ภาพกิจกรรมการทำบุญ วันที่ 16 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมาซึ่งมากกว่ากิจกรรมคล้ายวันจัดตั้งสาขาวิชานิเทศศาสตร์ มสธ. ครบรอบ 36 ปี คือพลังร่วมของทีมคณาจารย์ และบุคคลากรที่มีความมุ่งมุ่นตั้งใจพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่ แรงขับเคลื่อนที่ส่งผลต่อการปรับตัวของสาขาและมหาวิทยาลัย ความคาดหวังจากตลาดแรงงานยุคใหม่ การเรียนรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ แพลตฟอร์มการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นทั้งโอกาส และความท้าทายภายใต้การบริหารของ ผศ.ดร.สุภาภรณ์ ศรีดี ประธานสาขาวิชา (คณบดี) พร้อมทีมคณาจารย์รุ่นใหม่-ก่อน
การพัฒนาด้วยหลักสูตรที่เป็นไปตามมาตรฐานทางการศึกษาของคณะกรรมการอุดมศึกษา ได้ปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัยและสอดรับกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่้องพรั่งพร้อมด้วยทีมคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญมากด้วยความรู้ ความสามารถ พร้อมสื่อการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อตอบความต้องการของสังคมในโลกยุคใหม่ที่ทันสมัย
ข่าวน่าสนใจ:
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์ จัดการแข่งขันกีฬาสีภายใน “ดอกบัวเกมส์” เชื่อมความสัมพันธ์และสร้างความสามัคคี
- โครงการเซ็นทรัล จัดโครงการ "อบรมทักษะการดับเพลิง"
- องคมนตรี เชิญสิ่งของพระราชทานแก่ประชาชนผู้ประสบภัยหนาว ในพื้นที่ จ.นครพนม
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชา นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น หลักสูตรที่มีรูปแบบการเรียนการสอนตอบโจทย์การยกระดับทักษะ และปรับเปลี่ยนทักษะสำหรับช่วงวัยทำงานเพื่อรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างประสบการณ์การการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาพร้อมรองรับกับยุคดิจิทัล ด้วยความยืดหยุ่นของหลักสูตร และช่องทางการเรียนรู้ด้วยสื่อใหม่ผสมผสานแพลตฟอร์มออนไลน์ การสร้างงานวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่ตอบความต้องการของสังคมและชุมชนท้องถิ่น ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร รศ.ดร.วิทยาธร ท่อแก้ว พร้อมทีมพัฒนาและบริหารหลักสูตรที่มีความมุ่งมั่นด้วยองค์ความรู้ ที่ถูกค้นคว้า พัฒนา จากงานวิจัยของคณาจารย์ในสาขาวิชาที่เรียน ระบบการจัดการ การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ด้วย นวัตกรรมการเรียนการสอน Applications ที่ล้ำหน้า ทันสมัย ทันยุค ที่อำนวยความสะดวก และง่ายต่อการเรียนรู้ของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นมหาวิทยาลัยเปิดที่ใช้ ระบบการเรียนการสอนทางไกล ซึ่งเป็นระบบการเรียนการสอนที่ไม่มีชั้นเรียน ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน แต่สามารถมีกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยอาศัยสื่อประสม สื่อทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ การสอนเสริม และผู้เรียนผู้สอนมีโอกาสพบกันอยู่บ้าง ณ ศูนย์บริการการศึกษาเท่าที่จำเป็น ผู้เรียนจะใช้วิธีการเรียนด้วยตนเองในเวลาและสถานที่ที่สะดวก
เรียนรู้อย่างมีความสุข เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด เรียนรู้ผ่านโครงงานและการวิจัย มุ่งพัฒนาความเชี่ยวชาญตนเองเพื่อรับใช้สังคม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: