กรุงเทพฯ – กทม.สั่งปิดสถานที่ 4 ประเทศ สนามม้า-สนามชนไก่-สนามชนโค-สถานบริการ ร้านอาหารมีแสดงดนตรีต้องปิดเที่ยงคืน หวังสกัดการแพร่ระบาดของโควิด-19 พร้อมเตรียมแผนตั้ง รพ.สนาม 1,000 เตียง
วันที่ 28 ธันวาคม 2563 ร.ต.อ.พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร แถลงว่า ที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร โดยมี พล.ต.ท.โสภณ พิสุทธิวงษ์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน มีมติให้ดำเนินการมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แบบเข้มข้น โดยจะควบคุมสถานที่ที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างทวีคูณ ซึ่งจะควบคู่ไปกับมาตรการทางเศรษฐกิจ ที่จะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน
จึงมีมติให้ปิด 4 สถานที่ ประกอบด้วย
1.สนามม้า
2.สนามชนไก่ สนามซ้อมชนไก่
3.สนามชนโค สนามกัดปลา สนามแข่งขันอื่นในลักษณะเดียวกัน
4.สถานบริการทุกประเภท ที่มีกิจกรรมเข้าข่าย ตามพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 3 และมาตรา 4 อาทิ สถานที่ที่ให้มีกิจกรรมเต้นรำ รำวง รองเง็ง สถานที่ที่จัดให้มีคนปรนนิบัติลูกค้า อาบอบนวด การจัดแสดงดนตรี การเต้น การจัดแสงสีเสียง การจัดอุปกรณ์ให้ลูกค้าร่วมร้องเพลง ให้ปรับเป็นร้านขายอาหารแทนได้ สำหรับร้านอาหารที่ขายสุรา ให้ปิดเที่ยงคืนเป็นต้น
โดยให้ปิดตั้งแต่ วันที่ 29 ธ.ค.2563 – 4 ม.ค.2564 หลังจากนั้นจะประเมินสถานการณ์ หากจำนวนผู้ป่วยลดลงอาจจะให้เปิดบริการวันที่ 5 ม.ค.64 แต่ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนแปลงก็จะยังคงต้องปิดต่อเนื่อง
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ชาวบ้านสืบสานอนุรักษ์การปลูกข้าวไร่ไว้กินเองครอบครัวเหลือขาย
- แห่ชมโคมไฟพร้อมรับลมหนาวทางเทศบาลตำบลตลุกดู่เนรมิตรให้เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว
- กกต.ตรัง พร้อมเปิดสนาม จัดเลือกตั้งอบจ. เปิดยิม 4,000 ที่นั่งรับสมัคร พื้นที่กว้างขวางรองรับกองเชียร์ผอ.กกต.ตรัง เผยการข่าวพบ 3…
- ตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ แถลงผลปฏิบัติการ “พิฆาตทรชนคนค้ายาอีสานใต้” ยึดยาบ้ากว่า 400,000 เม็ด
โฆษก กทม. เน้นย้ำว่า สถานบริการหรือผู้ประกอบการคล้ายสถานบริการ สามาถปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็นร้านอาหารได้ ซึ่งสถานบริการส่วนใหญ่จะมีใบอนุญาตให้จำหน่ายและเครื่องดื่มอยู่แล้ว กรณีสถานบริการหรือสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และมีการแสดงดนตรี เช่น ดนตรีสด ต้องปิดเที่ยงคืน แต่ต้องดำเนินการตามมาตรการอย่างเข้มข้น ทั้งการสวมใส่หน้ากากอนามัย หน้ากากผ้า เว้นระยะห่าง การควบคุมจำนวนคนเข้า-ออกสถานที่และการคัดกรอง
สำหรับข้อห่วงใย ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จนควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ จะดำเนินการอย่างไร ร.ต.อ.พงศกร กล่าวว่า โรงพยาบาลของ กทม. มีศักยภาพรองรับผู้ป่วยพร้อมดูแลผู้ป่วยขั้นวิกฤติ ได้ 100 เตียง และเตรียมจัดทำโรงพยาบาลสนาม 1,000 เตียง ไม่เพียงแต่ใช้รักษา แต่รวมไปถึงการกักตัวของผู้ติดเชื้อที่เป็นแรงงานต่างชาติด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: