ฉะเชิงเทรา – เร่งขยายฐานการผลิตคน สร้างแรงงานให้ตรงสายอาชีพตามความต้องการของผู้ประกอบการสู่เครือข่ายสถานศึกษาเอกชนโดยรอบพื้นที่ EEC รองรับอุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต พร้อมจัดพิธีลงนามความร่วมมือบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ระหว่างกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์และวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก วันนี้
วันที่ 27 ส.ค.63 เวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุมราชพฤกษ์ ภายในวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) ได้เดินทางมาเป็นประธานสักขีพยานในการลงนามความร่วมมือบันทึกความเข้าใจ ระหว่างผู้บริหารกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ข่าวน่าสนใจ:
- จนมุมเพราะไก่ชน!! ตำรวจบางละมุงวางแผนเหนือเมฆ หลอกแก๊งค์ค้ายานรกมาซื้อไก่ชน ก่อนตามรวบยกแก๊งค์ ยึดยาบ้าแสนเม็ด - ไอซ์ 1 กก. พร้อมรถ 2 คัน…
- ค่ายรถยนต์ ผุดบูธเพิ่มช่องทางปั๊มยอดช่วงปลายปี หลังตลาดยังซบยาวต่อเนื่อง
- สจ.ธรรมชาติ ไม่มาศาลฉะเชิงทรา ส่งสองทนายคู่หูยื่นฟ้องอัจฉริยะแทน
- ปราจีนบุรี ชมรมจักรยานเพื่อสุขภาพ ปั่นปันน้ำใจ ฉะเชิงเทรา-หนองคาย
นางสุรีย์ วศินพิตรพิบูล กรรมการผู้จัดการ น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา กรรมการบริหาร บริษัทดับเบิ้ลพีแลนด์ จำกัด และ ดร.ประเสริฐ กลิ่นชู ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก หรือ อี.เทค จ.ชลบุรี เพื่อบันทึกความเข้าใจ และให้ความร่วมมือต่อกันในการพัฒนาผลิตบุคคลากรหรือแรงงานสายอาชีพ ออกสู่ตลาดแรงงานเพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
โดยเฉพาะความต้องการแรงงานของกลุ่มบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ ในการนำไปเป็นบุคคลากรภายในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่ อ.บางปะกง และ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งมีที่ตั้งโครงการอยู่ในรัศมีใกล้เคียงกันกับสถานศึกษาแห่งนี้
โดย นายสมโภชน์ ได้กล่าวถึงความต้องการแรงงานของกลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ว่า อุตสาหกรรมที่ทางบริษัทกำลังลงพื้นที่ไปทำใน จ.ฉะเชิงเทรา รวม 2-3 โครงการนั้น เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีที่ค่อนข้างสูง ตลอดจนความรู้ความชำนาญในเรื่องนี้ของประเทศไทยเรานั้น ยังไม่เคยมีมาก่อน ความร่วมมือในวันนี้ จึงต้องการที่จะสื่อสารกับหน่วยงานการศึกษาเพื่อสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม ในการรองรับตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ในอนาคตที่จะเกิดขึ้น
เช่น โรงงานแบตเตอรี่ลิเธียม โรงงานประกอบรถยนต์ไฟฟ้า ที่จะต้องใช้คนงานที่มีทักษะ มีความรู้ความชำนาญที่มากขึ้น ความร่วมมือกับสถาบันอีเทคนี้ จึงเป็นการปูความรู้ของนักศึกษาก่อนที่จะออกไปสู่ตลาดแรงงานอย่างแท้จริง จึงเป็นการร่นเวลาและเพิ่มความสามารถของนักศึกษา เมื่อจบออกไปแล้วไม่ต้องมาเริ่มต้นฝึกประสบการณ์ใหม่ ทำให้สามารถเริ่มงานหรือประกอบกิจการในอุตสาหกรรมนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพทันที
สำหรับแรงงานที่อุตสาหกรรมใหม่มีความต้องการ จะเป็นกลุ่มที่ต้องมีความรู้ในเรื่องของ AI (ปัญญาประดิษฐ์) เรื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล เรื่องของหุ่นยนต์ เรื่องออโตเมชั่น และเรื่องคอมมิวนิเคชั่นต่างๆ ซึ่งนักศึกษาในรุ่นต่อๆ ไปจะต้องมีความรู้ในสิ่งเหล่านี้ และจะรู้เพียงเรื่องเดียวไม่ได้ จะต้องมีความรู้ในหลายๆ เรื่อง ผสมผสานกัน มีความรู้ความเข้าใจในเครื่องมือเครื่องจักรกลรุ่นใหม่ๆ ที่ในอนาคตพวกเขาจะต้องเข้าไปควบคุมเข้าไปใช้งาน
ซึ่งหากได้มีการร่วมมือกันตรงจุดนี้แล้ว จะทำให้นักศึกษาเวลาจบออกไปแล้ว สามารถที่จะทำงานได้ในทันที ส่วนการใช้แรงงานของกลุ่มอีเอที่กำลังลงทุนอยู่ใน 2-3 โครงการที่ จ.ฉะเชิงเทรา นั้นคาดว่าในช่วงเฟสแรกๆ เบื้องต้นจะใช้แรงงานประมาณ 1,500 คน นับตั้งแต่ต้นปีหน้า (2564) เป็นต้นไป นายสมโภชน์ กล่าว
ด้าน ดร.อภิชาติ กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้าในด้านการพัฒนาคน เพื่อรองรับตลาดแรงงานในพื้นที่เขตการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ว่า ล่าสุดได้มีการปรับตัวเลขของความต้องการกำลังคนในพื้นที่อีอีซีลดลงไปประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นต์ แต่ไปเพิ่มในส่วนของทางด้านทักษะและความรู้ขึ้นมา โดยล่าสุดทางกระทรวงศึกษาธิการจะเดินหน้าอย่างเต็มที่
หลังจากได้ไปพูดคุยกันกับ รมว.ศึกษาธิการแล้ว จึงได้มีการประกาศปรับโครงสร้างของสถานศึกษาด้านอาชีวะทั้งกรอบใหญ่ขึ้นมา และให้เร่งทำในเรื่องของการศึกษาในอีอีซี เช่นเดียวกันกับ รมว.อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ที่ได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุนอย่างเต็มที่ ถึงตอนนี้จึงเรียกได้ว่า ทางภาครัฐในทุกหน่วยงานนั้น พร้อมที่จะเดินไปกับการผลิตบุคคลากรของ EEC-HDC อย่างเต็มที่แล้ว
สำหรับในช่วงระยะเวลากว่า 1 ปีเศษที่ผ่านมานั้น เป็นเพียงในช่วงระยะที่กำลังติดเครื่องอีอีซี แต่สำหรับในปีนี้จะเป็นปีที่จะต้องก้าวกระโดด ตั้งแต่ปี 2563-65 ที่คาดว่าการพัฒนาจะเพิ่มขึ้นเป็น 2-3 เท่าจากที่เคยทำมา ในการผลิตบุคคลากร อีกทั้งยังมีโรคระบาดโควิด 19 เป็นตัวเร่งให้เราต้องปรับมาสู่ฐานความรู้ทักษะของคน ในแพลตฟอร์ม 4.0 ด้วย
ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับ 3 จังหวัดอีอีซี ต่างพากันตื่นตัวดีขึ้นทั้งหมด ซึ่งในการเซ็นเอ็มโอยูในวันนี้ จึงมีความสำคัญอย่างหนึ่ง ที่บริษัทภาคเอกชนที่มีความก้าวหน้ามากในเรื่องของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้มาทำให้เกิดความร่วมมือของภาคเอกชนกับการศึกษา จึงมีความสำคัญที่จะทำให้เป้าหมายของการผลิตบุคคลากรนั้น มีความแม่นตรงมากขึ้น
หากมีความร่วมมือกันแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ ตนคิดว่าเรามีแต่ได้กับได้ หรือบวกกับบวก ที่จะเพิ่มความหลากหลายในการสะท้อนกลับมายังบุคคลากรที่จะนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ที่มีความแม่นตรงมากขึ้น จึงอยากให้บุคคลากรทางการศึกษาปรับแพลตฟอร์มการทำงาน ไปร่วมมือกับทางภาคเอกชนให้มากขึ้น เพื่อลดความสูญเปล่าทางการศึกษาให้ได้มากที่สุด และเด็กที่จบออกมาจะได้มีงานทำ
ตามรูปแบบของความมุ่งหมายที่ต้องการโมเดลอีอีซี แบบไทป์เอ ไปสู่การเรียนฟรีมีงานทำ จบมารายได้สูง และทำงานได้ทันที มีความก้าวหน้าทางด้านอาชีพ และจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ที่เกิดขึ้นได้ส่งผลบวกต่อการพัฒนาพื้นที่ EEC ที่ทำให้มีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว และในด้านการลงทุนได้เกิดผลบวกต่อประเทศไทยด้วย เหตุจากความก้าวหน้าทางสาธารณสุขของเรา ได้ทำให้ต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุน เชื่อมั่นต่อประเทศของเรามากขึ้นด้วย ดร.อภิชาติ กล่าว
ส่วนด้าน ดร.ประเสริฐ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก หรืออีเทคของเรานั้น มีจำนวนนักศึกษามากถึงกว่า 16,000 คน หรือเป็นสถานศึกษาเอกชนทางภาคอุตสาหกรรมหรือสายอาชีพ ที่มีจำนวนนักศึกษามากที่สุดในประเทศ จึงคิดว่าเรามีความพร้อมในเรื่องของกำลังคน โดยเฉพาะสายช่างอุตสาหกรรม ที่มีมากถึง 55 เปอร์เซ็นต์ เราสามารถที่จะตอบสนองในตลาดแรงงานอีอีซีได้
ขณะนี้เราได้มีการพัฒนาการศึกษา ในการจัดซื้อเครื่องมือการเรียนรู้ใหม่ๆ ตลอดจนได้รับบริจาคจากภาคอุตสาหกรรมมาสนับสนุนการเรียนรู้จากทางบริษัทเอกชน จึงกล้ายืนยันว่าอุปกรณ์เครื่องมือนั้นมีความทันสมัยไม่เป็นรองใครในประเทศ นอกจากหลักสูตรการสอนช่างอุตสาหกรรมทั่วไปแล้ว เรายังได้มีการเปิดสาขาขึ้นมาใหม่ และเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต คือ สาขาแมคคาทรอนิกส์ และหุ่นยนต์ ดร.ประเสริฐ กล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: