หลายๆ คนทราบกันอยู่แล้วว่าลมสามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ แต่ถ้ากระแสลมพัดได้ไม่สม่ำเสมอ แล้วเราจะผลิตไฟฟ้าได้อย่างมั่นคงได้อย่างไร กระแสลมในประเทศไทยไม่มีความสม่ำเสมอคงที่เหมือนกับประเทศในโซนยุโรปที่สามารถนำพลังงานลมมาผลิตไฟฟ้าได้มาก จึงเป็นที่มาของการนำเทคโนโลยีเพื่อลดข้อจำกัดของพลังงานหมุนเวียนที่ขึ้นชื่อว่าไม่เสถียร ด้วยระบบ Wind Hydrogen Hybrid คู่กับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell)
เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นำนวัตกรรมชิ้นนี้มาใช้เป็นแห่งแรกของภูมิภาคเอเชีย เพื่อช่วยให้การผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมมีความเสถียรมากขึ้น สามารถจ่ายได้ตลอด 24 ชม. เฉกเช่นเดียวกับโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซธรรมชาติหรือถ่านหิน
กฟผ. ได้นำนวัตกรรม Wind Hydrogen Hybrid ไปติดตั้งให้กับกังหันลมจำนวน 12 ต้น ขนาดกำลังผลิตต้นละ 2 เมกะวัตต์ รวมเป็นกำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ บริเวณรอบอ่างพักน้ำตอนบนของโรงไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองชลภาวัฒนา ที่สันเขาบ้านเขายายเที่ยงเหนือ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพลมสูงแห่งหนึ่งของประเทศไทย และบริเวณเดียวกันนี้มีกังหันลมผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. เดิมอยู่จำนวน 2 ต้น ขนาดกำลังผลิตรวม 2.5 เมกะวัตต์ ระบบดังกล่าวจะกักเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันลมในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าน้อยหรือช่วงกลางคืน มาจ่ายไฟฟ้าในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้ามากในช่วงกลางวัน กังหันลมลำตะคอง สถานที่ท่องเที่ยวWind Hydrogen Hybrid นั้นจะมีอุ
Wind Hydrogen Hybrid นั้นจะมีอุปกรณ์หลัก คือ Electrolyzer จะทำหน้าที่ผลิตก๊าซไฮโดรเจนด้วยกระบวนการแยกน้ำออกเป็นออกซิเจน (O2) และไฮโดรเจน (H2) โดยใช้กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้จากกังหันลมซึ่งมักจะพัดมากในเวลากลางคืน เมื่อต้องการใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวัน ก๊าซไฮโดรเจนที่ถูกกักเก็บไว้ในถังจะถูกส่งผ่านไปยังเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) เพื่อผลิตไฟฟ้าออกมาในรูปแบบกระแสตรง (DC) จำนวน 300 กิโลวัตต์ จากนั้น อินเวอร์เตอร์ (Inverter) จะเปลี่ยนไฟฟ้าให้เป็นกระแสสลับ (AC) เข้าสู่อาคารศูนย์เรียนรู้ด้านพลังงานที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง ซึ่ง กฟผ. เตรียมสร้างให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับพลังงานส่วนเกินจะถูกส่งเข้าระบบต่อไป
ข้อดีของการเลือกใช้ Fuel Cell นั้น นอกจากจะมีประสิทธิภาพในการแปลงไฮโดรเจนเป็นไฟฟ้ามากกว่าวิธีอื่นๆ ร้อยละประมาณ 30-40 แล้ว ยังเป็นเทคโนโลยีที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเป็นระบบที่ไม่ใช่สารเคมี จึงไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศและน้ำ อีกทั้งเมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว Fuel Cell บางส่วนจะสามารถปรับสภาพเพื่อนำมาใช้ใหม่ในกระบวนการได้อีกด้วย ถือได้ว่าบริเวณสันเขายายเที่ยงแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยกังหันลมที่มีกำลังผลิตรวมมากที่สุดในประเทศไทย ทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ประมาณ 9.92 ล้านลิตร/ปี ทั้งยังลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 24,000 ตัน/ปี ที่เป็นสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อน
นอกจากนี้ กฟผ. ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใต้ดินพลังน้ำแบบสูบกลับเครื่องที่ 3 และ 4 นับเป็นระบบกักเก็บพลังงานอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย โดยเมื่อแล้วเสร็จจะมีกำลังผลิตรวมทั้งหมด 1,000 เมกะวัตต์ ในปี 2561 ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 2.6 แสนตันต่อปี
แหล่งเรียนรู้ของโรงไฟฟ้าลำตะคอง จ.นครราชสีมา ถือเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สามารถเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นน้ำหรือลม แม้จะเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าเสริมให้กับระบบผลิตไฟฟ้าหลัก แต่ความมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรม เป็นสิ่งที่ กฟผ. ได้พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานของประเทศในอนาคต
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: