X

ไปตกปลาทะเลมหาราชกัน ร่วมรำลึก ร.9 เสด็จ

พระนครศรีอยุธยา-ชาวบ้านร่วมกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกรุงเก่ารำลึกในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จมหาราช จัดงานแข่งขันตกปลาพื้นบ้าน หวังกระจายท่องเที่ยว

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2563  ที่ประตูระบายน้ำวัดอุโลม นางสรัลพัชร ประโมทะกะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานการแถลงข่าวการจัดกิจกรรม “แข่งขันตกปลาทะเลมหาราช” ในวันเสาร์  14 พฤศจิกายน        2563   เวลา 09.00 – 12.00 น.  ณ ประตูระบายน้ำวัดอุโลม ต.มหาราช อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีนางอมรรัตน์ กรึงไกร นายอำเภอมหาราช นายมานัส ทรัพย์มีชัย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัด ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมการแถลงข่าวในครังนี้ โดยรายละเอียดการสมัครมีดังนี้

ผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องสมัครล่วงหน้า ทางเพจเฟช บุ๊ก https://www.facebook.com/แข่งขันตกปลาทะเลมหาราชอยุธยา  เท่านั้น ค่าสมัคร เรือ 1 ลำ ๆ ละ 300 บาท (เรือ 1 ลำ นั่งได้ 2 คน) ราคานี้รวม เรือ พาย อาหาร และเครื่องดื่ม 3.เบ็ดที่ใช้ ได้ทั้งเบ็ดไทยประดิษฐ์ เบ็ดสากล ไม่จำกัดเหยื่อและจำนวนเบ็ด 4. ระยะเวลา 09.00 -12.00 น. รวม 3 ชั่วโมงเท่านั้น และ 5. เมื่อตกปลาได้ให้ส่งสัญญาณ ให้คณะกรรมการ เพื่อทำการบันทึกภาพ วัดขนาด ชั่งน้ำหนัก และปล่อยปลาคืนสู่ธรรมชาติ

การตัดสินการแข่งขัน มีรางวัล 4 ประเภทปลา คือ ปลาชะโด ปลาช่อน ปลาสวาย และปลาเทโพ รางวัลที่ 1 จะได้รับถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล 1,000 บาท รางวัลที่ 2 จะได้รับเงินรางวัล 700 บาท และรางวัลที่ 3 จะได้รับเงินรางวัล 400 บาท ภายในงานยังมีกิจกรรมสร้างความสามัคคีของชุมชนชาว อ.มหาราช ได้แก่ 1.การแข่งเรือพื้นบ้าน ประเภท 5  ฝีพาย  จำกัดชาย 3 หญิง 2 ไม่จำกัดอายุ รางวัลที่ 1  เงินรางวัล 2,000 บาท รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 1,500 บาท รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 1,000 บาท 2. การแข่งชักเย่อเรือบด รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 1,000 บาท รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 700 บาท รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 400 บาท และ 3. การแข่งเรือหัวใบ้-ท้ายบอด รางวัลที่ 1 เงินรางวัล 1,000 บาท รางวัลที่ 2 เงินรางวัล 700 บาท รางวัลที่ 3 เงินรางวัล 400 บาท

นางสรัลพัชร กล่าวว่า อำเภอมหาราช เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในสมัยเดิมการปกครอง ส่วนภูมิภาคเป็นการปกครองรูปแบบของ แขวง เรียกว่า แขวงนครใหญ่ ต่อมาในปี พ.ศ.2475 ได้มี พ.ร.บ. การปกครองที่ขึ้น จึงได้เปลี่ยนแปลงการปกครองรูปแบบของแขวงมาเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอนครใหญ่ ตามแขวงเดิม โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 16 ตำบล ในปี พ.ศ. 2480 ทางราชได้ได้ยกฐานะตำบลบ้านแพรก ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอมหาราช ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ใช้ช่อว่า กิ่งอำเภอบ้านแพรก เพื่อสะวกในการปกครอง โดยได้โอนตำบลบ้านแพรก ตำบลสำพะเนียง ตำบลคลองน้อยและตำบลบ้านโพธิ์ ไปขึ้นอยู่ในปกครองจนถึงวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2502 กิ่งอำเภอบ้านแพรก ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอบ้านแพรก ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ เนื่องจากชื่อตำบลของอำเภอบางตำบลในเขตพื้นที่อำเภอนครไทยนี้ตำบลหนึ่งมีชื่อว่า ตำบลมหาราช ดังนั้น จึงเปลี่ยนชื่ออำเภอนครไทย มาเป็นอำเภอมหาราชและใช้เรียกกันมาถึงปัจจุบัน โดยมี คำขวัญอำเภอ “มหาราชแขวงนครใหญ่ หลากหลายวัฒนธรรม ลุ่มน้ำสามสาย แหล่งขายพริกมัน จักสานไม้ไผ่ ตำหนักไทเจ้าปลุก”

นายมานัส  ทรัพย์มีชัย ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่าการจัดงานครั้งนี้เป็นการส่งเสริมให้ท้องที่  ท้องถิ่น ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์  ของการทำกิจกรรม วัฒนธรรมในชุมชน ในสภาวะ  โรคระบาดโควิด– 19  ไทยเที่ยวไทย  ไทยกิน  ไทยใช้   และส่งเสริมให้เป็นปฎิทินการท่องเที่ยว  เป็นกีฬา นันทนาการ รูปแบบใหม่  โดยการมีส่วนร่วม   การตกปลาในทะเล  มหาราช    คือ  การคิดแบบบูรณาการ  จากรากหญ้า  สู่ประชามติ  ภายใต้ไม่มีงบประมาณ  โดยท่าน  ผวจ.  ได้ให้นโยบาย  ส่งเสริม  ท่องเที่ยวชุมชน  เสริมสร้างรายได้  ร่วมใจกัน  ในภาวะเศรษฐกิจ  และโรคระบาด โควิด และเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  บรมนาถบพิตร  และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์  พระบรมราชินีนาถ  เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือยนต์พระที่นั่ง ไปยัง  อ.มหาราช วันอังคารที่  20 ตุลาคม พ.ศ.2507 ตามภาพ หน้าวัดปากคลอง

ในครั้งนั้นพสกนิกร ชาวมหาราช ได้นำเรือจำนวนมาก และยังคงระลึก ถึงจากคำบอกเล่าจากปู่ย่า ตายาย สู่ลูกหลาน  ชาวมหาราชร่วมรับเสด็จ 3 ครั้งทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐินต้น ณ วัดท่าตอ  เสาร์ ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2514  ทรงพระยกพระเกตุมาลาหลวงพ่อโต  ณ วัดกุฎีทอง วันพฤหัสบดี ที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2515 เข้าสู่  ทะเลมหาราช  แหล่งเพาะพันธุ์ปลาใหญ่ที่สุดของประเทศ ส่งผลให้ชาวมหาราช   เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ถึง ประวัติศาสตร์และเพื่ออนุรักษ์วิถีชีวิตชุมชนของคนมหาราช  คือทะเลมหาราช พร้อมทั้งเสริมสร้าง ความร่วมมือ  ร่วมใจ ของคนในชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา  ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ส่งให้เกษตรกรได้ประกอบอาชีพชาวประมง แปรรูปผลิตทางการประมง ปลารมควัน ส่งจำหน่ายไปทั้งไทยและต่างประเทศ สร้างรายได้มหาศาลต่อไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

สัมฤทธิ์ เจียมเจริญพรกุล

รัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิต การเมืองการปกครองท้องถิ่น สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร.สุวรรณภูมิ ปริญญามหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา รางวัลพระราชทานเทพทอง สมาคมนักวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นักเรียนการแสดง รัชฟีล์มที่วี artspa ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บรรณาธิการข่าวสถานีโทรทัศน์เคเบิลเอทีวี บรรณาธิการเจ้าของเพจสถานีข่าวเอทีวี นักเขียนอิสระ