สาธร วงศ์หนองเตย น้องชาย นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าทีม “ตรังพัฒนาเมืองตรัง” เข้ายื่นใบสมัครชิงตำแหน่งนายกอบจ.ตรัง พร้อมประกาศนโยบาย 12 ข้อ
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 นายสาธร วงศ์หนองเตย น้องชายนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ หัวหน้าทีม “ตรังพัฒนาเมืองตรัง” พร้อมผู้สมัครสมาชิกสภาอบจ.ตรัง ได้ฤกษ์เดิน ทางเข้ายื่นใบสมัครชิงตำแหน่งนายกอบจ.ตรังตามนัดแล้วในวันนี้ โดยก่อนจะเดินทางมายังสถานที่รับสมัคร นายสาธร ได้เดินทางเข้าสักการะศาลหลักเมืองตรัง เพื่อขอพร และได้เติมน้ำมันตะเกียงกล่าวว่า “ขอความรุ่งโรจน์ การเปลี่ยนแปลงจงเกิดแก่เมืองของเรา” และได้ผูกผ้าสีศาลหลักเมืองและลั่นฆ้องเพื่อเป็นสิริมงคล พร้อมประกาศนโยบาย 12 ข้อ หวังเปลี่ยนจังหวัดตรัง ด้วยการลงชิงเก้าอี้ตำแหน่งนายก อบจ.ตรัง กับนายบุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ หัวหน้าทีมกิจปวงชน นักธุรกิจรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ในจังหวัดตรัง ที่รับไม้ต่อจากนายกิจ หลีกภัย อดีตนายก อบจ.ตรัง หลายสมัย อดีตหัวหน้าทีมกิจปวงชน และเป็นพี่ชายนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยนายบุ่นเล้ง ได้เข้ายื่นใบสมัครในวันแรกของการเปิดรับสมัคร และได้หมายเลข 1 ในการชิงเก้าอี้ตำแหน่งนายก อบจ.ตรัง ส่วนนายสาธร จะได้หมายเลข 2 ในการลงชิงตำแหน่งนายก อบจ.ตรัง ในครั้งนี้ โดยศึกเลือกตั้งนายก อบจ.ตรัง ในครั้งนี้ เชื่อว่าจะมีผู้สมัครชิงตำแหน่งนายก อบจ.ตรัง เพียง 2 คนเท่านั้น คือ นายบุ่นเล้ง หมายเลข 1 และนายสาธร จะได้หมายเลข 2 ถือเป็นศึก 2 ตระกูลนักการเมืองใหญ่ จ.ตรัง ของค่ายพรรคประชาธิปัตย์ สรุปยอดผู้สมัครนายก อบจ.ตรัง รวมนายสาธรด้วย จำนวน 2 คน ผู้สมัคร สจ.เขต สมัครแล้วรวม จำนวน 52 คน
สำหรับนโยบาย 12 ข้อ เปลี่ยนตรังให้ดังและดีกว่าเดิม ของทีมตรังพัฒนาเมืองตรัง ของนายสาธร วงศ์หนองเตยนั้น ประกอบด้วย 1. ตรังเมืองแห่งการมีส่วนร่วมโปร่งใสและตรวจสอบได้ เนื่องด้วยอบจ.ตรังมีเงินสะสมและเงินฝากจำนวนมาก การใช้จ่ายจะต้องมียุทธศาสตร์ในการใช้งบประมาณอย่างชัดเจนโดยการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เอกชน ภาครัฐ ในการดำเนินนโยบายและการใช้จ่ายงบประมาณให้มีความโปร่งใส ปลอดการทุจริต
2. ตรังสมาร์ซิตี้ (Smart city อบจ.ดิจิตอล) ให้เทคโนโลยีขับเคลื่อนพัฒนาเมืองในทุกมิติ เพื่อยกระดับคุณภาพของคนตรัง
3. ตรัง เมืองดัง เมืองดีที่ต้องไป โดยการประสานงานกับองค์กรปกครองท้องถิ่นสนับสนุนให้มี landmark ขนาดใหญ่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทุกมุมเมือง มีความหลากหลายสนับสนุนเส้นทางท่องเที่ยวเชิงอารยธรรม บริเวณสถานที่ทางโบราณคดี ให้มีความเชื่อมโยงโดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงอย่างทั่วถึง สะดวกในการเดินทาง เที่ยวครบจบในวันเดียว ทั้งฝั่งเขา ฝั่งนา ฝั่งทะเล
4. ตรังเมืองศิลปะวัฒนธรรม อาหารดี กีฬาเด่น โดยใช้จุดเด่นด้านอาหารและธรรมชาติส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ที่ทำตลาดโดยอบจ. ทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริม ผ่านประเพณี เอกลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อคงศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่นที่โดดเด่น “มาแต่ตรังไม่หนังก็โนราห์” และจุดเด่นด้านอาหาร ให้เที่ยวได้ตลอดปีส่งเสริมการจัดการแข่งขันกีฬา ลีกเยาวชนในจังหวัด แข่งระดับภาค เชื่อมสมาคมกีฬาเช่น มวยไทย ฟุตบอล
5. ตรังเมืองการศึกษา สนับสนุนให้มีการศึกษาเพื่อให้มีการจัดตั้ง “โรงเรียนต้นแบบ” ของอบจ. 1อำเภอ 1 โรงเรียน อบจ.
6. ตรังเมืองสะดวกสบาย โดยปรับคุณภาพการบริการของรถโดยสารสาธารณะของอบจ. ให้มีความตรงต่อเวลารวมทั้งศึกษาการเพิ่มเส้นทางบริการที่จำเป็น ส่งเสริมให้มีการใช้บริการรถโดยสารเอกลักษณ์ตรังเช่น รถตุ๊กตุ๊ก ให้คงอยู่คู่ตรัง
7. ตรังเมืองยางพารา ส่งเสริมการพัฒนาต่อยอดนำยางพาราแปรรูปโดยอบจ.เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นนำร่องที่ใช้ผลิตภัณฑ์ยางพารา เช่นเสาหลักนำทาง และอุปกรณ์ที่ทำด้วยยางพารา บนถนนของอบจ.ตรัง และสนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นอื่นดำเนินการ ร่วมมือกับภาคประชาชนส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าที่ต่อเนื่องจากยางพาราและต้นยางพารา
8. ตรังเมือง 46 บ้านนา โดยส่งเสริมอาชีพทำนาเพื่อสงวนพื้นที่ทำนาไว้คู่ตรัง ให้มีกิจกรรมเชิงท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดปีเช่นพื้นที่นาหมื่นศรีและอื่นๆ ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถให้ชาวนาหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจำหน่ายข้าวตรงต่อผู้บริโภคโดยใช้เทคโนโลยีออนไลน์อย่างแท้จริง
9. ตรังเมืองคุณภาพชีวิต โดยการส่งเสริมสนับสนุนเครือข่ายอสม.ร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งด้านการเฝ้าระวังโรค รวมทั้งสนับสนุนเครือข่ายการบรรเทาสาธารณภัยให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ สนับสนุนการกีฬาของตรังเป็นพื้นฐานคุณภาพชีวิต และสนับสนุนให้ใช้พื้นที่ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ของอบจ.ตรังเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการดูแลสุขภาพของประชาชน
10. ตรังเมืองชุมชนกรุณา ส่งเสริมสนับสนุนเครือข่าย จิตอาสาทำความดี ดูแลสังคมร่วมกับเครือข่ายของทุกศาสนา
11. ตรังเมืองสะอาด เพิ่มระบบการจัดการขยะให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น แทนที่การฝังกลบแบบเดิมเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในเมืองตรังให้น่าอยู่
12. ตรังเมืองทรัพยากรสมดุลยั่งยืน จังหวัดตรังมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์หลากหลายทั้งเขา ป่า นา เล จึงควรสนับสนุน ส่งเสริม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและทำให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง โดยการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชน
สโลแกน เปลี่ยนตรังให้ดังและดีกว่าเดิม
ข่าวน่าสนใจ:
- นายกฯ ประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยพื้นที่ภาคใต้ พร้อมสั่งการหน่วยงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร…
- ชิง ส.อบจ.เพชรบูรณ์ ส่อเดือด! นักการเมืองรุ่นใหม่ทยอยเปิดตัว ท้าชนแชมป์เก่า
- อดีตเลขาฯ นายก อบจ.คนแรก ประกาศตัวลงชิงนายก ท้าชนเพื่อไทย
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
เพราะที่ผ่านมา ทีมกิจอบจ.ตรัง อยู่ภายใต้การบริหารของทีมกิจปวงชน โดยนายกิจ มายาวนาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: