กองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แถลงเปิดตัวมายซิสบอท MySis Bot โดยการพัฒนาระบบ AI Chatbot ผ่าน facebook รับมืออาญชญากรรมทางคอมพิวเตอร์
เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 เวลา 18.00 น. ที่ห้อง ICONLUXE LOUNGE ชั้น 1 ICONSIAM พลตำรวจโท กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการ กองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ผบช.สอท.(CCIB) ร่วมกับ นายเกส ปีเตอร์ ราเดอ เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย และภาคีเครือข่าย สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ดีแทค และ ChangeFusion) แถลงข่าวเปิดตัวเพจ “มายซิสบอท MySis Bot โดยการพัฒนาระบบ AI Chatbot ผ่าน facebook เพื่อช่วยเหลือผู้หญิง เด็ก และเพศทางเลือกที่ประสบความรุนแรงในครอบครัว รวมถึงผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศให้สามารถพูดคุ สอบถามปัญหาและแจ้งเหตุออนไลน์ผ่านเพจมายซิสบอทได้ตลอด 24 ชม.ภายในงาน MySisXOrangeTheWorld
ด้าน พล.ต.ท.กรไชยฯ กล่าวว่า อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชน เพราะสามารถเกิดขึ้นจากที่ใดก็ได้ไร้พรหมแดน จึงเป็นความท้าทายของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จะต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อที่จะป้องกันและสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในยุคที่เรียกว่าดิจิตอลดิสรัปชัน คือการเปลี่ยนผ่านจากสังคมยุคอนาล๊อค ไปสู่ยุคดิจิตอลอย่างเฉียบพลัน
โดยโครงการมายซิสเป็นการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI เข้ามาใช้เป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มที่มีความเปราะบาง ได้แก่ สตรีและเด็ก โดยใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารให้แก่ผู้ที่ประสบเหตุความรุนแรงในครอบครัว ความผิดเกี่ยวกับเพศและภัยออนไลน์ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน
โดยใช้เอไอให้คำปรึกษาแทนเจ้าหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมงในเบื้องต้น และสอดรับกับการปรับตัวในยุค new normal หรือยุควิถีใหม่ที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินทาง ไปขอรับคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในโรงพัก แต่สามารถขอคำแนะนำจากแชทบอทได้ก่อน และเมื่อผู้ใช้ได้รับคำปรึกษาในเบื้องต้นแล้ว ถ้ามีรายละเอียดมากขึ้น และหากประสงค์จะขอรับคำปรึกษา นอกเหนือจากการโทร สายด่วน ก็จะมีช่องทางขอรับความช่วยเหลือเพื่อให้มีการประสานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทำการช่วยเหลือต่อไป
มายซิสแชทบอท จึงเป็นเสมือนแพลตฟอร์ม ในการเชื่อมการทำงานระหว่างหน่วยงาน ในกระบวนการยุติธรรมเข้าด้วยกัน เช่น หน่วยงานต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กทางอินเตอร์เน็ต กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อัยการ สหวิชาชีพที่มีหน้าที่ในการคุ้มครองเด็กและสตรี เพื่อให้การทำงานเป็นระบบไม่ซ้ำซ้อนด้วยแนวคิดในการนำนวัตกรรมทางดิจิตอลมาใช้
การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้ความรู้และคำแนะนำแก่ผู้หญิงและเด็ก ที่ประสบเหตุไม่ใช่ทางแก้ไขปัญหาทั้งหมด การที่จะให้เทคโนโลยีเป็นเพียงตัวขับเคลื่อนเพื่ออำนวยความสะดวก ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงนั้น สิ่งสำคัญคือ การทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน การสร้างภาคีเครือข่ายและทำงานร่วมกัน
จะทำให้การพัฒนาระบบ การคุ้มครองผู้หญิงและเด็ก เกิดขึ้นอย่างเป็นระบบและยุติธรรมกับทุกฝ่าย ผมขอขอบคุณทุกภาคส่วน ที่ริเริ่มผลักดันให้เกิดโครงการนี้และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ และช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริงต่อไป
77ข่าวเด็ด ประจำจังหวัดน่าน รายงาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: