ตามที่เครือข่าย ‘จะนะรักษ์ถิ่น’ รวมตัวกันที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา ยื่นหนังสือคัดค้านการเปลี่ยนผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา จากสีเขียว ซึ่งเป็นประเภทชนบทและเกษตรกรรรม เป็นสีม่วง เพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลนาทับ ตำบลสะกอม ตำบลตลิ่งชัน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 โดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เป็นผู้ขับเคลื่อน เนื่องจากเห็นว่าการเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เมื่อ 11 กรกฎาคม 2563 ไม่มีความชอบธรรม และไม่เป็นไปตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นประชาชน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2548
ดังนั้น การดำเนินการของกรมโยธาธิการและผังเมือง และสำนักงานจังหวัดสงขลา ที่จัดประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมในเขตจังหวัดสงขลา เมื่อ 28 กันยายน 2563 จึงเป็นการดำเนินการอันมิชอบ ภายใต้การตัดสินใจของรัฐบาล บนฐานข้อมูลอันผิดพลาดที่ ศอ.บต. จัดทำขึ้น
ทั้งยังผิดขั้นตอนตามพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ.2562 จึงเสนอให้กรมโยธาธิการและผังเมือง และสำนักงานจังหวัดสงขลา ยุติกระบวนการทั้งหมดที่กำลังดำเนินการ เพื่อเปลี่ยนผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา จากสีเขียวให้เป็นสีม่วง เพียงเพื่อตอบสนองผลประโยชน์กลุ่มทุนที่ต้องการใช้พื้นที่ อำเภอจะนะ ตั้งเป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม นั้น
นายอนวัช สุวรรณเดช รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง ขอชี้แจงประเด็นการคัดค้านการเปลี่ยนผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2559 ดังนี้
ข่าวน่าสนใจ:
- สงขลา รวบ 2 พ่อลูกตามหมายจับ สุดซ่าส์เคยชกปาก ตร.ชุดจับกุม ซ้ำ"ขู่สื่อฯ ระวังตัวให้ดี"
- สงขลา"นายกเเบน"ลงชิง นายก อบจ.สงขลา รวม 3 ทีมเป็นหนึ่งเดียว ชู 10 นโยบายเร่งด่วนทำได้จริง
- คืบหน้า! เจ้าของร้านหื่น คุกคามทางเพศพนักงาน ขอมีเซ็กซ์ ส่งภาพโป๊-ของลับ ให้ประจำ ด้านเจ้าของร้านปิดปากเงียบ
- อบจ.สงขลาแถลงผลดำเนินการ “1,460 วันนายกไพเจนขับเคลื่อน กว่า1,460 โครงการ” สร้างสุขชุมชน
1.ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 18 สิงหาคม 2563 เรื่องสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 1/2563 ตามที่ ศอ.บต. เสนอ เรื่องผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต่อการขับเคลื่อนโครงการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีประเด็น ดังนี้
1.1 รับทราบและเห็นชอบรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนฯ ทั้ง 4 ประเภทการลงทุน (สวนอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสมัยใหม่และเทคโนโลยีแห่งอนาคต เมืองอัจฉริยะ ท่าเรือน้ำลึก ศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้า และศูนย์อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าสะอาด) และรายละเอียดการใช้ประโยชน์พื้นที่ เพื่อนำไปสู่การดำเนินการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต่อไป
1.2 ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองและจังหวัดสงขลา ดำเนินการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในส่วนพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับแผนเร่งด่วนการลงทุนของภาคเอกชน 3 ตำบล (ตำบลนาทับ ตำบลสะกอม และตำบลตลิ่งชัน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา) ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของพื้นที่ ตามแผนเร่งด่วนการลงทุนของภาคเอกชน และผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อไป ทั้งนี้ ศอ.บต. ส่งผลรายงานผลการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนฯ ไปยังหน่วยงานเป็นการเร่งด่วน
1.3 ให้ ศอ.บต. ประสานขับเคลื่อนมติของ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ไปยังคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ ในฐานะกลไกเชิงนโยบาย ตาม พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อพิจารณาเร่งรัดการดำเนินการ ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับการลงทุน ตามแผนเร่งด่วนการลงทุนของภาคเอกชน
ทั้งนี้ ศอ.บต. ได้ประสานจังหวัดสงขลา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา มอบหมายให้ สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสงขลา ดำเนินการปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
2.ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาจังหวัดตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อการขับเคลื่อนโครงการในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จึงต้องดำเนินการขอแก้ไขกฎกระทรวงผังเมืองรวมจังหวัดสงขลา พ.ศ. 2559 ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 เพื่อให้ผังสอดคล้องกับแผนงานโครงการ 4 ประเภทการลงทุน ได้แก่ สวนอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสมัยใหม่และเทคโนโลยีแห่งอนาคต เมืองอัจฉริยะ ท่าเรือน้ำลึก ศูนย์กลางการขนส่งและกระจายสินค้า และศูนย์อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าสะอาด โดยต้องนำประเด็นการขอแก้ไขกฎกระทรวงฯ เสนอ คณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมในเขตจังหวัดสงขลา คณะกรรมการผังเมือง เพื่อพิจารณาให้ความเห็น โดยเมื่อคณะกรรมการผังเมืองให้ความเห็นชอบแล้ว จะต้องปิดประกาศ 30 วันโดยปิดประกาศแผนที่แสดงเขตของผังเมืองรวมที่แก้ไขและรายละเอียดของการแก้ไขไว้ในที่เปิดเผยภายในเขตของผังเมืองรวม โดยในประกาศให้มีคำเชิญชวนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แสดงข้อคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในประกาศ
3.หากเครือข่ายจะนะรักษ์ท้องถิ่น มีความเห็นต่างอย่างไร สามารถแสดงข้อคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรได้ (ยื่นคำร้อง (เดิม)) ตามกระบวนการแก้ไขกฎกระทรวงฯ ตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ผังเมือง พ.ศ.2562 ซึ่งเป็นการแก้ไขผังเมืองรวม เฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัด มีสิทธิในการแสดงข้อคิดเห็นเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในระยะเวลาที่ระบุในประกาศ เพื่อให้คณะกรรมการผังเมืองพิจารณาคำร้อง และจะได้แจ้งผลการพิจารณาข้อคิดเห็นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: