ตัวอย่างคนรุ่นใหม่ ใช้แนวคิดพัฒนาธุรกิจร้านอาหารเชื่อมชุมชนสู้วิกฤตโควิด พลิกชีวิตได้อย่างรวดเร็ว
นางสาวศศิธร กาศสกุล หรือน้องออย วัย 25 ปี หญิงสาวชาวจังหวัดแพร่ หลังจากต้องเผชิญกับปัญหาโรคโควิด 19 ระบาดส่งผลให้เศรษฐกิจในครัวเรือนของเธอและ ในชุมชนต้องถดถอยอย่างรุนแรง สภาพปัญหาทำให้เธอเกิดแนวคิดพัฒนาธุรกิจการค้าของตนเองเพื่อสร้างรายได้ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ซบเซาทั่วโลก วางแผนเปิดร้านอาหารแบบผสมผสานกับงานบริการภายใต้ทรัพยากรในท้องถิ่น เช่นไม้ไผ่ที่มีอยู่มากมายในจังหวัดแพร่ โดยนำเอาแนววัฒนธรรมประเทศญี่ปุ่นเข้ามาผสมผสานใช้เป็นจุดขายได้อย่างลงตัว โดยตั้งชื่อร้านว่า “HAINA cafe and restaurant ” จัดสถานที่ออกแบบตกแต่งร้านให้เป็นบรรยากาศพื้นบ้านของชาวญี่ปุ่นผสมพื้นบ้านไทยที่มีไม้ไผ่ ต้นไม้ ป้ายภาษา สะพาน โคมไฟ ที่มาจากศิลปวัฒนธรรมของชาวอาทิตย์อุทัยโดยตรง นอกจากนั้นยังมีอาหารที่ผนวกระหว่างอาหารไทยกับอาหารญี่ปุ่นภายใต้ศิลปะการจัดอาหารและรสชาดถูกปากนักชิมชาวไทย รวมทั้งสร้างบรรยากาศให้เสมือนจริงด้วยการเปิดให้สามารถสวมใส่ชุดญี่ปุ่น เดินถ่ายรูปในมุมมองญี่ปุ่นที่จัดไว้ในพื้นที่ 1 ไร่เศษ เพียง 3 เดือนเท่านั้นสามารถสร้างชื่อเสียง เป็นที่รู้จักมีลูกค้า นักท่องเที่ยวทั้งชาวจังหวัดแพร่ และเดินทางมาจากต่างจังหวัดเพื่อมาชิมอาหารและสัมผัสกับมุมมองเมืองศิลปะของชาวญี่ปุ่น ในวันหยุดมีนักท่องเที่ยวมามากจนที่จอดรถไม่เพียงพอ
น้องออย กล่าวว่า การออกแบบร้านทำเป็นร้านสไตล์ญี่ปุ่น ให้บริการเช่าชุดกิโมโนถ่ายรูปได้ทั้งชาย – หญิง และเด็ก กลายเป็นแหล่งที่มีคนมาท่องเที่ยวสร้างรายได้ ให้กับกิจการได้ดีและยังเป็นจุดดึงดูด และ ตัวเสริมเติมเต็มให้การท่องเที่ยวของจังหวัดแพร่ด้วย ร้านตั้้งอยู่ที่ ต.แม่จั๊วะ อ.เด่นชัย จ.แพร่ อยู่กับครอบครัว ทำอย่างไรให้ชุมชนได้มีสถานที่จำหน่วยสินค้าของตนเองไปด้วย จึงเช่าร้านกาแฟเก่าที่มีอาคารพื้นที่ปลูกต้นไม้อยู่แล้วประมาณ 1 ไร่เศษหน้าเทศบาลตำบลแม่จั๊วะ อ.เด่นชัย จ.แพร่ โดยนำไอเดียร์สไตล์ญี่ปุ่นมาประยุคใช้กับสิ่งก่อสร้างและวัตถุดิบที่มีอยู่คือ “ไม้ไผ่” การจักสาน รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นของญี่ปุ่น มาใช้ในการจัดสถานที่ จำหน่ายของที่ระลึกที่เป็นชองคนในชุมชน รวมทั้งอาหารที่มาจากพืชผักในชุมชน
หลังจากการระบาดของโรคโควิดเริ่มคลี่คลาย รัฐบาลผ่อนปลน ทำให้สามารถเปิดร้านอาหารได้ เราเห็นโอกาสช่วงนี้ ที่จะสร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว และ กระตุ้นการจำหน่ายสินค้าของชุมชน จึงเร่งปรับปรุงร้าน เนื่องจากเป็นร้านกาแฟเก่าจึงมีอาคารสถานที่พร้อมอยู่แล้ว เพียงตกแต่งให้เกิดบรรยากาศสไตล์ญี่ปุ่น ใช้เวลาเพียง 13 วันเท่านั้นสามารถเปิดร้านได้ ในร้านมีบริการให้เช่าชุดกิโมโน ชุดแฮปปี้ ชุดยูกาตะ ชุดโกโซเดอะ และชุดฮันบก ของเกาหลี ให้บริการเช่าสวมใส่เดินถ่ายรูป ใส่รับประทานอาหารในราคาค่าบริการเพียงชุดละ 100 บาทเท่านั้น มีห้องแอร์สำหรับลูกค้าที่ไม่ชอบอากาศร้อน มีบริการอาหารไทย และอาหารญี่ปุ่น เครื่องดื่ม ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ เครื่องดื่มจำพวก กาแฟ ที่มาจากกาแฟท้องถิ่น น้ำผึ้งที่ชาวบ้านเลี้ยงเอง ขนมขบเคี้ยวที่มาจากชุมชน รวมไปถึงของที่ระลึกที่มาจากฝีมือของคนในชุมชน ร้านเปิดบริการทุกวันไม่มีวันหยุดตั้งแต่เช้าจนถึง 17.00 น. ร้านชื่อ “HAINA cafe and restaurant คือการใช้วัสดุธรรมชาติเช่นไม้ไผ่เป็นหลักในการตกแต่ง จึงใช้ชื่อร้านว่า ไร่นานั่นเองโดยเขียนเลียนแบบภาษาญี่ปุ่นดูสะดุดตา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ร้าน “HAINA cafe and restaurant (ไฮ่นา คาเฟ่และเรสเตอรองค์)
ไฮ่นา มาจากภาษาเหนือ ไฮ่นา ที่แปลว่า ไร่ นา เกิดด้วยไอเดียร์ของน้องออย นำเอาวัฒนธรรมญี่ปุ่น ไม้ไผ่จากวัตถุดิบในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการสื่อสารทางโซเชียลมาผนวกกัน ทำให้มีลูกค้าเข้ามาอุดหนุนจำนวนมากสนใจมาใช้บริการเสมือน เดินทางมาสถานที่ท่องเที่ยวมาพักผ่อนหย่อนใจ ร่มรื่น และยังเหมือนอยู่ในบรรยากาศของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแนวคิดไอเดียร์เหล่านี้สามารถสร้างรายได้ให้กับนักธุรกิจคนรุ่นใหม่อย่างน้องออยได้เป็นอย่างดี ฟื้นฟูรายได้ตนเอง ครอบครัว และ ฉุดสินค้าชุมชนให้ขายได้ด้วย ในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาจากปัญหาโรคระบาดได้เป็นอย่างดี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: