาก

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน