เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 25633 ท่านมา มีข่าวมาว่ามีนักท่องเที่ยวหมดสติ หายใจไม่ออก ขณะเดินขึ้นจัดชมทิวทัศน์บนเกาะห้อง อุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี แล้วทีมกู้ภัยของอุทยานแห่งชาติ ที่ประจำบนเกาะห้องได้เข้าช่วยเหลือนำลงมาแล้วจะเรือนำขึ้นส่งบนฝั่งส่งโรงพยาบาลในตัวเมืองกระบี่ ซึ่งจากการตามดูอาการไม่ใช่การหมดสติธรรมดา แต่เป็นเพราะมีโรคประจำตัวซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ทันท่วงทีก็อาจมีการสูญเสียขึ้นได้ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งในการทำงานของทีมกู้ภัยกรมอุทยานฯ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไม่ได้มีแค่งานในการดูแลรักษาพื้นที่ป่า สัตว์ป่าและฟื้นฟูสภาพป่าเท่านั้น หากแต่ยังมีงานในส่วนอื่นที่เป็นงานด้านป้องกันอันตราย เช่น งานไฟป่า และงานที่กำลังมีบทบาทอย่างมากก็คืองานกู้ภัยในอุทยานแห่งชาติ
งานกู้ภัยในอุทยานแห่งชาตินั้นตั้งมานาน มีฐานะเป็นระดับส่วน สังกัดกับสำนักอุทยานแห่งชาติ เขาตั้งขึ้นมาเพื่อเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ การจัดฝึกอบรม และฝึกซ้อมร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละพื้นที่เพื่อปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ มีศักยภาพในการปฏิบัติงานด้านการค้นหาและกู้ภัย และเป็นการดูแลนักท่องเที่ยวให้ได้รับความปลอดภัยสูงสุด สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในอุทยานแห่งชาติเกิดความมั่นใจ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งเขาก็มีโครงสร้างเหมือนหน่วยงานทั่วไปมีฝ่ายบริการ ฝ่ายกู้ภัย ฯลฯ
ข่าวน่าสนใจ:
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- คอกาแฟแห่เที่ยวงานพังงาคอฟฟี่เจอร์นี่ ซีซั่น 3 ภายใต้รูปแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Coffee in the Park ในสวนสมเด็จฯพังงา
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม พร้อมอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
ซึ่งเขาจะมีศูนย์กู้ภัยกระจายออกไปคลุมทั่วทุกภูมิภาค คือ
ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 3 จังหวัดนครราชสีมา
ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 4 จังหวัดตราด
ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 5 จังหวัดกาญจนบุรี
ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 6 จังหวัดภูเก็ต
ศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติที่ 7 จังหวัดสตูล
ซึ่งศูนย์กู้ภัยอุทยานแห่งชาติ ทั้ง 7 แห่ง ก็จะมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ คือ
-จัดทำแผนด้านการเฝ้าระวัง ป้องกัน เตือนภัย การกู้ภัยในอุทยานแห่งชาติให้ได้มาตรฐาน
-วางมาตรการและกำกับดูแลความปลอดภัยด้านต่างๆ
-พัฒนาและจัดให้มีการฝึกอบรม ฝึกซ้อม ปฏิบัติในการป้องกันและการกู้ภัยให้เป็นมาตรฐานสากล
-ประสานการปฏิบัติกับชุดกู้ภัยประจำอุทยานแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้การปฏิบัติการเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงสุด
-เสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงาน องค์กร และประชาชน ที่เกี่ยวข้อง
-จัดกิจกรรมสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ
-ส่งเสริมให้มีเครือข่ายของอาสาสมัครการกู้ภัย
-ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
แม้งานกู้ภัยจะมีมาและทำงานในอุทยานแห่งชาติต่างๆมานาน แต่ที่ทำให้คนรู้จักเป็นอย่างมาก ก็เมื่อครั้งเหตุการณ์ที่มีคนติดในถ้ำที่อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอนที่โด่งดังไปทั่วโลก เจ้าหน้าที่กู้ภัยของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มีบทบาทอย่างมากในการเข้าช่วยเหลืองานในส่วนต่างๆในภาระกิจในครั้งนั้น แต่แท้จริงแล้วทีมกู้ภัยของอุทยานแห่งชาติทำงานแบบนี้มานาน โดยจะเห็นปฏิบัติงานตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ โดยเฉพาะการช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ทั้งนักท่องเที่ยวที่ประสบอุบัติเหตุในการท่องเที่ยว ตกเขา หลงป่า ทั้งที่บาดเจ็บและถึงแก่ชีวิต เจ้าหน้าที่กู้ภัยก็ทำมานาน ทั้งทางบกและทางน้ำ เพราะมีการกู้ภัยทางน้ำด้วย นอกจากนั้นยังมีการออกกู้ภัยนอกพื้นที่อุทยานแห่งชาติด้วย ทั้งดินถล่ม น้ำป่าพัดพา ทั้งต้นไม้ล้มขวางเส้นทางสัญจร น้ำท่วม ช่วยอพยพคน นำอาหารและเครื่องยังชีพไปส่งตามบ้านที่ประสบภัย อันไหนที่กู้ภัยของกรมอุทยานแห่งชาติช่วยเหลือได้ ก็ไม่รอช้าที่จะออกทำการช่วยเหลือ แม้จะอยู่นอกพื้นที่ก็ตาม หรือแม้แต่การบริการสาธารณะ ต่างๆ งานประเพณี หรือกิจกรรมชุมชนก็เข้าไปให้การส่งเสริมและสนับสนุน
งานกู้ภัยอุทยานแห่งชาติมีการฝึกอบรม ทบทวนอยู่เสมอ จำลองสถานการณ์ต่างๆ เพื่อให้เจ้าหน้าที่เกิดความคุ้นเคยกับสถานการณ์กับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือและฝึกการทำงานประสานกันทั้งการช่วยชีพเบื้องต้น ทั้งทางบก ทางทะเล มีการฝึกซ้อมันอยู่เป็นประจำ
ทั้งนี้ผู้บริหารกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชก็เห็นความสำคัญ จึงสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ทั้งรถกู้ภัยให้ทุกอุทยานฯมีไว้ และมีทีมกู้ภัยของอุทยานฯ ซึ่งทีมกู้ภัยเหล่านี้มีการอบรมทบทวนและออกไปดูงานและออกปฏิบัติงานจริงเป็นระยะๆ
นักท่องเที่ยวจึงมั่นใจได้ว่ามาเที่ยวอุทยานแห่งชาติแล้วท่านจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุด เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นก็มีการช่วยเหลืออย่างดี อุทยานแห่งชาตินอกจากจะดูแล ป้องกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้กับประชาชนส่วนรวมแล้ว ยังดูแลแก้ปัญหาให้ผู้ประสบภัยอีกด้วย….
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: