ที่โรงแรมโกลเด้นซิตี้ จ.ระยอง พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมสรุปผลการดำเนินงานศูนย์ประสานงานกลางการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา และสรุปแนวทางและแผนปฏิบัติการบูรณาการ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในการฝึกอบรมทักษะอาชีพในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากนโยบายด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ใน 6 ศูนย์ภาค และ 18 ศูนย์กลุ่มจังหวัด ทั่วประเทศเพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและ 10 อุตสาหกรรม โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 ได้มีการประกาศจัดตั้งศูนย์ประสานงานกลางการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ขึ้นเป็นหน่วยงานภายในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งตั้งอยู่ ณ บริเวณ ชั้น 1 ของ สอศ. เพื่อเป็นศูนย์กลาง ด้านการบริหารข้อมูล BIG DATA ทั้งด้านการรวบรวม วิเคราะห์ และสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้เป็นกำลังคนที่มีคุณภาพ และปริมาณที่เพียงพออย่างสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ และบริการ สร้างความมั่นใจในการลงทุนการขยายกิจการ รวมถึงในส่วนของนักเรียนนักศึกษา ก็มีข้อมูลความต้องการแรงงาน มีข้อมูลทุน ซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายในการเรียนและสมัครงาน รวมไปถึงการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิทยาการใหม่ๆ และจะเป็นการเสิรมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- มหกรรมอาหารทะเลพื้นบ้านประมงเรือเล็กระยอง อาหารทะเลสดๆ-สินค้าชุมชน ชมคอนเสิร์ตศิลปินชื่อดัง
- พาณิชย์ จ.สมุทรปราการ จัดงาน 'ปากน้ำโกอินเตอร์'ให้ชาว จ.ระยอง ชิมช้อปอย่างจุใจ
- ป้ายรับซื้อบ้านผีสิง คิดว่าคอนเทนต์ เจ้าของป้ายเผยรับซื้อจริง บ้านเก่า บ้านมีประวัติลี้ลับมารีโนเวทขาย
- เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า งานของศูนย์กลางการประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังอาชีวศึกษา มีโครงสร้างประกอบด้วยฝ่ายข้อมูลกลาง ซึ่งได้มีการบูรณาการเชื่อมโยงฐานข้อมูล ร่วมกับกระทรวงแรงงาน ทั้งในด้าน Supply และ Demand โดยการจับคู่ข้อมูลผู้จะจบการศึกษาปี 2561 กับข้อมูลของกรมการจัดหางานแบบรายจังหวัด และข้อมูลอาชีพที่แรงงานจังหวัดต้องการ สรุปลำดับความต้องการกำลังคน ซึ่ง สอศ.จะได้นำไปดำเนินการในการจัดการเรียนการสอนและวางแผนการผลิตกำลังคนต่อไป พร้อมทั้งเจรจา จัดทำข้อตกลงความร่วมมือ MOU เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.3) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ได้รับการฝึกและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ก่อนจบการศึกษา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ทั้งนี้ ฝ่ายส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนเข้าสู่มาตรฐานอาชีพ ซึ่งได้มีการดำเนินการเปิดหลักสูตรใหม่ 12 สาขาในระดับปวช. และหลักสูตร ใหม่ 23 สาขา ในระดับปวส. เป็นหลักสูตร S-Curve 13 หลักสูตร และการเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษให้กับนักเรียน นักศึกษาจำนวน 130,000 คน รวมถึงการจัดลำดับสถานศึกษา พร้อมทั้งแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และนอกจากนี้ยังมีการบริหารจัดการในเรื่องของการระดมทรัพยากรและความร่วมมือ ทุนการศึกษา เครื่องจักร อุปกรณ์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับการมีงานทำ โดยมีเป้าหมายในการลงทะเบียนครูพิเศษ จำนวน 500 คน และสนับสนุนการมีงานทำและการมีรายได้ระหว่างเรียนกว่า 778,00 คน รวมไปถึงข้อมูลของการมีงานทำ และการศึกษาต่อ และฝ่ายวิจัยและพัฒนา ในเรื่องของการขับเคลื่อนสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมอาชีวศึกษาเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ซึ่งข้อมูล ณ วันนี้มีมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท และมีผลงานสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงและจัดส่ง ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกกว่า 139,000,000 บาท (หนึ่งร้อยสามสิบเก้าล้านบาท)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวด้วยว่า ในส่วนขอการบูรณาการแผนปฏิบัติการระหว่าง สอศ. และ กศน. ในการฝึกอบรมทักษะอาชีพในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีแนวทางดำเนินการให้สอดคล้องกับการบริหารของ กศน. โดยการร่วมกับ กศน.อำเภอ ซึ่งเป็นหน่วยงานสถานศึกษา โดยจัดกลุ่มเป้าหมายไว้ 2 กลุ่ม คือกลุ่มประชาชนทั่วไปที่เรียน กศน.ระยะสั้น และกลุ่มผู้เรียน กศน. เพื่อเพิ่มวุฒิการศึกษาเป็นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) และ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) โดยเพิ่มเติมให้เรียนวิชาชีพและฝึกทักษะอาชีวศึกษา เป็นวิชาเลือกเสรี ซึ่งจะคงตามหลักสูตรของ กศน. เช่นเดิมทั้งในเรื่องหน่วยกิต และการเข้าพบกลุ่มของนักศึกษา ซึ่งคาดว่าจะมีผู้เรียนได้ 10,000 คน ในแต่ละปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: